ข่าว

ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แม้วันนี้จะไม่มี "สนามม้านางเลิ้ง" อีกต่อไปแล้ว แต่ชื่อของสนามม้าแห่งนี้ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยจำนวนมาก ด้วยมีประวัติยาวนานถึง 102 ปี วันนี้ "คมชัดลึก" ขอพาทุกท่านย้อนเวลากลับไปดูที่มาของหน้าประวัติศาสตร์นี้

สนามม้านางเลิ้ง ถูกเรียกชื่อให้จดจำง่าย ตามการเรียกย่านที่ตั้ง คือ ย่านนางเลิ้ง ซึ่งแต่เดิมในอดีตผู้คนเรียกย่านนี้ว่า “บ้านสนามควาย” ก่อนจะเปลี่ยนมาเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อภาชนะใส่น้ำของชาวมอญ ที่นิยมขนใส่เรือ ล่องไปจอดจอดขายบริเวณนั้น

ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ

โดยรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งชาวบ้านยุคนั้นนิยมเรียกว่า"คลองขุด"ขึ้น เพื่อขยายอาณาเขตของราชธานี ส่งผลให้ความเจริญรุ่งเรืองเริ่มขยายตัวเข้าสู่ย่านนางเลิ้ง ชาวบ้านพากันมาสร้างบ้านเรือน และทำการเกษตร มีเรือกสวนไร่นาตลอดบริเวณสองฝั่งคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ รวมทั้งเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ก็นิยมสร้างวังและสร้างบ้านเรือนอยู่ตามแนวคลองผดุงกรุงเกษม รวมถึงบริเวณนางเลิ้งมากขึ้น

และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ บริเวณ 2 ฝั่งถนนนครสวรรค์จนเกิดเป็นแหล่งชุมชน และเกิดเป็น "ตลาดนางเลิ้ง" ที่ถือเป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย

โดยยุค "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" ขึ้นเป็นผู้บริหารประเทศ “บ้านสนามควาย” หรือ “บ้านอีเลิ้ง” ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เรียกว่า “นางเลิ้ง” เพื่อให้ฟังดูสุภาพมากขึ้น

ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ

สำหรับจุดกำเนิดสนามม้านางเลิ้ง ต้องย้อนกลับไปถึงวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2440 (ร.ศ.116) ทางฝ่ายราชการได้จัดพระราชพิธีรับเสด็จฯ และกลุ่มผู้ที่เคยเดินทางไปยุโรปส่วนหนึ่งได้จัดแข่งม้าถวาย โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้สนามทุ่งพระเมรุ หรือ สนามหลวง เป็นสนามแข่งม้าชั่วคราว ถือเป็นการนำกีฬาแข่งม้าเข้าสู่ประเทศไทยในยุคแรกๆ

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระยาประดิพัทธภูบาลได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินของกรมอัศวราช เพื่อขอพระบรมราชานุญาตตั้งสโมสรสนามม้า หรือ “สนามไทย” แข่งเพื่อให้บริการแข่งม้าสำหรับคนไทย และนำรายได้ไปใช้บำรุงพันธุ์ม้าจากประเทศออสเตรเลียและอังกฤษ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงโปรดปรานการแข่งม้าเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อให้ว่า “ราชตฤณมัยสมาคม” และยังเสด็จพระราชดำเนิน เปิดสนามม้านางเลิ้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2459

ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ
ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ

และนอกจากสนามม้าแล้ว ยังมี "โรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมธานี" ที่ถูกสร้างขึ้นในบริเวณนี้เช่นกัน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า "โรงหนังนางเลิ้ง" โรงภาพยนตร์แห่งนี้สร้างความคึกคักให้กับชาวนางเลิ้งและผู้ที่เดินทางไปชมมาโดยตลอด กระทั่งปิดตัวลงไปเมื่อ พ.ศ. 2536

ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ

นอกจากนี้ที่ดินส่วนหนึ่งของกรมอัศวราช ยังถูกกันและสร้างเป็นโรงเรียนขึ้น สืบสานจากปณิธาณของสมเด็จพระเจ้าเจ้าหัวรัชกาลที่ 6 ที่ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 6 ไร่ 3 งาน 34.5 ตารางวา ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกรมอัศวราช สร้างเป็นโรงเรียนขึ้น มีจุดประสงค์ในการรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนราชวินิต (ประถม) รวมทั้งบุตรหลานข้าราชบริพารให้เข้าศึกษา และพระราชทานนามโรงเรียนว่า “ราชวินิต มัธยม” อันหมายถึง สถานที่อบรมกุลบุตร กุลธิดาในระดับมัธยมให้เป็นคนดีแห่งพระบารมีปกเกล้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีเลขลำดับรัชกาล เลข ๙ ไทย เป็นตราประจำโรงเรียน

ย้อนรอย…กำเนิดสนามม้านางเลิ้ง จากสนามม้า…สู่อุทยานของของพ่อ

และแม้จะมีการรื้อถอนราชตฤณมัยสมาคมหรือสนามม้านางเลิ้งออกไป เพื่อสร้างเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติ แต่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ยังพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย คงให้โรงเรียนราชวินิตมัธยมดำเนินกิจการให้ความรู้และการศึกษาต่อไป และถือเป็นโรงเรียนของพ่อ ที่ยังอยู่เคียงกับอุทยานเฉลิมพระเกียรติของพ่อสืบไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ