ข่าว

"มโนราห์" ความภูมิใจมรดกภูมิปัญาไทย สู่มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก โนรา หรือ มโนราห์ ศาสตร์ศิลป์ถิ่นแดนใต้ ศิลปะการแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก Unesco เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 3 ต่อจากนวดไทย  และโขน

เทริด ทับทรวง หางหงส์ ปีกเหน่ง เครื่องรูปปัด เหล่านี้คือส่วนหนึ่งในเครื่องกาย ที่เป็นอัตลักษณ์ชัดเจน ของศิลปะการร่ายรำทางภาคใต้ ที่เรียกขานกัน ในนาม "โนรา" หรือ "มโนราห์" ไม่เพียงแค่เครื่องแต่งกายที่มีเอกลักษณ์เท่านั้น บทร้อง ท่ารำของ ศิลปะแขนงนี้ อย่างแตกต่าง กับแขนงอื่นด้วยอัตลักษณ์ที่ชัดเจน

"มโนราห์" ความภูมิใจมรดกภูมิปัญาไทย สู่มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ขอบคุณภาพ วิกิพีเดีย
 

มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดง ที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น ของภาคใต้ โดยมีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ที่มีท่ารำที่อ่อนช้อย  สวยงาม  บทร้องเป็นกลอนสด  ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย

โนรา หรือ มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนในการร่ายรำและขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ฉพาะถิ่น มีดนตรีเป็นลูกคู่ เล่นรับ-ส่งตลอดการแสดง

โดยผู้รำโนราจะสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัดหลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวที่ทำด้วยโลหะ การแสดงโนราเป็นที่นิยม และถือปฏิบัติแพร่หลายในชุมชนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา และยังได้รับความนิยมไปตลอดสองฟากฝั่งของคาบสมุทรอินโดจีน ทางตอนเหนือมีคณะโนราแสดงขึ้นไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางตอนใต้มีคณะโนราสองภาษา ที่ยังคงแสดงอยู่ในเขตสามจังหวัดภาคใต้และมีการแสดงของชุมชนไทย ในรัฐตอนเหนือของสหพันธรัฐมาเลเซีย ได้แก่ กลันตัน เกดาห์ ปะลิส และปีนัง

"มโนราห์" ความภูมิใจมรดกภูมิปัญาไทย สู่มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ขอบคุณภาพจาก  : TAT : Nakhon Si Thammarat + Phattalung

 

องค์ประกอบของมโนราห์ประกอบด้วย การรำ การร้อง การทำบท และการรำเฉพาะอย่าง สำหรับท่ารำของ มโนราห์ หลักๆ เมื่อแกะออกมาแล้วโดยรวมจะมีอยู่ด้วยกัน 83 ท่ารำ โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตน โดยการรำผสมท่าต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ มีความคล่องแคล่วชำนาญที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากับจังหวะดนตรี และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี บางคนอาจอวดความสามารถ ในเชิงรำเฉพาะด้าน เช่น การเล่นแขน การทำให้ตัวอ่อน การรำท่าพลิกแพลง เป็นต้น

"มโนราห์" ความภูมิใจมรดกภูมิปัญาไทย สู่มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

ขอบคุณภาพจาก  : TAT : Nakhon Si Thammarat + Phattalung

 

การร้องโนรา โนราแต่ละตัวจะต้องอวดลีลาการร้องขับบทกลอนในลักษณะต่างๆ เช่น เสียงไพเราะดังชัดเจน จังหวะการร้องขับถูกต้องเร้าใจ มีปฏิภาณในการคิดกลอนรวดเร็ว ได้เนื้อหาดี สัมผัสดี มีความสามารถในการร้องโต้ตอบ แก้คำอย่างฉับพลันและคมคาย เป็นต้น

สำหรับเครื่องดนตรี ประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย

มโนราห์ คือ ศิลปะพื้นเมืองภาคใต้ โดยคำเรียก มโนห์รา เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการนำเอาเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี ส่วนประวัติความเป็นมาของกำเนิดของโนรานั้น นักโบราณคดีไทย ได้คาดการณ์กันว่า การร่ายรำประเภทนี้ ได้รับอิทธิพลมาศิลปะการแสดงประเทศอินเดียโบราณ เกิดขึ้นก่อนสมัยศรีวิชัย เสียอีก โดยมาจากพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางมาค้าขายกับประเทศไทย โดยวิเคราะห์จากเครื่องดนตรี เรียกว่า เบญจสังคีต อันประกอบด้วย โหม่ง , ฉิ่ง , ทับ , กลอง ,ปี่ และใน รวมทั้งท่าร่ายรำอันมีความละม้ายคล้ายคลึงกับ ท่าร่ายรำของ อินเดีย เชื่อกันว่ามโนราห์ เกิดขึ้นครั้งแรก ณ หัวเมืองพัทลุง ก่อนที่จะเริ่มคืบคลายแผ่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จวบไปจนถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรีในที่สุด

"มโนราห์" ความภูมิใจมรดกภูมิปัญาไทย สู่มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ขอบคุณภาพจาก : เพจ โนรา


เครื่องแต่งกายของโนรานั้นประกอบไปด้วยทั้งหมด 14 ชิ้น ในการทำขึ้นมาแต่ละอย่างต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นศิลปะการทำชุดที่สืบทอดมาจากอดีต เพื่อให้คงความงามและประณีตเหมือนอย่างที่ควรจะเป็น ถึงแม้ว่าจะหาซื้อชุดมโนราห์ได้จากร้านค่าทั่วไป แต่มันก็ไม่ได้มีความเหมือนกันเลย ทำให้บรรดาลูกหลานที่ต้องการจะอนุรักษ์ศิลปะที่งดงามเหล่านี้ให้สืบทอดต่อไปอีกยาวนาน จึงร่วมมือกันสานต่อความรู้ในการทำชุดร้อยลูกปัดของมโนราห์ ถือเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน แถมยังได้สืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามสืบต่อไป
"มโนราห์" ความภูมิใจมรดกภูมิปัญาไทย สู่มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ขอบคุณภาพจาก : BIGGY PHOTO

องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศรับรอง ขึ้นทะเบียน โนรา : Nora, Dance Drama in Southern Thailand เป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือ มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ คือ เป็นการแสดงที่มีการปฏิบัติสืบทอดอยู่ทั่วประเทศ โดยการประกาศครั้งนี้เป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

 

 

 

 

ที่มา : วิกิพีเดีย , TAT : Nakhon Si Thammarat + Phattalung

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ