ข่าว

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โพลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ "ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" ตามเบียด ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่ห่าง- อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

26 เม.ย.- สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อ "ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม."ครั้งที่ 4 ระบุว่าจากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ได้ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565

 

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเขตละไม่น้อยกว่า400 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจโดยการสัมภาษณ์ประชาชนรายแขวง จำนวน 180 แขวงใน "กทม." สำรวจระหว่างวันที่ 15 - 22 เมษายน 2565 จำนวนทั้งสิ้น 20,377 ตัวอย่าง 

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง  อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง  อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

โดยมีผลสำรวจครั้งที่ 4 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คะแนนร้อยละ 27.93 "นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" คะแนนร้อยละ 21.95 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง คะแนนร้อยละ 14.68 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร คะแนนร้อยละ10.16 น.ต.ศิธา ทิวารี คะแนนร้อยละ 7.41 นายสกลธี ภัททิยกุล คะแนนร้อยละ 3.50 น.ส.รสนา โตสิตระกูล คะแนนร้อยละ 2.44 อื่น ๆ คะแนนร้อยละ 0.22 ยังไม่ตัดสินใจ คะแนนร้อยละ 10.18 ไม่ใช้สิทธิ์ (No Vote) / ไม่เลือก (Vote No) คะแนนร้อยละ 1.52

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง  อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง  อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง  อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง  อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

โพล มธ. "ดร.เอ้" ตามเบียด ชัชชาติ ไม่ห่าง  อัศวิน แซง วิโรจน์ ขึ้นอันดับ 3

ก่อนหน้านี้เมื่อ  24 เมษายน 2565 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผยแพร่ผลสำรวจของประชาชนเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อ "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด" เรื่อง คนต่างจังหวัด อยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองหรือไม่ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,320 หน่วยตัวอย่างเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับ"การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด" พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 66.14 ระบุว่า อยากได้มาก รองลงมา ร้อยละ 18.64 ระบุว่า ค่อนข้างอยากได้ ร้อยละ 10.07 ระบุว่า ไม่อยากได้เลย ร้อยละ 3.79 ระบุว่า ไม่ค่อยอยากได้ และร้อยละ 1.36 ระบุว่า เฉย ๆ อย่างไรก็ได้ 


ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในจังหวัดกับการมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งจากส่วนกลาง จะทำให้ผลของการพัฒนาจังหวัดมีความแตกต่างกันหรือไม่

 

พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 57.80 ระบุว่า มีความแตกต่างอย่างมากในผลของการพัฒนาจังหวัด รองลงมา ร้อยละ 27.05 ระบุว่า ค่อนข้างมีความแตกต่าง ร้อยละ 8.71 ระบุว่า ไม่มีความแตกต่างเลย  ร้อยละ 5.91 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความแตกต่าง และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ