ข่าว

ดร.ณัฎฐ์ ชี้ ตัวแปรการ "ยุบสภา" สับขาหลอก ชิงเหลี่ยมทางการเมือง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดร.ณัฎฐ์ ชี้ ตัวแปรการ "ยุบสภา" สับขาหลอก ชิงเหลี่ยมทางการเมืองรวบรวมเสียงพรรคเล็กในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ

        วันที่ 17 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกระแส พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐและรองนายกรัฐมนตรี “..ยืนยันกับพรรคขนาดเล็ก 6 พรรคว่า หลังการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายน จะยุบสภามีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงปีใหม่หรือพ้นปีใหม่ไปเล็กน้อย เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน..” ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ “ดร.ณัฐฎ์” ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชนคนดัง  ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในประเด็นดังกล่าวโดย “ดร.ณัฐฎ์ “ กล่าวว่า หลักทั่วไป ระหว่างอายุสภา รัฐบาลสามารถยุบสภาเมื่อใดก็ได้ แต่อำนาจยุบสภาเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามมาตรา 103 วรรคหนึ่งแห่งรัฐธรรมนูญ 2560 โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นไปตามหลัก The King can do no wrong 

      ซึ่งตัวแปรการยุบสภามีหลายสาเหตุ กรณีการชิงความได้เปรียบทางการเมืองคะแนนนิยม เป็นสาเหตุหนึ่งเท่านั้น  ส่วนข้อเว้นที่กรณีจะยุบสภาไม่ได้ ตามมาตรา 151 วรรคสอง เมื่อได้มีการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีรายใด ตามมาตรา 151 วรรคหนึ่งแล้ว จะมีการยุบสภามิได้ ซึ่งกฎหมายห้ามเด็ดขาด หากดู Time Line ของรัฐบาลชุดนี้ จะเจอปัญหาความไม่เสถียรภาพทางการเมือง คือ “ควบคุมเสียงไม่ได้” เพราะตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 167 รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง (1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170(3) สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ..”ความไม่เสถียรภาพของรัฐบาลและการคุมเสียงไม่ได้ตรงนี้ เป็นการโยนหินถามทางและให้คำมั่นกับพรรคขนาดเล็กว่าจะมีการยุบสภาก่อนหมดวาระ แต่ปัญหาว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจยุบสภา แต่อำนาจยุบสภาอยู่ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรงนี้ เป็นลับลวงพราง สับขาหลอก เพื่อดึงเกมคุมเสียงพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคขนาดเล็กฝ่ายรัฐบาลให้ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะเชื่อว่า ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแน่นอน เพราะต้องใช้คะแนนเสียงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ หากคุมเสียงไม่ได้ จะทำให้นายกรัฐมนตรีหลุดจากตำแหน่งตามมาตรา 167 (1) ประกอบมาตรา 170(3) แห่งรัฐธรรมนูญ 2560  ดังนั้น เสียงของพรรคขนาดเล็ก ย่อมมีผลโดยตรงต่อการโหวตความไว้วางใจเพื่อให้เกินกึ่งหนึ่งในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะตรงนี้ วัดกันที่เสียงโหวต ไม่ใช่คะแนนนิยม หากเสียงโหวตนายกรัฐมนตรีเกินกึ่งหนึ่ง บริหารประเทศต่อไปได้ ส่วนของพรรคเศรษฐกิจไทย

   ของ ร.อ.ธรรมนัส  ยังไม่ชัดเจนว่า จะอยู่ฝ่ายใดและคุมเสียงได้หรือไม่ แม้บอกว่า อยู่กับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งการโหวตเสียง ไม่มีอะไรมาการันตีว่า พรรคเศรษฐกิจไทยที่ถูกขับจากพรรคพลังประชารัฐ จะโหวตคะแนนเสียงให้กับพลเอกประยุทธ์ ฯ นายกรัฐมนตรี ไปในทิศทางเดียวกัน ตรงนี้ เสียงพรรคขนาดเล็ก จึงเป็นเสียงสวรรค์ ที่พรรครัฐบาลจะรวบรวมและให้สัจจะทางการเมืองเพื่อให้พรรคขนาดเล็ก มีที่นั่งในสภาในสมัยหน้า เพราะหาพรรคการเมืองใหม่สังกัดได้ทันเวลา  เกมการเมืองตรงนี้ อยู่ที่ผลประโยชน์ทางการเมืองลงตัวหรือไม่ การปรับ ค.ร.ม. ลดแรงกระเพื่อมได้ พรรคเศรษฐกิจใหม่ต้องได้ประโยชน์ในการเข้าร่วมรัฐบาล ลำพัง พล.อ.ประยุทธ์ ฯ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าไม่มีการปรับ ค.ร.ม.ต้องไปเสี่ยงกับการโหวตเสียงไว้วางใจ ต้องรวบรวมเสียงเกินกึ่งหนึ่งเท่านั้น รัฐบาลนี้ถึงได้ไปต่อ เป็นเกมชิงเหลี่ยมทางการเมือง
.
การยุบสภาตัวแปรสำคัญ ระบบการเลือกตั้งบัตร 2 ใบตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่มาตรา 83,86,91 ในสูตรการคำนวณ ส.ส.บัญชีราชชื่อ ตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเป็นไปตามมาตรา 91 วรรคสอง ส่วนในร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ….และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ…ที่กรรมาธิการวิสามัญ อยู่ระหว่างแปรญัตติต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งต้องจับตาว่า จะผ่านวาระ 3 หรือไม่ เพราะตัวแปรอยู่ที่วุฒิสภา หากตรงนี้ ไม่ผ่าน มีการยุบสภา ต้องกลับมาใช้บัตรใบเดียว สูตรจัดสรรปันส่วนผสม เพราะการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 93 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 128
.
การยุบสภาเป็นของขวัญปีใหม่ หรือไม่ อย่างไร ตรงนี้ เป็นเพียงวาทะกรรมทางการเมืองเท่านั้น หากพิจารณาตามมาตรา 97 (3) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ระยะเวลาเก้าสิบวันดังกล่าวให้ลดลงเหลือสามสิบวัน..” ยกข้อเว้น 30 วันกรณียุบสภา เปิดช่องให้ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.สังกัดพรรคใหม่ เป็นการย่นระยะเวลาจาก 90 วัน เหลือ 30 วัน เพราะในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 103 วรรคสอง บัญญัติว่า ภายใน 5 วันนับแต่วีนที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาใช้บังคับให้ กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้บังคับ แตกต่างกรณีอยู่ครบวาระ 4 ปี การเลือกต้ังทั่วไปภายใน 45 วัน นับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุตามมาตรา 102  ดังนั้น การยุบสภาหรืออยู่ครบวาระ มีผลในแง่ระยะเวลาสังกัดพรรคการเมืองและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ในเชิงยุทธศาสตร์การเมืองมองว่า การยุบสภาไม่ว่าจะตัวแปรเหตุการณ์ใดทางการเมือง การชิงความได้เปรียบของฝ่ายรัฐบาล แต่ต้องมีคะแนนนิยม อาจมีผลดีต่อพลเอกประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี จะสังกัดพรรคการเมืองใดหรือใช้ช่องรัฐธรรมนูญ2560 มาตรา 88 ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อโดยไม่สังกัดพรรค สามารถกระทำได้ หากลากยาวครบเทอม เป็นข้อเสียเปรียบของ ส.ส.ที่ประสงค์สังกัดพรรคการเมืองใหม่ ต้องลาออกก่อนครบกำหนดเวลาเพราะต้องพรรคการเมืองใหม่ภายใน  90 วัน ทั้งการเลือกตั้ง ส.ส.ตามมาตรา 102  กกต.จะต้องจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ภายใน 45 วันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ