ข่าว

ปชป. เตรียมยื่นแก้ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ปรับแก้ คกก.พิจารณาลดโทษ "คดีทุจริต"

ปชป. เตรียมยื่นแก้ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ปรับแก้ คกก.พิจารณาลดโทษ "คดีทุจริต"

16 ธ.ค. 2564

โฆษก ปชป. ราเมศ รัตนะเชวง เผย พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมยื่นแก้ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ปรับแก้ คกก.พิจารณาลดโทษ "คดีทุจริต" ดึงศาลเข้ามามีส่วนร่วม

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ที่ประชุม ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์มีมติเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. ต่อสภาผู้แทนราษฎร หลังมีกระแสวิพากวิจารณ์เกี่ยวกับการลดวันต้องโทษผู้ต้องหาใน"คดีทุจริต"

 

ประเด็นสำคัญที่จะมีการแก้ไข เช่น กำหนดรูปแบบคณะกรรมการราชทัณฑ์ เพื่อให้มีความอิสระ โปร่งใส มีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง รวมถึงหลักเกณฑ์การลดวันต้องโทษโดยเฉพาะคดีทุจริต ที่จะต้องกำหนดความสำคัญให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นและให้มีคณะกรรมการพิจารณาลดโทษวันต้องโทษคุก"คดีทุจริต" ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องมีคณะกรรมการสรรหาเหมือนองค์กรอิสระ ซึ่งขณะนี้ได้มีการยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนของการลงชื่อของ ส.ส. ซึ่งคาดว่าจะสามารถยื่นต่อสภาได้ในสัปดาห์หน้า

ส่วนการพิจารณาลดโทษคดีที่มีคำพิพากษาจำคุก 15 ปีขึ้นไป เมื่อผ่านการพิจารณาในกระบวนการขั้นต้น จะต้องส่งให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นถึงที่สุดเพื่อพิจารณาลดโทษอีกครั้ง โดยการจะได้รับพิจารณาลดโทษจะต้องให้มีระยะเวลารับโทษมาแล้วครึ่งหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะทำงานกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ได้รวบรวมข้อมูลมาระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ปรากฎข่าวการลดโทษคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมาก 

 

ผมและหมอวรงค์ได้ทำคดีจำนำข้าว ใช้เวลาตรวจสอบและดำเนินคดียาวนาน และยากมาก แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาจำคุก ปรากฎว่าขณะนี้ผู้ต้องหาเหลือโทษจำคุกที่คาดการณ์ไว้ไม่ถึง 10 ปี นี่จึงเป็นกระบวนการที่ต้องมีการผลักดันให้มีการแก้ไข เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราอยากให้อำนาจตุลาการเข้ามามีส่วนในการพิจารณาลดวันต้องโทษให้กับจำเลย เพราะการให้ศาลเข้ามามีส่วนร่วมถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุด นายราเมศ กล่าว 

 

เมื่อถามว่าเป็นการลดอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลงหรือไม่ นายราเมศ กล่าวว่า รัฐมนตรีนั้นมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกระทรวงยุติธรรมอยู่แล้ว แต่กระบวนการที่เกิดขึ้นจากการลดโทษต้องเกิดจากความโปร่งใส จากคณะกรรมหารที่มีอิสระ และศาลที่เป็นผู้ตัดสินดังนั้นศาลจึงควรที่จะต้องเข้ามามีส่วนในการกำหนดลดโทษ

 

ส่วนการพิจารณาลดโทษคดีที่มีคำพิพากษาจำคุก 15 ปีขึ้นไป เมื่อผ่านการพิจารณาในกระบวนการขั้นต้น จะต้องส่งให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นถึงที่สุดเพื่อพิจารณาลดโทษอีกครั้ง โดยการจะได้รับพิจารณาลดโทษจะต้องให้มีระยะเวลารับโทษมาแล้วครึ่งหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะทำงานกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ได้รวบรวมข้อมูลมาระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ปรากฎข่าวการลดโทษคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมาก 

“ผมและหมอวรงค์ได้ทำคดีจำนำข้าว ใช้เวลาตรวจสอบและดำเนินคดียาวนาน และยากมาก แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาจำคุก ปรากฎว่าขณะนี้ผู้ต้องหาเหลือโทษจำคุกที่คาดการณ์ไว้ไม่ถึง 10 ปี นี่จึงเป็นกระบวนการที่ต้องมีการผลักดันให้มีการแก้ไข เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราอยากให้อำนาจตุลาการเข้ามามีส่วนในการพิจารณาลดวันต้องโทษให้กับจำเลย เพราะการให้ศาลเข้ามามีส่วนร่วมถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุด” นายราเมศ กล่าว 

เมื่อถามว่าเป็นการลดอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลงหรือไม่ นายราเมศ กล่าวว่า รัฐมนตรีนั้นมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกระทรวงยุติธรรมอยู่แล้ว แต่กระบวนการที่เกิดขึ้นจากการลดโทษต้องเกิดจากความโปร่งใส จากคณะกรรมหารที่มีอิสระ และศาลที่เป็นผู้ตัดสินดังนั้นศาลจึงควรที่จะต้องเข้ามามีส่วนในการกำหนดลดโทษ