ข่าว

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีชูโรงยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ชูโรงยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว" พร้อมแนะงานวิจัยพัฒนาการปลูกข้าวได้จริง ด้วยการใช้บทบาทการวิจัยข้าวเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพมากที่สุด

ตามที่กระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่นาแปลงใหญ่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 มาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการสุ่มเก็บข้อมูลจากเกษตรกรร้อยละ 20ของแต่ละกลุ่มหรือประมาณ10,600คน จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 53,300 คนโดยเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในภาคกลางสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ได้มากที่สุด

 

ที่สำคัญเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ไม่เพียงสามารถลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวเท่านั้นแต่เกษตรกรยังมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในการปลูกข้าว โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวเพื่อจำหน่ายและผู้ผลิต"เมล็ดพันธุ์ข้าว" เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ
ยังเป็นที่ต้องการสูงสำหรับชาวนาของประเทศไทย

 

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าวจึงได้ให้ความสำคัญโดยมีการพัฒนาและยกระดับการผลิต "เมล็ดพันธุ์ข้าว" ด้วยการใช้บทบาทการวิจัยข้าวเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพมากที่สุด

 

นายเฉลิมชาติ ฤาไชยคาม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีมีพื้นที่การดูแลด้านนโยบายและเขตการเพาะปลูกข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว 2จังหวัด คือ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการและงานวิจัยข้าวในพื้นที่เขตภาคกลางทั้งหมด

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีชูโรงยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว"

และยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้วยการค้นคว้า วิจัย เรื่องข้าวแบบสหสาขาวิชาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวและ"เมล็ดพันธุ์ข้าว" การถ่ายทอดเทคโนโลยี
และการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวจากทั่วประเทศบนพื้นที่การทดลองและวิจัยข้าวของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีกว่า 1,000 ไร่

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีชูโรงยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว"

ซึ่งทางศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีจะมีการทดลองและวิจัยข้าวเพื่อให้ได้ข้าว
สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ตรงต่อความต้องการของตลาดสามารถต้านทานโรคและแมลง รสชาติอร่อยและให้ผลผลิตสูง อาทิข้าวพันธุ์ กข 81ซึ่งปัจจุบันได้มีการเชื่อมโยงตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ ประเทศออสเตรีย
โดยจะมีกระบวนการเป็นไปตามมาตรฐานสากลภายในห้องปฏิบัติการ

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีชูโรงยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว"

นายเฉลิมชาติ ฤาไชยคาม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานียังได้มีงานวิจัยทางด้านการจัดการน้ำ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปลูกข้าว เช่น เทคโนโลยีการปลูกข้าวใช้น้ำน้อยแบบเปียกสลับแห้งซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทางนักวิจัยของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีละศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรีได้ดำเนินการวิจัยจนประสบผลสำเร็จ จึงนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาเผยแพร่สู่เกษตรกรให้เกษตรกรได้นำไปปรับใช้และพบว่าสามารถลดอัตราการใช้น้ำได้จริง เป็นการลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

 

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีชูโรงยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ