ข่าว

ตำนาน "พระพุทธสิหิงค์" พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ที่ควรกราบรับสิริมงคลในปีใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รับสิริมงคลปีใหม่ กับตำนานพระปฏิมาแห่งแผ่นดิน "พระพุทธสิหิงค์" พระพุทธรูปวังหน้า ที่คนไทยควรสักการะ ในปีใหม่ 2565 เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต

ตั้งแต่ปี 2554 กรมศิลปากรได้เปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสเข้าสักการะ "พระพุทธรูปวังหน้า" พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน เนื่องใน เทศกาลปีใหม่เป็นประจำต่อเนื่องมาทุกปี เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นศักราชใหม่ และเป็นมงคลแก่ชีวิต

วันนี้คมชัดลึกออนไลน์จะพา มาทำความรู้จัก "พรพุทธสิหิงค์" พระประติมากรรมแห่งแผ่นดิน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถาน ที่กอปรไปด้วย พุทธศิลป์อันงดงาม และคติตำนานการสร้าง และนำอันเป็นสิริมงคล

ตำนาน "พระพุทธสิหิงค์" พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ที่ควรกราบรับสิริมงคลในปีใหม่
"พระพุทธสิหิงค์"
พระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัย-ล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ กะไหล่ทองขนาด สูงพร้อมฐาน 135 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร องค์พระสูง 79 เซนติเมตร

การสร้างได้ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการคือ

  1. คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี
  2. แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกาผู้สร้าง
  3.  อานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ที่ใด พระพุทธศาสนาย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีปเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่

ประวัติ "พระพุทธสิหิงค์"

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้ารัชกาลที่ 1) วังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงอัญเชิญมาจาก
เมืองเชียงใหม่เมื่อประมาณ พุทธศักราช 2338 ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
พระราชวังบวรสถานมงคล

"พระพุทธสิหิงค์" พระพุทธรูปสัมฤทธิ์กะไหล่ทอง ประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลาแสดงปางสมาธิ พุทธลักษณะ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนาสิกโด่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำขมวด พระเกศาเป็นก้นหอย เหนือพระอุษณีษะมีพระรัศมีรูปเปลวเพลิง ทรงครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเป็นแผ่นแบนกว้าง พาดอยู่บนพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ชายสังฆาฏิเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระอุระกว้าง บั้นพระองค์คอด
ประทับอยู่บนฐานบัวหงาย 3 ชั้น ที่รองรับด้วยฐานสิงห์ที่น่าจะทำเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง

ตำนาน "พระพุทธสิหิงค์"

กล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์" มีความเก่าแก่และเป็นที่เคารพนับถือสืบเนื่องมายาวนานตั้งแต่พุทธศักราช 700 แต่รูปแบบศิลปะของ "พระพุทธสิหิงค์" องค์ที่ปรากฏในปัจจุบันคือ "พระพุทธสิหิงค์" ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 20 - พุทธศตวรรษที่ 21 ตามรูปแบบศิลปะสุโขทัย-ล้านนา 

อย่างไรก็ดี หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) ภัณฑารักษ์พิเศษ กรมศิลปากร ได้เคยอธิบายถึงพุทธลักษณะของ "พระพุทธสิหิงค์" ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในหนังสือ "พระพุทธสิหิงค์กับวิจารณ์" ว่า "พระพุทธสิหิงค์" มีพุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูปนั่งฝีมือช่างลังกาทุกสมัย กล่าวคือ พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว และพระวรกายไม่สู้จะอวบอ้วน

ตำนาน "พระพุทธสิหิงค์" พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ที่ควรกราบรับสิริมงคลในปีใหม่ ภาพถ่ายโดย : Supanut Arunoprayote


นิทาน "พระพุทธสิหิงค์" พระโพธิรังสี พระภิกษุชาวเชียงใหม่นิพนธ์เป็นภาษาบาลี ระหว่างพุทธศักราช 1945 - 1985 

มีความสรุปดังนี้ "พระพุทธสิหิงค์" สร้างโดยพระมหากษัตริย์กรุงลังกาเมื่อพุทธศักราช 700
กำหนดพระลักษณะให้ละม้ายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด เนื่องจากได้ถอดมาจากรูปแปลงของพญานาคที่เคยเห็นพระพุทธองค์ เนรมิตกายให้ดูเป็นแบบอย่าง กล่าวกันว่า เมื่อหล่อพระพุทธสิหิงค์ขึ้นแล้ว เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้

พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย (สันนิษฐานตามประวัติศาสตร์ว่า หมายถึง พ่อขุนรามคำแหง) โปรดเกล้าฯ ให้พญาสิริธรรมนคร ผู้ปกครองเมืองสิริธรรมนคร (ปัจจุบันคือ นครศรีธรรมราช) แต่งทูตอัญเชิญพระราชสาส์นทูลขอพระพุทธสิหิงค์มาจากพระเจ้ากรุงลังกา "พระพุทธสิหิงค์" ลอยมาขึ้นฝั่งทะเลภาคใต้อย่างปาฏิหาริย์หลังจากเรืออับปางระหว่างเดินทาง แล้วพระร่วงเจ้าก็อัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" มาประดิษฐานสักการบูชา ณ กรุงสุโขทัยสืบเนื่องมา ครั้นกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง พระมหากษัตริย์หรือเจ้าเมืองผู้มีอำนาจได้อัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" ไปประดิษฐานตามหัวเมืองสำคัญหลายแห่ง ได้แก่

  • พิษณุโลก (โดยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1 พุทธศักราช 1905)
  • พระนครศรีอยุธยา (โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 พุทธศักราช 1905)
  • กำแพงเพชร
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • จวบจนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่พุทธศักราช 2205

"พระพุทธสิหิงค์" ประดิษฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 105 ปี จนถึงพุทธศักราช 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า

"พระพุทธสิหิงค์" ถูกอัญเชิญกลับไปยังเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของสยามประเทศแล้ว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้ารัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เสด็จฯ นำทัพไปเชียงใหม่ ทรงอัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" กลับมาประดิษฐาน ณ ที่พระที่นั่งพุทธาสวรรย์ ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เมื่อพุทธศักราช 2338

ครั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" ไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระ
แก้วและประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ตลอดรัชกาลที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในพุทธศักราช 2394 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญกลับไปประดิษฐานใน พระราชวังบวรสถานมงคล และเมื่อพุทธศักราช 2396 รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนนามพระที่นั่งพุทธาสวรรย์เป็น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

ตำนาน "พระพุทธสิหิงค์" พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ที่ควรกราบรับสิริมงคลในปีใหม่

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัฐบาลสมัยนั้น มีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มการสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้ว สืบต่อมาถึงรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" จากพระที่นั่งพุทไธสวรรรย์ ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน และมีการพระราชพิธีเชิญไปประดิษฐานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475

เทศกาลปีใหม่ พุทธศักราช 2491 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดตั้งพระราชพิธีสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและ "พระพุทธสิหิงค์" ด้วยเหตุที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติ ประเทศไทยได้ผ่านพ้นอวมงคลการต่าง ๆ โดยวันที่ 9 มกราคม พุทธศักราช 2491 พนักงานพระราชพิธีเชิญ "พระพุทธสิหิงค์"ออกประดิษฐานหน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หลังจากเสร็จพระราชพิธีแล้ว ในวันที่ 14 มกราคม พุทธศักราช 2491 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กลับมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ตามเดิมจนทุกวันนี้


ระหว่างพุทธศักราช 2478 - 2485 ในวันนักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่ 1 เมษายน จะมีการแห่อัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" ออกให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคล ณ มณฑลพิธี และว่างเว้นไปในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

ต่อมาในพุทธศักราช 2492 เมื่อมีการฟื้นฟูประเพณีฉลองวันตรุษสงกรานต์ การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออก สรงน้ำจึงเปลี่ยนมาจัดในเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทยและจัดติดต่อสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

ทั้งนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีการอัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์" เป็นประธานในการพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน จากคำให้กำรขุนหลวงวัด
ประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง กล่าวว่าในพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอุทุมพรบวรราชกุมาร ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ "พระพุทธสิหิงค์" ได้ประดิษฐานเป็นประธานภายในมณฑปบนยอดเขาไกรลาส ทั้งนี้เอกสารเดียวกันระบุว่าตามปรกติแล้ว "พระพุทธสิหิงค์" ประดิษฐานในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์

ตำนาน "พระพุทธสิหิงค์" พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ที่ควรกราบรับสิริมงคลในปีใหม่

สำหรับในกรุงรัตนโกสินทร์นั้นปรากฏหลักฐานว่าพระราชพิธีอาพาธพินาศ ซึ่งประกอบการพระราชพิธีเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพุทธศักราช 2343 มีการอัญเชิญ "พระพุทธสิหิงค์"ประดิษฐานบนพระยานมาศ แห่พร้อมพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนครด้วย


เรื่อง โดย นายยุทธนาวรากร แสงอร่าม หนังสือ นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล
๒๕๖๕

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ