ข่าว

รัฐบาลเตรียมจัดสินเชื่อ ธ.ก.ส. 3 หมื่นลบ. ช่วยเกษตรกรรายย่อย แก้ปัญหาหมูแพง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รมช.เกษตรฯ เผยเตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ธ.ก.ส. 3 หมื่นล้านบาท ปล่อยกู้ให้เกษตรกรรายย่อยหันมาเลี้ยงหมูมากขึ้น แก้ปัญหาหมูแพง ด้านนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ วอนรัฐช่วยเร่งจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร-ยกเลิกการกำหนดราคา คาดสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติได้ใน 6-12 เดือน

วันนี้ (8 ม.ค.) ที่อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ เดินทางพบกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง "สุกรรายย่อย และ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา "โรคระบาดในสุกร" และราคา "หมูแพง" โดยนายประภัตร กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยง  "สุกร" ในประเทศไทยมีอยู่ 1.9  แสนราย เลี้ยง "สุกร" ประมาณ 20 ล้านตัว ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรรายย่อย 1.85 แสนราย เลี้ยง  "สุกร" จำนวน 5 ล้านตัว ที่เหลือเป็นเกษตรกรรายใหญ่ เลี้ยง  "สุกร" ประมาณ 14-15 ล้านตัว สำหรับการเดินทางมาภาคเหนือ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีเกษตรกรรายย่อยอยู่เป็นจำนวนมากถึง 70,000 ราย เพื่อเข้ามารับฟังปัญหาของเกษตรกรและนำไปแก้ไขปัญหา ตามที่นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ดูแลแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรรายย่อยและรายงานให้นายกฯ ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา 

 

รัฐบาลเตรียมจัดสินเชื่อ ธ.ก.ส. 3 หมื่นลบ. ช่วยเกษตรกรรายย่อย แก้ปัญหาหมูแพง

สำหรับการส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยกลับมาเลี้ยง "สุกร" เบื้องต้นได้จัดเตรียมสินเชื่อ จาก ธ.ก.ส. จำนวน 30,000 ล้านบาทให้เกษตรกรรายย่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อต่อยอดส่งเสริมให้กลับมาเลี้ยง "สุกร" ให้มากขึ้น

 

รัฐบาลเตรียมจัดสินเชื่อ ธ.ก.ส. 3 หมื่นลบ. ช่วยเกษตรกรรายย่อย แก้ปัญหาหมูแพง

 

ด้าน นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ กล่าวว่า วันนี้ทางสมาคมได้เตรียมเสนอข้อเรียกร้องให้ทางภาครัฐเร่งจ่ายเงินเยียวยาให้เกษตรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเกิด โรคระบาดในสุกร และได้รับผลกระทบจากมาตรการของภาครัฐที่กำหนดให้มีการทำลาย "สุกร" เพื่อป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดแรงจูงใจฟื้นอาชีพกลับมาเลี้ยง "สุกร" ตามเดิม หลังจากเกษตรกรต้องเลิกเลี้ยง หรือชะลอการเลี้ยงไปถึงร้อยละ 50 จากเดิมที่เคยมีเกษตรกรมากถึง 1.9 แสนราย นอกจากนั้นขอให้พิจารณายกเลิกการกำหนดราคา ทั้งหมูเป็น และหมูชำแหละ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน เป็นไปตามกลไกตลาด

ดังนั้น การจะฟื้นอาชีพและสร้างความเชื่อมั่นของเกษตรกรให้กลับมา รัฐต้องแก้ปัญหาทั้งระบบในทันที ภาครัฐต้องเร่งออกมาตรการช่วยเหลือคนเลี้ยง "สุกร" ให้เหมือนกับที่ช่วยเหลือเยียวยาภาคเกษตรอื่น ๆ โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ การช่วยลดหนี้ พักหนี้ หรือพักดอกเบี้ย พร้อมเร่งช่วยลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด รวมถึงเลื่อนการจ่ายภาษีของเกษตรกรออกไปก่อน และต้องปล่อยให้ราคาซื้อขายเป็นไปตามกลไกตลาด คาดว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติได้ภายในระยะเวลา 6-12 เดือน

 

รัฐบาลเตรียมจัดสินเชื่อ ธ.ก.ส. 3 หมื่นลบ. ช่วยเกษตรกรรายย่อย แก้ปัญหาหมูแพง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ