ข่าว

ทำไมต้องปลุกกระแสต้าน "รัฐประหาร" ในการ "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม."

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายกฯย้อนถาม ปลุกกระแสต้าน "รัฐประหาร" ก่อน "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ใครทำอะไรไว้ ยืนยัน ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิตเผยแพร่ผลงานวิจัย 3 ฉบับจากเขต 3 จังหวัดในเพจโฟกัสเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เรื่องทัศนคติของประชาชนต่อการรัฐประหาร 2557 ศึกษาจาก เทศบาลเมืองปราจีนบุรี เทศบาลตำบลบ้านแพรก อยุธยา และเทศบาลเมืองพังงา ของ เจตริน เชยประเสริฐ (2563)  ธนวัฒน์ ศิริสังข์ไชย (2564) และ เสาวลักษณ์  ณ นคร (2565) นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ตามลำดับ พบว่าประชาชนต่างจังหวัดมีทัศนคติเป็นลบต่อการรัฐประหาร 2557 และทัศนคติเป็นลบแบบที่สุดด้านเศรษฐกิจ หรือกล่าวสรุปอีกนัยหนึ่งได้ว่า ประชาชนต่างจังหวัดไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร คสช. 2557

 

ทำไมต้องปลุกกระแสต้าน "รัฐประหาร" ในการ  "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม."

 

ผลสรุปงานวิจัยจากคนต่างจังหวัด 3 ฉบับข้างต้น สอดคล้องกับผลวิจัยคนกรุงเทพฯ ต่อการรัฐประหาร 2557 จากงานวิจัย 3 ฉบับจาก 3 เขตของกรุงเทพฯ ได้แก่ เขตดอนเมือง เขตพระนคร และเขตจอมทอง เก็บข้อมูลเมื่อ 16 เมษายน ถึง 8 พฤษภาคม 2565 ของ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต วิจัยเรื่อง “ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565” ตามลำดับ ได้ผลสรุปว่าคนกรุงเทพฯ ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร คสช. 2557 อย่างชัดเจนถึง 93% เห็นด้วยกับรัฐประหาร 2557 เพียง 2.7% ไม่มีความเห็น 4.3%

 

ทำไมต้องปลุกกระแสต้าน "รัฐประหาร" ในการ  "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม."

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงการหาเสียงก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่มีการนำเรื่องรัฐประหารมาตั้งคำถามคล้ายเป็นการปลุกกระแส มีเนื้อหาว่า ส่วนตัวไม่อยากไปเกี่ยวข้อง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เพราะมีสิทธิ์ 1 เสียง ถ้าใครพูดย้อนเก่า ก็กลับไปย้อนดูด้วยว่าแต่ละคนทำอะไรกันไว้ต้องย้อนกลับไปดูพฤติกรรมสมัยก่อน  บ้านเมืองอยู่มาวันนี้ได้ สงบแบบนี้มันเพราะอะไร ไม่มีใครอยากให้มันเกิดขึ้นอีก และส่วนตัวก็ไม่อยากทำ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ