ข่าว

คืนนี้ "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คืนนี้คนชอบนอนดีใจ ได้เข้านอนไวขึ้น เพราะเป็น "วันเหมายัน" หรือวันตะวันอ้อมข้าว วันทีมีกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

หนึ่งปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี คือวันเหมายัน (อ่านว่า เห-มา-ยัน) หรือ Winter Solstice เป็นวันที่มีเวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี เนื่องจากดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด  และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด  โดยคนไทยเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ซึ่งปีนี้ตรงกับวันนี้ 21 ธันวาคม 

คืนนี้ "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

แต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน  เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา  ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา  ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกลงมาทางใต้  เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งเฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุด วันดังกล่าวจึงมีเวลากลางวันที่สั้นที่สุด และเวลากลางคืนที่ยาวที่สุด

โดยดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:36 น. และจะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 17:55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาทีเท่านั้น ส่งผลให้ท้องฟ้าช่วงนี้มืดเร็วกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ของปี นับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้

คืนนี้ "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

ฤดูกาล เกิดจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน  ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน  รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย  เหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง

จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า  เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน  แตกต่างกับฤดูหนาวที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน

คืนนี้ "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

ในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น - ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ วันครีษมายัน วันที่กลางวันยาวนานที่สุด , วันเหมายัน วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด , วันวสันตวิษุวัต และ วันศารทวิษุวัต วันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

คืนนี้ "วันเหมายัน" กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ