ข่าว

"โอไมครอน" เข้าเซลล์ปอดไม่เท่าสายพันธุ์อื่น โอกาสติดน้อยแต่ติดได้นะ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดร.อนันต์ เผยงานวิจัย Cambridge และฮ่องกง สอดคล้องกัน โอไมครอน มีกลไกการเข้าเซลล์ปอดไม่ดีเท่า สานพันธุ์อื่น ถึงโอกาสติดน้อย และช้า แต่ยังติดได้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดผลงานวิจัยโปรตีนหนามสไปค์ของโอไมครอน ในการเข้าสู่เซลล์ปอด ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana   โดยมีข้อความว่า งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่ทางทีม Cambridge ออกมาคือ ไวรัสตัวแทนที่ใช้โปรตีนหนามสไปค์ของโอไมครอนเข้าสู่เซลล์ 3 มิติ ปอดมนุษย์ได้ไม่ดี เทียบกับ เดลต้า และ สายพันธุ์ดั้งเดิม เนื่องจากโปรตีนหนามสไปค์ของโอไมครอน มีการตัดตัวเอง (cleave) ไม่เก่งเท่าอีก 2 สายพันธุ์ทำให้กลไกการเข้าเซลล์ปอดไม่ดีเท่า ทีมวิจัยเชื่อว่าอันนี้อาจเป็นกลไกที่อธิบายว่าโอไมครอน อาจติดเข้าเซลล์ปอดไม่ดีเท่าสายพันธุ์อื่น เช่น เดลต้า และ ตัวดั้งเดิม

"โอไมครอน" เข้าเซลล์ปอดไม่เท่าสายพันธุ์อื่น โอกาสติดน้อยแต่ติดได้นะ

เปรียบเทียบกับผลของทีมฮ่องกง เหมือนจะสอดคล้องครับ แต่ผมมีข้อสังเกต และ ข้อกังวลอยู่บางประเด็น คือ ทีม UK ใช้ไวรัสตัวแทน ส่วน HK ใช้ไวรัสตัวจริง ผลของ UK บอกว่า เดลต้านำโด่งอย่างมีนัยสำคัญสูงมาก ขณะที่ HK เห็นความแตกต่างระหว่างดั้งเดิมกับโอไมครอน ขณะที่เดลต้ากับ โอไมครอน ใกล้กันจนหาความต่างทางสถิติไม่ได้ ผลตรงนี้ทำให้คิดว่า ไวรัสตัวจริงของ HK น่าจะมีแต้มที่สูงกว่าเพราะยังไงก็คือไวรัสที่ไม่ได้ปรุงแต่งอะไร ระบบของ UK อาจจะไม่เหมือนกลไกจากธรรมชาติ อีกประเด็นคือ เซลล์ที่ใช้ ของ HK นำเซลล์ที่แยกจากปอดคนมาใช้โดยตรง (ex vivo) ส่วน UK ใช้เซลล์ปอดที่สร้างมาจาก stem cell แล้วเปลี่ยนเป็นโครงสร้างคล้ายอวัยวะนอกร่างกาย (organoid) ส่วนตัวผมยังมองว่าระบบของ HK ใกล้ของจริงมากกว่า เพราะเซลล์ที่เอาออกมาจากปอดมี population ของเซลล์ที่หลากหลายกว่าที่สร้างมาจาก stem cell ที่ไม่เหมือนธรรมชาติ 100%

"โอไมครอน" เข้าเซลล์ปอดไม่เท่าสายพันธุ์อื่น โอกาสติดน้อยแต่ติดได้นะ

หลายๆคนที่เห็นข้อมูลจาก UK ตอนนี้สบายใจว่าโอไมครอนคงติดปอดได้น้อยมาก แต่ ผมกลับมองว่าติดน้อยลงแต่ยังติดได้อยู่ครับ ผลจาก HK บอกว่าโอไมครอนอาจติดปอดช้ากว่าสายพันธุ์อื่น 24 ชั่วโมง เพราะปริมาณไวรัสโอไมครอนที่ 48 ชั่วโมง ก็เพิ่มสูงกว่าเดลต้าและดั้งเดิมที่ 24 ชั่วโมงเหมือนกัน สรุปคือ ติดช้าแต่ก็ยังติดได้นะครับ ข้อพึงระวังคือ ผลที่มีทั้งหมดตอนนี้คือในจานเพาะเชื้อนะครับ ข้อมูล in vivo ในสัตว์ทดลอง ยังไม่มีออกมา...อาจจะสรุปเกินจริงกันได้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ