ข่าว

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันสวน"สมศักดิ์" คดีโกงร้ายแรงกว่าคดีอาญาหลายเท่า 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เคลื่อนไหวออกแถลงการณ์ตอกย้ำ ตอบคำถาม สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว. ยุติธรรม ย้ำ คดีคอร์รัปชันร้ายแรง  สร้างความเสียหายมากกว่าคดีอาญาอื่น หลายเท่า  จึงไม่ควรเอื้ออาทรลดโทษ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564  องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT  โพสต์เฟซบุ๊กองค์กร หัวข้อ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ตอบคำถาม รมว. ยุติธรรม โดยมีเนื้อหา ดังนี้ 


คดีคอร์รัปชันเป็นคดีร้ายแรงของสังคมไทย เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าสูงมากกว่าคดียักยอก ฉ้อโกง ลักทรัพย์ วิ่งราว ปล้นจี้ชิงทรัพย์ของทั้งประเทศรวมกันหลายเท่า และผู้กระทำความผิดก็เห็นแก่ได้โดยไม่สนใจความเดือดร้อนใดๆ ที่พวกตนได้ก่อขึ้น 


คอร์รัปชันเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่ทำกันโดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน คนโกงอีกจำนวนมากยังไม่ถูกจับกุมดำเนินคดี ดังนั้นเมื่อเราแก้กฎหมายให้คดีคอร์รัปชันมีโทษหนักขึ้น อายุความไม่หมดลงง่ายๆ การลงโทษคนโกงชาติจึงไม่ควรเอื้ออาทรลดโทษกระหน่ำเหมือนคดีอาญาอื่น 

 

อธิบายเพิ่มเติมอีกได้ว่าคดีคอร์รัปชันเป็นคดีร้ายแรง กล่าวคือ


1. เป็นการกระทำผิดต่อแผ่นดิน ปล้นทรัพย์สมบัติของชาติ บ่อนทำลายระบบราชการ ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อภาครัฐตกต่ำลง นี่คือเหตุผลที่ต่างจากความผิดอาญาที่กระทำต่อตัวบุคคล คดีลักขโมยหรือคดีชุมนุมทางการเมือง


2. คอร์รัปชันบางลักษณะได้บ่อนทำลายทั้งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารประเทศ จึงถูกบัญญัติความผิดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การจัดทำงบประมาณแผ่นดินที่เอื้อประโยชน์ต่อตนและพวกพ้อง ตัวอย่างคือกรณีสนามฟุตซอล 


3. คอร์รัปชันที่กระทำโดยเครือข่ายนักการเมือง ข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ข้าราชการระดับสูง ที่ผ่านประสบการณ์มามาก มีอำนาจบารมี ย่อมสร้างความเสียหายรุนแรงต่อเนื่องเป็นวงกว้าง 


4.  "จำนวนปี" ที่ศาลพิพากษาให้จำคุก ย่อมสะท้อนพฤติกรรมและความเสียหายที่คนโกงได้ก่อกรรมไว้ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต่างจากพวกโกงเล็กโกงน้อย 

 

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันสวน"สมศักดิ์" คดีโกงร้ายแรงกว่าคดีอาญาหลายเท่า 

 

สิ่งที่สังคมยังต้องการเห็นเพื่อความมั่นใจคือ ท่านนายกรัฐมนตรีและท่าน รมว. ยุติธรรม มีจุดยืนในเรื่องนี้อย่างไร รัฐสภาจะมีแนวทางแก้ไข พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ฯ หรือไม่ และจะมีหน่วยงานไหนตรวจสอบคอร์รัปชันในกรมราชทัณฑ์เพื่อพิสูจน์ข้อกังขาของสังคมได้หรือไม่  
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ