นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ "ศบค." แถลงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ว่า ในทีประชุมได้มีการหารือเพื่อปรับมาตรการรับมือสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และมาตรการ "Test&Go" เพื่อรองรับการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยว สำหรับสถานการณ์การ "โควิด" ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 21,232 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 39 ราย อาการหนัก 882 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 229 ราย อัตราเสียชีวิตระลอกโอมิครอน อยู่ที่ 0.19 % สะสมอยู่ที่ 0.82 % แสดงว่าความรุนแรงลดน้อยลง แนวโน้มผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเพราะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็ม 3
อัตราครองเตียง ป่วยน้อย ระดับ 1 เตียงทั้งหมด 148,219 เตียง ครองเตียง 82,523 เตียง ป่วยหนัก ระดับ 2.1 เตียงทั้งหมด 24,234 เตียง ครองเตียง 4,882 เตียง ระดับ 2.2 เตียงทั้งหมด 5,592 เตียง ครองเตียง 676 เตียง ระดับ 3 เตียงทั้งหมด 2,163 เตียง ครองเตียง 402 เตียง ภาพรวม 180,208 เตียง ครองเตียง 88,483 เตียง ส่วนผู้ดูแลที่บ้าน(HI) 47,373 ราย และในชุมชน(CI) 21,120 ราย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ตัวเลขการเดินทางเข้าราชอาณาจักรช่วงทีเกิด "โควิด" ระบาด ตั้งแต่วันที่ 1-21 ก.พ.2565 มีผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้าประเทศไทย 144,610 คน ระบบ "Test&Go" จำนวน 88,755 คน ระบบแซนด์บ็อกซ์ 48,156 คน กักตัว 7 วัน 6,181 คน กักตัว 10 วัน 1,518 คน โดยศบค.เห็นชอบ มาตรการป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร จากเดิมตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2ครั้ง ปรับเป็น 1 ครั้ง และครั้งที่ 2 ตรวจด้วย ATK ด้วยตนเองในวันที่ 5 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565
โดยระบบการลงทะเบีบน เข้าทางอากาศ ทางบก ก่อนเข้าราชอาณาจักร ต้องลงทะทะเบีบน Thailand Pass เมื่อเข้ามาแล้วผู้เดินทางใช้หมอชนะ ผู้ประกอบการ โรงพยาบาล หน่วยงานใช้ COSTE-SHA ส่วนทางน้ำ ก่อนเข้าต้องลงทะเบียน CoE เข้ามาแล้วผู้เดินทางใช้หมอชนะ
ประเทศต้นทาง ทางอากาศ ประเทศใดก็ได้ โดยเที่ยวบินตรง หรือต่อเครื่อง ทั้งผู้เดินทางแซนด์บ็อกซ์ และ "Test&Go" ทางบก ประเทศเพื่อบ้านเข้าด่านทางบกในจังหวัดที่กำหนด คือ หนองคาย อุดรธานี และสงขลา ทางน้ำ ประเทศใดก็ได้เดินทางโดยเรือสำราญและกีฬา(เรือยอร์ช)
การกักตัว ทางอากาศ ทางบก ไม่กักตัว พำนักรอผลตรวจใน SHA Extra Plus หรือ AQ 1 วัน ทางน้ำ ไม่กักตัว รอผลตรวจบนเรือ โดยต้องหลักฐานการฉีดวัคซีน ทั้งการเดินทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ ต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กำหนดเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 14 วันก่อนเดินทาง ต้องหลักฐานการจองที่พัก ทางอากาศ ทางบก มีหลักฐานการจ่ายค่าที่พัก SHA++ จำนวน 1 คืน เพื่อรอผลตรวจหาเชื้อวิธี RT-PCR ทางน้ำไม่ต้อง
ด้านประกันสุขภาพ(ยกเว้นคนไทย) ทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ ประกันภัยในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ต้องมีผลตรวจโควิดก่อนเดินทาง ทุกช่องทางต้องมีผลตรวจกาโควิด19ด้วยวิธี RT-PCR ออกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง
การตรวจโควิด19 เมื่อเดินทางถึงไทย(รวมในค่าที่พัก) ทางอากาศ/ทางบก ครั้งที่ 1 RT-PCR วันที่ 0-1 และครั้งที่ 2 ตรวจ ATK ด้วยตนเอง วันที่ 5 ทางน้ำ RT-PCR วันที่ 0 บนเรือหรือจุดที่กำหนด และครั้งที่ 2 ตรวจATKด้วยตนเอง วันที่ 5 ใช้สำหรับการลงทะเบียน 1 มี.ค. เดินทางถึงไทย 7 มี.ค. 2565
นอกจากนี้ในทีประชุมยังได้มีการพิจารณาการปรับพื้นที่ควบคุมการระบาด โดย ศบค.ให้คงระดับพื้นที่สี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดดังนี้
1.สีแดงเข้ม พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 0 จังหวัด
2.สีแดง พื้นที่ควบคุมสูงสุด 0 จังหวัด
3.สีส้ม พื้นที่ควบคุม คงเดิม 44 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช น่าน บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พัทลุง เพชรบุรี มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ศรีสะเกษ สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี และ อุบลราชธานี
4.สีเหลือง พื้นที่เฝ้าระวังสูง คงเดิม 25 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ชัยภูมิ นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส บึงกาฬ ปัตตานี พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ยะลา ลำปาง ลำพูน เลย สกลนคร สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์ และ อุทัยธานี
5.พื้นที่สีฟ้า จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว คงเดิม 8 จังหวัดคงเดิม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา ภูเก็ต และ (จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง