ข่าว

จิราพร จัดหนัก นายกฯ "คดีเหมืองทองอัครา" แร่เนื้อเถือแผ่นดินให้คิงส์เกต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย จิราพร สินธุไพร ซัด พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ "ปมคดีเหมืองทองอัครา" แร่เนื้อเถือแผ่นดินให้ คิงส์เกต แฉ 11 รายการที่ไทยขอประนีประนอม คิงส์เกต

18 ก.พ.65 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาฯ ที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯคนที่สอง ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ เพื่อซักถามข้อเท็จจริง หรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่สอง

 

น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า พรรคเพื่อไทยนำเรื่อง "เหมืองทองอัครา"มาเปิดเผย และอภิปรายซักถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ถึง 3 ครั้ง แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน และยังมีการปกปิดข้อมูลที่เชื่อว่าจะสร้างความเสียหายกับประเทศไทย ทำให้ต้องอภิปรายเรื่องดังกล่าวเป็นรอบที่ 4 จึงขอให้พล.อ.ประยุทธ์ ตอบทุกคำถามด้วยตนเอง

 

ทั้งนี้ตนตั้งข้อสังเกตว่า กรณีที่บริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ของออสเตรเลีย ฐานะบริษัทแม่ของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียว่า รัฐบาลไทยได้อนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่ 4 แปลงขณะที่กระบวนอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศนั้น คณะอนุญาโตตุลาการฯ จะเลื่อนอ่านคำชี้แจงออกไปเป็นกรณีที่เกิดข้อสงสัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ นำทรัพย์สมบัติชาติไปประเคน และเอาประเทศเป็นเครื่องประกันตัวเองออกจากคดี

ขอให้นายกฯ ชี้แจงต่อกรณีดังกล่าวรวมถึงกรณีที่คณะอนุญาโตตุลาการฯ เลื่อนอ่านคำชี้ขาด คิดว่ากรณีที่เกิดขึ้นอาจมีกระบวนการประนีประนอมยอมความเพื่อให้ถอนฟ้อง เพราะไม่ต้องการให้ศาลระหว่างประเทศตัดสินหรือ ชี้สถานะทางกฎหมายของคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ว่าเป็นกฎหมายที่ไม่มีความชอบธรรมในสากล เพราะเป็นกฎหมายเถื่อนไม่ผ่านสภาฯ เป็นคำสั่งที่ออกจากคณะรัฐประหาร หากอนุญาโตตุลาการฯ ชี้สถานะว่ามาตรา 44 ไม่มีผลทางกฎหมายจะกลายเป็นสึนามิต่อรัฐบาล ที่ใช้มาตรา 44 กับบริษัทคิงส์เกตฯ ฐานะบริทต่างชาติ และมีองค์ประกอบเข้าข่ายเป็นกลุ่มองค์กรอาชญากรรมตามนิยามข้อที่2 ของอนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งลักษณะองค์กร

 

การใช้มาตรา44 อาจทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกตีความเป็นองค์กรอาชญากรรม กลายเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารคนไทยคนแรก ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ทำให้มีการเจรจาถอนฟ้อง   น.ส.จิราพร กล่าว
 

น.ส.จิราพร กล่าวอีกว่า หากการตัดสินมาตรา 44 ว่าผิด จะมีอาฟเตอร์ช็อคต่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และรัฐบาลทั้งคณะ คือ หากมาตรา 44 ผิดพลาดและรัฐบาลยังพยายามเอาทรัพย์สินและประเทศประกันตัวเองออกจากคดี หากไทยสามารถเจรจาประนีประนอมยอมความไม่เป็นไปตามขั้นตอนกกฎหมาย จะกลายเป็นความผิดพลาดร้ายแรงซ้ำสองสร้างภาระประเทศไม่มีที่สิ้นสุด หากไม่แสวงหาความจริงได้ ขอให้ทุกคำถาม ประทับอยู่ในหัวใจทั้งประเทศ พรรคเพื่อไทยไม่มีวันลืม แสวงหาข้อเท็จจริงทุกช่องทาง นำความจริง ตีแผ่เบื้องหลัง หากการเจรจายอมความมีพฤติกรรมไม่สุจริต มีข้อแนะนำเดียว คือ เตรียมทีมทนายในและต่างประเทศไว้ให้ดี

 

แถลงการณ์คิงส์เกต ต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ระบุว่าคิงส์เกตและรัฐบาลไทย ได้ร่วมกันร้องขอคณะอนุญาโตตุลาการ ชะลอคำชี้ขาดไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 เพื่อขยายเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาหาข้อยุติข้อพิพาทร่วมกัน และคิงส์เกตได้เจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อพิจารณาข้อตกลง ซึ่งจะต้องทำตามขั้นตอนมีทั้งหมด 11 รายการ

 

ตรงนี้ชัดเจนว่ามีการเจรจาประนีประนอมยอมความกัน สำหรับ 11 รายการ อาทิ การให้ใบอนุญาต และคำขอใบอนุญาตที่จำเป็นในเหมืองทองชาตรี การต่ออายุการอนุมัติคำขอใบอนุญาตการสำรวจที่สำคัญ การให้สิทธิและการลดหย่อนภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การเข้าถึงเงินทุน เพื่อการพัฒนาสำหรับการปรับปรุงการขยายเหมือง การพัฒนาโรงงานผลิตทองคำในท้องถิ่นของไทยที่ได้รับการรับรองระดับสากล การสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการนำบริษัท อัคราฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในท้องถิ่นทั้งหมด ทั้งหมดคือสิ่งที่คิงส์เกตระบุว่ากำลังเจรจาต่อรองกับไทยชัดเจนว่าที่ผ่านมาการที่ไทยให้ผลประโยชน์ และคืนสิทธิต่าง ๆ ให้คิงส์เกต เป็นข้อต่อรองในการเจรจาประนีประนอมยอมความ


ที่ผ่านมามีความพยายามดึงเวลา รัฐบาลค่อย ๆ แร่เนื้อเถือแผ่นดินให้คิงส์เกตไปเรื่อย ๆ รายการข้อตกลงที่นำมาเจรจายอมความกันอยู่เหนือข้อพิพาท ซึ่งข้อพิพาทระหว่างคิงส์เกตกับไทย จุดศูนย์กลางของปัญหาเป็นเรื่องของการที่พล.อ.ประยุทธ์ใช้อำนาจมาตรา 44  ออกคำสั่งให้ระงับการทำ "เหมืองทองของบริษัท อัคราฯ "

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ