ข่าว

เช็คที่นี่ ไทม์ไลน์ “แก้หนี้ครู” มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สพฐ.วิถีใหม่เอื้ออาทร ในการ “แก้หนี้ครู” คลอด 4 มาตรการหลัก รองรับครู 3 กลุ่ม "ปลอดหนี้สิน-ที่มีหนี้สิน-ข้าราชการบำนาญ" เริ่มอายุราชการ 1-5 ปีจนถึงครูเกษียณ เช็คที่นี่ มีรายละเอียด

"แก้หนี้ครู" เริ่มมีความชัดเจนถึงแนวหน้าช่วยแก้หนี้ครูทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่เข้ารับราชการครูจนถึงครูเกษียณ รวมถึงข้าราชการบำนาญ มีความคืบหน้าในเรื่องนี้แล้ว

 

โดยล่าสุด ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ออกหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 04005/1452 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั่วประเทศ

 

เนื้อหาสาระหนังสือดังกล่าง มีการอ้างถึงตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกมิติอย่างยั่งยืน นั้น

 

ในการนี้ สพฐ.ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แจ้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดรับทราบ ตามรายละเอียดดังนี้ร่าง การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นั้น สพฐ.ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

โดยมีหลักการสำคัญคือ คลายทุกข์ เสริมสุข อย่างยั่งยืน และมีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งหน่วยงาน

 

ภายในและภายนอก รวมทั้งบุคลากรของสพฐ.ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มั่นคงยั่งยืน สามารถดำรงตนได้อย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

จึงได้กำหนดการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

 

1. มาตรการสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้กู้เงิน

 

1.1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มที่ปลอดหนี้สิน กลุ่มที่มีหนี้สิน และกลุ่มข้าราชการบำนาญ หากประสงค์ยื่นกู้สินเชื่อตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2565 เป็นต้นไป กำหนดมาตรการ ดังนี้

1 ขอเอกสารตรวจสอบสิทธิ์รับรองการกู้เงิน ณ หน่วยเบิกต้นสังกัด

 

2 การกู้เงินให้ใช้อัตราเงินเดือน หรือเงินบำนาญเป็นฐานแล้วแต่กรณีในการยื่นกู้สินเชื่อเท่านั้น (ไม่รวมค่าตอบแทนและวิทยฐานะในการคำนวณสินเชื่อ)

3. หากจัดทำเอกสารเป็นผู้มีสิทธิ์กู้เงินเกินกว่าอัตราเงินเดือน หรือเงินบำนาญเป็นฐาน แล้วแต่กรณี หน่วยเบิกต้นสังกัด ไม่ดำเนินการ หักเงิน ณ ที่จ่ายให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสถาบันการเงิน

 

4.แนวทางการดำเนินการ สพฐ.ขอความร่วมมือสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสถาบันการเงินกำหนดเพดานการกู้เงิน โดยใช้อัตราเงินเดือน หรือเงินบำนาญเป็นฐานในการยื่นกู้สินเชื่อ หากไม่ดำเนินการตามมาตรการที่สพฐ.กำหนด หน่วยเบิกต้นสังกัดไม่ดำเนินการ หักเงิน ณ ที่จ่ายให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือสถาบันการเงิน

 

2. การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2.1 พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มอายุราชการ 1-5 ปี เพื่อให้มีความรู้ทางด้านการเงิน การคลัง และการออม ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)

 

2.2 พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มอายุราชการ 6-60 ปี เพื่อให้ความรู้ด้านการเงิน การออม การวางแผนการใช้จ่ายเงิน และการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันทางการเงิน ร่วมกับศธ.

 

3.กำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกเป็นสถานีแก้หนี้ครู

 

3.1 จัดทำฐานข้อมูลหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการบำนาญ และจัดหมวดหมู่ของปัญหาหนี้สินอย่างเป็นระบบ

 

3.2 จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบเงินเดือนคงเหลือสุทธิ ให้เป็นไปตามระเบียบการทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551

 

3.3 ควบคุมการรับรองเงินเดือน การหักเงิน ณ ที่จ่าย การรับรองการให้กู้ การควบคุมยอดหนี้รวมของครูให้ไม่เกินความสามารถชำระหนี้และการให้กู้ในอนาคตในจุดเดียว

 

3.4 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการวางแผนทางการเงิน การลงทุน และการดำเนินชีวิตตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความเหมาะสม

 

3.5 เป็นตัวกลางเจรจา ไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ร่วมกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการบำนาญ รายที่มีปัญหา และสามารถเข้ารับคำปรึกษาปัญหาทางการเงินของครู

 

4.เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ สพฐ.วิถีใหม่เอื้ออาทรในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

สพฐ.จัดทำจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์สร้างความรู้ ความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านสื่อทุกช่องทางทั้งกระแส หลัก กระแสรอง และโซเชียลมีเดีย

เช็คที่นี่ ไทม์ไลน์ “แก้หนี้ครู” มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65

เช็คที่นี่ ไทม์ไลน์ “แก้หนี้ครู” มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65

 

เช็คที่นี่ ไทม์ไลน์ “แก้หนี้ครู” มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 65

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ