ข่าว

เปิดภาพ "พื้นที่สาธารณะ"แห่งอนาคตปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สุดยอดไอเดียออกแบบ "พื้นที่สาธารณะ" แห่งอนาคต สร้างกรุงเทพมหานครเป็นจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ระดับโลก เปิดตัวอย่างการออกแบบพื้นสาธารณะแห่งอนาคตที่ด้วยฝรมือนักศึกษา

บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) ประกาศผลรางวัลชนะเลิศ โครงการประกวด “Uniquely Thai” Envisioning the 21st Century Bangkok's Civic Center Architectural Design Competition 2021 จากผู้เข้าประกวดเกือบ 500 ทีม ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 700,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและรางวัลเดินทางศึกษาดูงานต่างประเทศ ส่งเสริมคนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมออกแบบพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ โดยผู้ชนะเลิศในประเภทนิสิตนักศึกษาได้แก่ นางสาวมนัสนันท์ เดชะสุวรรณ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เจ้าของผลงานแนวคิด “ความเหลื่อมล้ำทางสังคม” และผู้ชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปได้แก่ ทีม Cosmic I Civic Center จากผลงาน "Metaverse"

 

นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เปิดเผยว่า ในนามตัวแทนผู้บริหารและสมาชิกองค์กรบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC)  พวกเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับสภาคณบดีคณะสถาปัตย์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดโครงการประกวดการออกแบบภายใต้ธีม Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ "พื้นที่สาธารณะ" แห่งใหม่เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับคนกรุงเทพฯ ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของ MQDC ภายใต้แนวคิด ‘For All Well-Being’ ที่มีความตั้งใจในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนต่อทุกสิ่งบนโลกใบนี้ 
 

นายวิสิษฐ์ กล่าวต่อว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รางวัลทั้ง 2 ประเภท โครงการประกวดครั้งนี้ คือการออกแบบ "พื้นที่สาธารณะ" และพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตแห่งใหม่ เราจึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมในการออกแบบและพัฒนาโครงการมากเท่าที่ควร ดังนั้นโครงการครั้งนี้จึงสามารถตอบสนองความต้องการของประชากรเมืองได้ในหลากหลายองค์ประกอบ 

ล่าสุด โครงการประกวด "Uniquely Thai" Envisioning the 21st Century Bangkok's Civic Center Architectural Design Competition 2021 ได้ประกาศ 2 ผลงานชนะเลิศ ทั้งประเภทนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ชูแนวคิดหลัก "ความเหลื่อมล้ำ" และ "Metaverse" เพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองแห่งอนาคต

นางสาวมนัสนันท์ เดชะสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เจ้าของผลงานชนะเลิศประเภทนิสิตนักศึกษา ภายใต้แนวคิด  "แนวคิดหลักของผลงาน Civic Center มาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความแตกต่างทางฐานะของคนในประเทศที่มากเกินไป การขาดโอกาสทางด้านการศึกษาของเด็กยากไร้ ความยากจน และสุขภาวะที่ไม่ดีของคนในประเทศ รวมไปถึงปัญหาของกรุงเทพฯ ในเรื่องของระบบขนส่งมวลชนที่ไม่ดี การจัดผังเมืองที่ไม่เป็นระบบ ดังนั้นอาคารแห่งนี้มีจุดประสงค์ที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม 2) ด้านความคิดและความรู้ 3) ด้านสุขภาวะ 4) ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ 5) ด้านปฏิสัมพันธ์ โดยสะท้อนจุดเด่นของงานออกแบบเพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิต เชื่อมต่อทางเดินเท้าเพื่อสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไปที่ผู้ประกอบการรายย่อย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน ผ่าน  4 เส้นทางในโครงการ Cultural loop เส้นทางพัฒนาต่อยอดและสืบสานวัฒนธรรมไทย สามารถปรับเปลี่ยนรองรับกับกิจกรรมใหม่ ๆ ในอนาคตได้ Commercial loop เส้นทางพัฒนาทางด้านอาชีพ สร้างเสริมธุรกิจ art and craft สำหรับคนในชุมชนเพื่อต่อยอดสร้างเสริมอาชีพพัฒนาระบบเศรษฐกิจ Education loop เส้นทางการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างโอกาสทางงด้านความคิดและความรู้ที่ทันยุคสมัย Recreation loop เส้นทางการพักผ่อนของคนเมือง เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี โดยบอกเล่าเรื่องราวผ่านอาคารสีขาวเพื่อเป็นพื้นที่รอการเติมเต็มองค์ประกอบทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่พัฒนาไปตามยุคสมัยและคงความเป็นไทยที่ถูกสื่อสารผ่าน แสง ลม และพื้นที่

เปิดภาพ "พื้นที่สาธารณะ"แห่งอนาคตปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ เปิดภาพ "พื้นที่สาธารณะ"แห่งอนาคตปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ

นายสิปปวิชญ์ รู้อยู่ ตัวแทนจากทีม Cosmic I Civic Center รางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไป กล่าวว่า "สิ่งแรกเราให้ความสำคัญกับบทบาทของ Civic Center ในประเทศไทยคือการที่ผู้คนในสังคมสามารถมารวมตัวและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ เราคิดว่าถ้าสามารถออกแบบผลงานให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพาเมืองไปสู่โลกที่กว้างขึ้น เราพยายามมองพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ศูนย์รวมของเมืองที่จะพัฒนาคนต่อไปในอนาคต โดยแนวคิดในการสร้างเมืองของเราคือ "กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้าง" เรานำแนวคิดนี้มาปรับใช้และต่อยอดที่ว่ามนุษย์เราเองก็สามารถที่จะอวตารไปสู่สวรรค์ในจินตนาการที่เรียกว่า Metaverse ได้

เปิดภาพ "พื้นที่สาธารณะ"แห่งอนาคตปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ

ตัวอาคารได้ไอเดียมาจากสวรรค์ที่ลอยอยู่เหนือเขาพระสุเมรุ และในส่วนภูมิประเทศได้ไอเดียมาจากเขามอ ซึ่งเป็นสวนภูมิทัศน์จำลองของไทย ที่มีการเล่นกับลักษณะทางกายภาพและน้ำที่เปรียบเสมือนมหานทีสีทันดร จึงได้ขมวดมาเป็นแนวคิดในการวางอาคารให้ลอยอยู่เหนือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่คนไทยเราได้ปรับตัวอยู่กับน้ำตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยการใช้เสาสูงและยังมีพื้นที่ใต้ถุนไว้ใช้งานต่างๆ นอกจากนี้ตัวพื้นที่โครงการยังเป็นพื้นที่สำหรับรับน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับเมืองด้วย ในส่วนของโครงการยังมีฟังก์ชัน ที่พร้อมจะส่งเสริมศักยภาพของคนไทยในวิสัยทัศน์ Go Limitless ที่ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่ครอบคลุม ครบครันและอัพเดตอยู่เสมอ เป็น Big Data คลังความรู้ของคนกรุงเทพฯ และยังเป็นพื้นที่ให้ทดลองเปิดประสบการณ์โลก Metaverse ซึ่งสามารถต่อยอดได้หลากหลายไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจที่ก้าวไปสู่ Meta-Commerce ในด้านวัฒนธรรมที่สามารถสร้างความเป็นไทยส่งออกไปสู่สายตาชาวโลกด้วยมุมมองใหม่ ส่งเสริมให้ชาวโลกต่างอยากมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยและยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ความคิดสร้างสรรค์สามารถปลดปล่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด และดึงศักยภาพของคนไทยออกมาได้อย่างเต็มที่ เพราะเราอยากเห็นคนไทยก้าวไกลไปมากกว่าที่เคย และสุดท้าย ผมขอขอบคุณโครงการดีๆ ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้นำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์เมืองของเราให้สามารถพัฒนาไปได้มากขึ้น

เปิดภาพ "พื้นที่สาธารณะ"แห่งอนาคตปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ

logoline