ข่าว

ปธ.ศาลฎีกาออกข้อบังคับเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีเพื่อความปลอดภัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย

วันนี้( 10 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย การนำเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติมาใช้แทนการลงโทษ หรือการให้ส่งตัวจำเลยไปเข้ารับการบำบัดรักษาในความผิดฐานเสพยาเสพติดหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ พ.ศ. 2564

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 170 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกข้อบังคับว่าด้วยการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย การนำเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติมาใช้แทนการลงโทษ หรือการให้ส่งตัวจำเลยไปเข้ารับการบำบัดรักษาในความผิดฐานเสพยาเสพติดหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพพ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า“ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย การนำเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติมาใช้แทนการลงโทษ หรือการให้ส่งตัวจำเลยไปเข้ารับการบำบัดรักษาในความผิดฐานเสพยาเสพติดหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ พ.ศ. 2564”

 

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 

ข้อ 3 เมื่อกรณีเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด และศาลจะลงโทษจำคุก หากศาลเห็นสมควร ศาลอาจพิจารณาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา หรือนำเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติข้อหนึ่งข้อใด หรือหลายข้อตามมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้แทนการลงโทษ ตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าสองปี

 

ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเหตุที่ให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเปลี่ยนแปลงไป ศาลอาจไต่สวนก่อนที่จะมีคำสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ได้

 

ข้อ 4 หากความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยฝ่าฝืนหรือผิดเงื่อนไข แต่ศาลเห็นว่าจำเลยยังอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขปรับปรุง หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปได้ ศาลอาจว่ากล่าวตักเตือน และกำชับจำเลยให้ปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขโดยเคร่งครัด หรือกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขใหม่เพื่อความเหมาะสม หากจำเลยฝ่าฝืนหรือผิดเงื่อนไขโดยไม่มีเหตุอันสมควร และการให้ปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมของจำเลย ให้ศาลพิจารณาลงโทษจำเลยตามความเหมาะสมต่อไป

ข้อ 5 เมื่อกรณีเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด และศาลเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรลงโทษจำเลย หากจำเลยสำนึกในการกระทำโดยตกลงเข้ารับการบำบัดรักษา เมื่อศาลสอบถามพนักงานอัยการแล้ว หากศาลเห็นสมควร ศาลอาจพิจารณาส่งตัวจำเลยไปยังสถานพยาบาลยาเสพติดเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา โดยในชั้นนี้ ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย

 

กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลออกหนังสือส่งตัวจำเลยไปยังสถานพยาบาลยาเสพติดในท้องที่โดยระบุให้สถานพยาบาลยาเสพติดแจ้งความคืบหน้าในการบำบัดรักษาให้ศาลทราบในระยะเวลาอันสมควร และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว เพื่อรอฟังผลการบำบัดรักษา

 

เมื่อศาลได้รับแจ้งการรับรองเป็นหนังสือว่าจำเลยเป็นผู้ผ่านการบำบัดรักษาเป็นที่น่าพอใจจากหัวหน้าสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ศาลนัดพร้อมคู่ความเพื่อมีคำสั่งยุติคดี โดยให้จำเลยพ้นจากความผิดและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางด้วย

 

หากศาลได้รับแจ้งผลการบำบัดรักษาจำเลยจากสถานพยาบาลยาเสพติดว่าการบพบัดรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจหรือจำเลยไม่ให้ความร่วมมือ ให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาต่อไปโดยเร็ว

 

ข้อ 6 ในการพิจารณาพิพากษาตามข้อบังคับนี้สำหรับผู้กระทำความผิดแต่ละคน ให้ศาลคำนึงถึงหลักการตามมาตรา 165 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีดังต่อไปนี้

(1) การสงเคราะห์ให้จพเลยเลิกเสพยาเสพติดยิ่งกว่าการลงโทษ

 

(2) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยว่ามีผลร้ายแรงต่อสังคมเพียงใด และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยจากการสอบถามจำเลย บุคคลในครอบครัว บุคคลที่จำเลยพักอาศัยอยู่ด้วย ผู้เกี่ยวข้องอื่นในคดี รายงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การสืบเสาะและพินิจจำเลย สำนวนการสอบสวน หรือการไต่สวนประการอื่นใด ว่าจำเลยมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้หรือไม่เพียงใด

 

(3) ชนิดและฤทธิ์ของยาเสพติดที่เสพหรือครอบครองเพื่อเสพ ที่อาจส่งผลต่อสภาพร่างกายและสภาพจิตใจที่แตกต่างกัน และวิธีการเยียวยาแก้ไขที่ต่างกัน จ านวนที่เสพหรือครอบครองเพื่อเสพการเสพเป็นครั้งคราวหรือประจพ หรือเสพเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานบางอย่าง

 

ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัย ศาลพึงไต่สวนถึงมาตรฐานการตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบสารเสพติดในร่างกายของจำเลยโดยเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตพรวจ และอาจสั่งให้มีการตรวจสอบใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

ข้อ 7 ให้สำนักงานศาลยุติธรรมจัดทำและพัฒนาระบบงานธุรการและวิธีปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย การคุมความประพฤติของจำเลย และการส่งตัวจำเลย ให้สถานพยาบาลยาเสพติดเพื่อเข้ารับการบำบัดตามข้อบังคับนี้ การประสานงานกับหน่วยงานอื่นรวมถึงการจัดทำและรายงานสถิติคดีที่เกี่ยวข้อง

 

ในกรณีจำเป็นต้องมีวิธีการใดในทางธุรการเพื่อให้การปฏิบัติตามข้อบังคับนี้เป็นไปโดยเรียบร้อย ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้กำหนดวิธีการนั้น

 

ข้อ 8 ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ปิยกุล บุญเพิ่ม
ประธานศาลฎีกา  

 

ปธ.ศาลฎีกาออกข้อบังคับเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีเพื่อความปลอดภัย

ปธ.ศาลฎีกาออกข้อบังคับเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีเพื่อความปลอดภัย

ปธ.ศาลฎีกาออกข้อบังคับเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้วิธีเพื่อความปลอดภัย

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ