ข่าว

เลขาฯแพทยสภา ร้อง DSI จี้ปราบ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกตุ๋นบุคลากรทางการแพทย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลขาธิการแพทยสภา นำข้อมูลหลักฐาน ส่งมอบให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เร่งปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลังพบกลุ่มมิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงบุคลากรทางการแพทย์ อ้างโยงคดีฟอกเงิน และหลอกโอนเงิน

(18 ม.ค.) พลอากาศตรีนายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้เดินทางเข้าพบ นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อขอให้มีการสอบสวน หลังมีเอกสารและพยานหลักฐานพฤติกรรมของขบวนการคอลเซ็นเตอร์ ที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ. โทรศัพท์เข้ามาหลอกลวงสมาชิกแพทยสภาหลายคน และยังพบว่า เครือข่ายคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้ ยังแอบอ้างเป็นตำรวจ โทรศัพท์หลอกลวง ขอเอกสารสำคัญ และให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ตรวจสอบ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์

 
 

เลขาฯแพทยสภา ร้อง DSI จี้ปราบ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกตุ๋นบุคลากรทางการแพทย์


 

พลอากาศตรีนายแพทย์ อิทธพร เปิดเผยว่า กรณีนี้มีการหารือกับพนักงานสอบสวน ดีเอสไอ. มาโดยตลอด และได้รับคำแนะนำให้รวบรวมข้อมูลเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อส่งให้กับทางพนักงานสอบสวนรับเป็นคดี โดยพบว่า มีผู้เสียหาย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร จำนวนหลายคนที่ตกเป็นเหยื่อ แม้ว่าผู้เสียหายจะมีไม่ถึง 10 คน และมูลค่าความเสียหายรวมแล้วประมาณ 10 ล้านบาท

 

เบื้องต้น พฤติกรรมของกลุ่มนี้ จะโทรศัพท์ไปหาเหยื่อ และบอกว่า ตกเป็นผู้ต้องหาคดีฟอกเงิน โดยมีคดีอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนดีเอสไอ. หรืออาจจะใช้วิธีอ้างตัวเป็นตำรวจ และหลอกผู้เสียหายว่า ได้จับกุมผู้ต้องหาในขบวนการนี้ได้คนหนึ่ง โดยพบหลักฐานมีสมุดบัญชีและบัตรเครดิต เป็นชื่อของผู้เสียหาย หรือของเหยื่อ โดยของให้เหยื่อไปรายงานตัว พร้อมกับพูดชักจูงให้ผู้เสียหายเกิดความหวาดกลัว จนเหยื่อหลงกลโอนเงินให้มิจฉาชีพไป


เลขาฯแพทยสภา ร้อง DSI จี้ปราบ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกตุ๋นบุคลากรทางการแพทย์
 

เลขาธิการแพทยสภา กล่าวยืนยันด้วยว่า หลังเกิดเรื่องจึงได้มีการตรวจสอบระบบฐานข้อมูล ซึ่งไม่พบว่ามีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวของบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น จึงเชื่อว่า ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ อาจจะรั่วไหลมาจากภายนอก มากกว่าการนำออกข้อมูลจากบุคคลภายในองค์กร มาเผยแพร่ให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ
 

 

ขณะที่ อธิบดีดีเอสไอ. กล่าวยืนยันว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ. เข้าไปเกี่ยวข้องในการหลอกลวง แต่กลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว ได้แอบอ้างชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ ไปใช้ในการหลอกลวงผู้เสียหาย ส่วนกระบวนการสอบสวนดำเนินคดีนั้น ขณะนี้พนักงานสอบสวน ดีเอสไอ กำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหาย ได้หลุดรอดไปถึงกลุ่มมิจฉาชีพได้อย่างไร แต่ข้อสังเกตที่เป็นไปได้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากช่องโหว่ ที่ผู้เสียหาย ทำการซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของตัวผู้เสียหายเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ข้อมูลส่วนตัว ถูกกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้นำไปใช้ในการแอบอ้าง


 

ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้เสียหาย ที่ถูกกลุ่มคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้ โทรศัพท์ไปแอบอ้าง ให้ตรวจสอบความถูกต้องกับหน่วยงานต้นสังกัดที่ถูกแอบอ้าง และอย่าได้หลงเชื่อ หรือโอนเงินให้ไปก่อนอย่างเด็ดขาด เพราะหน่วยงานราชการ จะมีการทำหนังสือเชิญตัว มาให้ข้อมูลอย่างเป็นทางการ และจะไม่มีลักษณะโทรศัพท์ไปติดตามตัวมาอย่างแน่นอน "แก๊งคอลเซ็นเตอร์
 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ