ข่าว

รับมือโควิด-โอไมครอน ขยายแซนด์บ็อกซ์ 3จว.ตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง ลงราชกิจจาฯ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019รับมือ"โควิด-โอไมครอน" สั่งคุมการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ขยายพื้นที่แซนด์ บ็อกซ์ ออกไป 3 จังหวัด พร้อมกำหนดการตรวจคัดกรอง RT-PCR 2 ครั้ง

 

เมื่อวันที่ 8 ม.ค.65  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) ที่ ๒/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๑)  ซึ่งเป็นมาตรการการควบคุมการเดินทางเข้าราชอาณาจักรและ ขยายพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ออกไป 3 จังหวัด พร้อมกำหนดการตรวจคัดกรอง RT-PCR 2 ครั้ง 

 

มีเนื้อหาดังนี้  ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ขยาย ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕

 

โดยนายกรัฐมนตรีได้ออก ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๐) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดและสอดรับนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคำสั่งเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่นำไปดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด

โดยมีคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด - 19 ) ที่ ๒๕/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๐) ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น

 

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบำดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 ในหลายประเทศทั่วโลก ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนำ 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron ) ที่สามารถแพร่กระจายได้เร็วและมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่า สายพันธุ์อื่น ๆ ขณะที่ประเทศไทยเริ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้ การดำเนินการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนำยกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตำมพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ อาศัยอำนาจตามความ ในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนำยกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้า ผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนำคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

นายกรัฐมนตรีในฐำนะผู้อำนวยกำรศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 จึงมีคำสั่ง  ให้หัวหน้ำผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตาม มาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

 

 

 

ด่วน ราชกิจจาฯ ออกประกาศข้อกำหนดพรก.ฉุกเฉินรับมือโควิด-โอไมครอนระลอกใหม่

 

เช็คเลย จังหวัดไหนบ้าง"พื้นที่ควบคุม" โควิด โอไมครอนระลอกใหม่ ลงราชกิจจาฯ

 

 

รับมือโควิด-โอไมครอน ขยายแซนด์บ็อกซ์ 3จว.ตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง ลงราชกิจจาฯ

รับมือโควิด-โอไมครอน ขยายแซนด์บ็อกซ์ 3จว.ตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง ลงราชกิจจาฯ

 

 

 

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น

 

สั่ง ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม มาตรการการเดินทางเข้าประเทศ 

คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด - ๑๙) ที่ ๒/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๑)

 

 

logoline