ข่าว

รู้ยังเกิดอุบัติเหตุ "พ.ร.บ.รถยนต์" 645 บาท เบิกอะไรได้บ้าง สูงสุดหลักแสน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกิดอุบัติเหตุ "พ.ร.บ.รถยนต์" 645 บาท คุ้มครองค่าเสียหายสูงสุด 500,000 บาท เช็ครายการคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นแบบชัด ๆ ที่นี่

ประชาชนผู้ที่มีรถยนต์ รู้หรือไม่ พรบ.รถยนต์ ที่ซื้อไว้รายปีราคา 645 บาท  เพื่อต่อภาษีรถยนต์ทุกปี เมื่อเกิด "อุบัติเหตุ" มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหม จากบริษัทประกันได้ ตามกฎหมายแห่ง พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535  โดยจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ได้แก่ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งทางบริษัทประกันที่รับทำ พ.ร.บ. รถยนต์ จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอเรื่องค่าเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้แต่คนเดินถนน

 

หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ที่มาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะได้รับการชดเชยค่าเสียหายที่แท้จริง   ในวงเงินคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นจากการเกิด "อุบัติเหตุ" ต่อคน เป็นเงินจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท โดยเป็นค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริง ไม่เกิน 80,000 บาท 

ค่าเสียหาย "อุบัติเหตุ" เบื้องต้นที่จะได้รับมีดังนี้ 

  • กรณีบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีทุพพลภาพ จะได้ค่าเสียหายเบื้องต้น คนละไม่เกิน 35,000 บาท
  • กรณีบาดเจ็บ และทุพพลภาพในลำดับต่อมา จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยเป็นค่าปลงศพ  35,000 บาท
  • กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตในภายหลัง จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมไม่เกิน 65,000 บาท
     

ค่าสินไหมทดแทน จากกรณีเกิด "อุบัติเหตุ" ภายหลังที่มีการพิสูจน์คดีจากอุบัติเหตุแล้วพบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายนั้นจะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล สามารถเบิก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ได้สูงสุดคนละไม่เกิน 80,000 บาท (จ่ายตามจริง)
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ
  • สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป คนละ 200,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน คนละ 250,000 บาท
  • ทุพพลภาพถาวร คนละ 300,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป คนละ 500,000 บาท
  • กรณีเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท แต่จะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 20 วัน

 

เอกสารที่ใช้เบิกประกัน พ.ร.บ.

  • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
  • ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ