ข่าว

ครูเหน่ง เตรียมมอบ "อาหารกลางวัน" เป็นของขวัญวันเด็กปี65

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

30 ปี รัฐบาลเพิ่มงบ "อาหารกลางวัน" เฉลี่ยตกปีละ 50 สตางค์ เฉพาะยุค "ลุงตู่" นักเรียนได้เพิ่มมาอีก 1 บาท ตกหัวละ 21 บาท เริ่มใช้ปีหน้า "ครูเหน่ง" ให้คำมั่นอมเงินเด็กต้องหมดไป เด็กไทยต้องอิ่มท้อง เตรียมดึงภาคเอกชน ร่วมคิดเมนูอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

"อาหารกลางวัน" เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2534 จัดให้เฉพาะนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และ นักเรียนที่ขาดแคลนอาหารกลางวัน และจัดให้เฉพาะนักเรียนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษาเท่านั้น ไม่ได้จัดให้นักเรียนทุกคน

 

นับจาก ปี 2534 งบประมาณรายหัวอุดหนุนค่า "อาหารกลางวัน" นักเรียนเริ่มต้นที่ 5 บาท ต่อวันต่อคน  และทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามนโยบายของรัฐบาลแต่ละยุคและเพิ่มเป็นหัวละ 20 บาท ต่อเนื่องมาหลายปีจนถึง ปี2564

 

ตลอดระยะเวลากว่า 7 ปี ภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา "อาหารกลางวัน" อยู่ที่ 20 บาท ต่อคนต่อวัน

 

จวบจนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเพิ่มงบประมาณ "อาหารกลางวัน" ให้เด็กไทยอีก "1 บาท"  หรือตกหัวละ 21 บาทต่อคนต่อวัน เพื่อจัดสรรให้นักเรียนในปีงบประมาณ 2565

 

"อาหารกลางวัน" เดินทางมาถึงปี 2564 อายุครบ 30 ปีได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มมาจากเมื่อแรกจัดสรรร 16 บาท คิดเฉลี่ยรัฐบาลไทย เพิ่มงบประมาณค่าอาหารกลางวันนักเรียนให้ 50 สตางค์ ต่อคนต่อวัน ในระยะเวลา 30 ปี

"อาหารกลางวัน" เมื่อเทียบกับงบประมาณ ที่รัฐจัดให้สำหรับสวัสดิการของรัฐอื่น เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ค่าตอบแทน อสม. หรือโครงการสวัสดิการอื่นๆ ที่รัฐจัดให้สำหรับประชาชน หรือ วัตถุประสงค์อื่นๆ เรียกได้ว่างบประมาณ "อาหารกลางวัน" สำหรับนักเรียนถือว่าน้อยมาก

 

"อาหารกลางวัน" เพื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และนักเรียนที่ขาดแคลนอาหารมื้อเที่ยง ตกหัวละ 21 บาทต่อคนต่อวันนั้น ครอบคลุมนักเรียน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อนุบาล1-ป.6) ที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียน 49,861 แห่ง รวมทั้งสิ้น 5,894,420 คน ใช้เงินงบประมาณทั้แผ่นดิงสิ้น จำนวน 25,436,304,000 ล้านบาท

 

โครงกาารอาหารกลางวัน จะแบ่งเงินอุดหนุนให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 23,561,921,200 ล้านบาท และจัดสรรให้สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) สำหรับนักเรียนเอกชนอีก จำนวน1,874,382,800 บาท

ย้อนอดีต "อาหารกลางวัน" 20 บาทต่อนักเรียนหนึ่งคนต่อวัน เกิดการทุจริตคอรัปชั่นงบประมาณค่าอาหารกลางวัน ความจริงปรากฏเมื่อพบว่าอาหารกลางวันของนักเรียนมีเพียงขนมจีนคลุกน้ำปลา หรือบางโรงเรียน ต้มจืดฟักมีแต่ฟักกับวิญญาณไก่  สรุปว่าอาหารกลางวันนักเรียนไม่ถูกหลักโภชนาการ  

 

กระแสอมเงินเด็ก ทุจริตอาหารกลางวัน กระจายไปหลายโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)เกิดการไล่ล่าหาคนผิดมาลงโทษ บางโรงเรียนผู้เกี่ยวข้องทุจริตอาหารกลางวันถูกไล่ออก และนำไปสู่การคิดสูตรอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กอนุบาลและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 

 

รวมไปถึงความน่าจะเป็นของ "อาหารกลางวัน" ที่เหมาะสมควรจะเป็นเงินกี่บาท ในที่สุดได้ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าอาหารกลางวันควรจะอยู่ในอัตราตั้งแต่ 24-36 บาท/คน/วัน แต่ในความเป็นจริงได้เพียง 21 บาทต่อคนต่อวัน

 

เม็ดเงิน "อาหารกลางวัน" จำนวน  25,436,304,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อจัดสรรให้นักเรียนกว่า 5.8 ล้านคนนั้น ว่ากันว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดจะให้ “ภาคเอกชน” เข้ามาดูแลเมนูอาหารกลางวัน ในกลุ่มโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ด้วย

 

ว่ากันว่า ภาคเอกชนที่จะมาดูแล “อาหารกลางวัน” จะทำหน้าที่คิดเมนูอาหารที่ถูกหลักโภชนาการให้แก่นักเรียน หลังพบว่ามีการดำเนินโครงการอาหารกลางวันในกลุ่มนักเรียนสังกัดโรงเรียนเทศบาล และโรงเรียนเอกชนบางแห่งแล้ว เกิดผลดีต่อสุขภาพของนักเรียน

 

นั่นหมายถึง "อาหารกลางวัน" เพื่อเด็กนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และอยู่ในความรับผิดชอบของ “ครูเหน่ง” นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.)
 

"การขับเคลื่อน เพื่อให้อาหารกลางวันของนักเรียนระดับประถมศึกษามีคุณภาพ ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องกำชับโรงเรียนให้จัดเมนูอาหารกลางวันอย่างหลักโภชนาการ และห้ามมีเรื่องทุจริตเงินอาหารกลางวันเกิดขึ้นอีกต่อไป ดิฉันจะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนดูการบริหารจัดการอาหารกลางวันด้วยตัวเอง" ครูเหน่ง ให้คำมั่น 

 

ว่ากันว่า ครูเหน่ง  ต้องการจะผลักดัน "อาหารกลางวัน" ให้เป็นของขวัญวันเด็กปี2565 แต่ในรายละเอียดนั้นต้องมีการหารือกันต่อไป

      ....กมลทิพย์ ใบเงิน...เรียบเรียง 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ