ข่าว

TRSI มุ่งสู่ "เกษตรอัจฉริยะ" เพื่อชาวนาไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เกษตรอัจฉริยะ" เป็นรูปแบบการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ ลดการใช้ทรัพยากรแรงงานมนุษย์ ลดเวลาในการทำงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

"เกษตรอัจฉริยะ" เป็นรูปแบบการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ลดการใช้ทรัพยากรแรงงานมนุษย์ ลดเวลาในการทำงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

น.ส.อมรัตน์ อินทร์มั่น นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ และนำไปใช้ในการผลิตข้าวให้ได้คุณภาพมาตรฐานและเกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทางสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติได้ทำการพัฒนาและทดลองในแปลงสาธิตแล้วมากมาย และได้นำไปให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ใช้งานจริงภายในแปลงนา

 

อาทิเทคโนโลยีปรับพื้นที่ด้วยระบบเลเซอร์(Laser Land Leveling), รถดำนา Autosteering,ท่อวัดระดับน้ำอัจฉริยะ,โดรนสำรวจ, โดรนเพื่อการเกษตร , Cropspec(Sencer ตรวจวัดความต้องการปุ๋ย) , IOT Weather Station , IOT Platform แสดงรายละเอียดรายแปลง เป็นต้น”

 

ปัจจุบันมีการขยายผลการทำ "เกษตรอัจฉริยะ"ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไปแล้ว 7 จังหวัดนำร่อง คือ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดปทุมธานี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุบลราชธานี
 

TRSI มุ่งสู่ "เกษตรอัจฉริยะ" เพื่อชาวนาไทย

                                                             นายปรัชญา แตรสังข์

นายปรัชญา แตรสังข์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ กล่าวว่า จากการที่สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ได้นำเทคโนโลยีมาถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกรในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่นั้นทำให้เกษตรกรได้รับโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพการปลูกข้าวคุณภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการเช่าซื้อให้แก่กลุ่มเกษตรกร เครื่องจักรกลเป็นตัวช่วยที่ดีในการช่วยลดระยะเวลาในการผลิตและเป็นตัวช่วยวางแผนก่อนการผลิต เช่น ช่วยคำนวณการใช้ปุ๋ย คำนวณการใช้น้ำในเวลาที่เหมาะสมต่อความต้องการของข้าว นวัตกรรมการเฝ้าระวังโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เป็นต้น 

TRSI มุ่งสู่ "เกษตรอัจฉริยะ" เพื่อชาวนาไทย

นายพิชิต เกียรติสมพร ประธานกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่สวนแตง หมู่ที่ 4 ตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า เดิมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต้องทำงานอย่างหนัก ต้องลงมือลงแรงเอง หากไม่มีเครื่องจักรกล การเฝ้าระวัง การสำรวจภายในแปลงนาก็ไม่สามารถทำได้ทั่วถึง และยากลำบาก แต่ปัจจุบันมีสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติเข้ามาช่วยสนับสนุนทั้งด้านความรู้และนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆในการผลิตข้าว ทำให้ยกระดับการผลิตข้าวให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

TRSI มุ่งสู่ "เกษตรอัจฉริยะ" เพื่อชาวนาไทย

หากเกษตรกรผู้ผลิตข้าวมีความต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐในด้านของเทคโนโลยี นวัตกรรมในการผลิตข้าว สามารถติดต่อสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติได้ทุกวันและเวลาราชการ หรือ โทร.035-555-340.

logoline