ข่าว

"กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" กลุ่มเสี่ยงอายุ 12-15 ปี ชายเป็นมากกว่าหญิง 10 เท่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" พบกลุ่มเสี่ยงในวัยรุ่นอายุ 12-15 ปี เกิดได้หลังจากฉีดวัคซีน mRNA พบในชายมากกว่าหญิง 10 เท่า แต่พบอาการไม่มาก สามารถหายเองได้

"กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ"  (Myocarditis) อาการที่ถูกพูดถึงอีกครั้งหลังจากที่ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19ให้เด็กอายุ 5-11 ปี อีกครั้ง เนื่องจากอาการ "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" เป็นอีกหนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะ "ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" ที่เกิดในเด็ก ทั้งนี้อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบไม่ได้เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนอย่างเดียวเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่แล้ว มักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ โดยที่พบบ่อยมักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือปรสิต และในรายบายอาจจะเกิดจากจากการใช้ยา การได้รับสารเคมี หรือโรคบางชนิด

 

ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ "หมอยง" โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงกรณีการฉีด "วัคซีนโควิด" ชนิดmRNA ในเด็กวัยรุ่น  และภาวะการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  โดยระบุว่า 

คซีนโควิด-19  การเกิด "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" หลังให้วัคซีน mRNA ในวัยรุ่น
ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต  6  กุมภาพันธ์ 2565
เป็นที่ทราบกันดีว่าวัคซีนมีความจำเป็น ในการป้องกันลดความรุนแรงของโรค covid 19 
จากการศึกษาในอิสราเอล เผยแพร่ในวารสาร NEJM (26 Jan 2022) เกี่ยวกับการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตามหลังการให้วัคซีน Pfizer ในวัยรุ่น อายุ 12-15 ปี จำนวนประมาณ 400,000 คน สำหรับเข็มแรก และประมาณ 320,000 สำหรับเข็มที่ 2  โดยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย ข้อมูลที่ได้พบเช่นเดียวกับการศึกษาในอดีต คือการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกือบทั้งหมด จะเกิดขึ้นในเข็มที่ 2 และพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงมาก 
การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ถึงกับต้องนอนโรงพยาบาล ในเด็กชายหลังเข็ม 2 วัคซีน Pfizer  จะพบ 1 ใน 12,361  ในการได้รับเข็ม 2  ส่วนเด็กหญิง จะพบน้อยกว่ามาก พบในอัตรา 1 ใน 144,439   หรือน้อยกว่ากันเป็น 10 เท่า 

 

ศ.นพ.ยง   อธิบายเพิ่มเติมว่า การวินิจฉัย "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" จะถูกแบ่งเป็น สงสัย น่าจะเป็น และยืนยันการเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในการยืนยันการเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะต้องอาศัย การตรวจ echo ที่ชัดเจนมาก หรือ MRI หัวใจ หรือ การตรวจชิ้นเนื้อจากการใส่สายตัดมาตรวจ ดังนั้นข้อมูลที่แท้จริงถึงกับยืนยัน คงจะได้น้อยกว่าความเป็นจริง เพราะการเกิดการอักเสบ จำนวนมากมีอาการไม่มาก และหายได้เอง

ทั้งนี้อุบัติการณ์ของการเกิด "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากวัคซีนโควิดชนิด mRNA มีแนวโน้มรายงานเพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเพราะเฝ้าสังเกตอาการมากขึ้น โดยพบในผู้อายุน้อยมากกว่าอายุมาก เช่น

  • ในเด็ก 12 ถึง 17 ปี 
  • ผู้ชายพบมากกว่าผู้หญิง
  • อาการเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็ม 2  มากกว่าเข็มแรกอย่างชัดเจน
     

การประเมินความเสี่ยง และประโยชน์จากวัคซีนในเด็ก จึงขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีการรายงานที่มีตัวเลขแตกต่างกันมาก เช่น ในเด็กชาย
อายุ 12-17 ปี  หลังการฉีดวัคซีนเข็ม 2 จากเดิมรายงาน  60 รายใน 1 ล้าน  เพิ่มขึ้นเป็นในเด็กชาย 12-15 ปี สูงถึง 162 ในล้าน และอายุ 16-17 ปี พบ 94 ในล้าน ส่วนใหญ่มีอาการใน 1-7 วัน หลังได้รับวัคซีน แต่อาจพบได้นานถึง 6 สัปดาห์ อาการมักไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีส่วนน้อยที่ต้องให้การรักษาด้วย IVIG ผู้ป่วยที่ตรวจพบ มีความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจมักกลับมาปกติภายใน 3 เดือน แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบระยะยาว

logoline