ข่าว

รู้จัก "โรคขี้เต็มท้อง" ภาวะป่วยของท้องไส้ รู้ทันก่อนระบบขับถ่ายเสียหาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก "โรคขี้เต็มท้อง" หรือภาวะอุจจาระอุดตัน ท้องใส้เกิดอาการป่วย พวกชอบอั้นระวังให้ดี เปิดพฤติกรรมเสี่ยง พร้อมวิธีดูแลลำไส้ให้สุขภาพดี

จากกรณีที่ "ตุ๊กตา จมาพร" ป่วย "โรคขี้เต็มท้อง" และได้มีการแชร์ประสบการณ์ อาการเบื้องต้น การรักษาเบื้องต้น ไปแล้วนั้นวันนี้จะพาไปทำความรู้จัก "โรคขี้เต็มท้อง" หรือ ภาวะอุจจาระอุดตัน โดย ภาวะอุจจาระอุดตัน หรือ โรคขี้เต็มท้องนั้น คือ ภาวะที่อุจจาระแห้งและอุดตันบริเวณลำไส้ตรง จนไม่สามารถผ่านออกมาได้จนเกิดจากการที่มีปัญหาท้องผูกรุนแรง หรือ ท้องผูกเป็นเวลานาน

 

กลุ่มเสี่ยงภาวะอุจจาระอุดตัน สามารถเกิดขึ้นได้จากฤติกรรมดังนี้

  • กลั้นอุจจาระ อุจจาระไม่เป็นเวลา
  • ดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็ง ทำให้ท้องผูก
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อย
  • รับประทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน มากเกินไป
  • การออกกำลังกายน้อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่ายด้วย
  • ลำไส้ทำงานผิดปกติ
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด ที่ทำให้ลำไส้ลดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NARCOTICS, ยาลดกรด, ยากลุ่มธาตุเหล็กหรืออยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • โรคประจำตัวส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น โรคซึมเศร้า อัลไซเมอร์ ทำให้ขาดการดูแลอาหารการกินที่ดีต่อสุขภาพ

อาการของ "โรคขี้เต็มท้อง" หรือ ภาวะอุจจาระอุดตัน  สามารถพบได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  • ปวดท้องแบบบีบๆ
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ทั่วท้อง
  • รู้สึกถึงลมในท้องเยอะผิดปกติ ตดเปรี้ยว เลอเปรี้ยว
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง
  • ท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน
  • อุจจาระก้อนเล็ก คล้ายลูกกระสุน  แข็ง บางครั้งมีมูกเลือกปนออกมาจาดว้ย 

รู้สึกว่าอุจจาระแล้ว แต่ยังไม่สุดทำให้ต้องนั่งนาน ยังรู้สึกว่ามีอุจจาระเหลืออยู่ในท้อง ไม่โล่งสบายท้อง 

การขับถ่ายและนั่งถ่ายเพื่อให้ห่างไกลจาก "โรคขี้เต็มท้อง"

1. ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชินกับการขับถ่าย เวลาขับถ่ายที่เชื่อว่าดีที่สุด คือ ตอนเช้าเวลา 5.00 – 7.00 น. หรือหลังอาหารเช้า แต่ถ้าไม่สะดวกในช่วงเวลานี้ อย่างน้อยพยายามหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สามารถขับถ่ายได้อย่างเป็นเวลา สม่ำเสมอทุกวัน ควรให้เวลากับการถ่ายอุจจาระอย่างเพียงพอ ไม่เร่งรีบ


2. ดื่มน้ำ 1 แก้วใหญ่ ในตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยแนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำปกติ ไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และจะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวได้ดี ไล่ของเสียในลำไส้ลงมาทำให้ขับถ่ายได้สะดวก


3. อย่ากลั้นอุจจาระ ถ้ารู้สึกปวดก็ควรรีบเข้าห้องน้ำและขับถ่ายทันที  การกลั้นอุจจาระอาจทำให้ลำไส้บีบอุจจาระกลับขึ้นไปที่ลำไส้ อาจทำให้มีอุจจาระที่คั่งค้างที่ผนังลำไส้ได้   ขณะที่เข้าห้องน้ำกำลังขับถ่าย ถ้ายังไม่ปวดอย่าพึ่งเบ่งอุจจาระ เพราะร่างกายจะมีสมดุลการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ ควรรอจังหวะที่ปวดแล้วค่อยเบ่งอุจจาระ เพราะการเบ่งอุจจาระแรงๆ ขณะที่ไม่ปวดจะเหมือนเป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ ทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ หากทำบ่อยๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพองเกิดริดสีดวงทวารตามมาได้

4. นวดลำไส้ ถ้าในเด็กให้นวดรอบสะดือ ในผู้ใหญ่ให้นวดตรงท้องด้านล่างซ้ายเลยสะดือไป นวดเบา ๆ โดยค่อยๆ นวดดันลงไปข้างล่าง แล้วทิ้งไว้สักพักจะรู้สึกปวดถ่ายขึ้นมา


5. นั่งถ่ายอย่างถูกวิธี จริง ๆ แล้วท่านั่งที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุด คือ นั่งยอง ๆ เพราะจะมีแรงกดจากหน้าขาช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องที่สุด แต่ปัจจุบัน ห้องน้ำส่วนใหญ่เป็นชักโครกสำหรับนั่งซึ่งทำให้มีแรงเบ่งอุจจาระที่น้อยกว่า ดังนั้นควรมีท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น ท่าถ่ายอุจจาระที่เหมาะสม คือ โค้งตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ถ้าเป็นเด็กและเท้าเหยียบไม่ถึงพื้น ควรมีที่รองเท้าให้เด็ก เพื่อให้ออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น คนที่ขับถ่ายยาก ขณะขับถ่ายอาจใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างก็จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น


ที่มา: acare

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ