ข่าว

เครียดหนี้สิน สภาห่วงคน"ฆ่าตัวตาย"พุ่ง จี้สธ.แจงแนวทางแก้ไขก่อนบานปลาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วุฒิสภาห่วงสถานการณ์คน"ฆ่าตัวตาย"พุ่ง ด้านสาธารณสุข ยอมรับสถานการณ์ฆ่าตัวตายเพิ่ม สาเหตุสำคัญปัญหาหนี้สินรุงรัง กระหน่ำซ้ำด้วยโควิด-19 ทำให้หมดสิ้นหาทางออก ต้องจบชีวิตตัวเอง

 

ต้องยอมรับว่า ในระยะเวลาที่ผ่านมา ข่าวคราวการเสียชีวิตของประชาชนคนไทย จากพฤติกรรม"ฆ่าตัวตาย"มีการนำเสนอบ่อยครั้งขึ้น กอปรกับสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก็มีผลให้เกิดการ"ฆ่าตัวตาย" นำไปสู่การตั้งคำถาม สภาพสังคมไทยเกิดอะไรขึ้น   

 

เมื่อไม่นานนี้ นายอำพล  จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาได้ตั้งกระทู้ถาม เรื่องการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายของคนไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อให้ นายอนุทิน  ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ตอบกระทู้ลงในราชกิจจานุเบกษา  

 

นายอำพล  สอบถามว่า จากรายงานดัชนีสุขภาพจิตที่ปรากฏในรายงานสุขภาพคนไทย พ.ศ. 2564 ระบุว่า การฆ่าตัวตาย มีแนวโน้มเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

 

โดยอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 สูงมากขึ้นอย่างชัดเจน คือ 7.8 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ในขณะที่อัตราช่วงปี 2553 - 2562 อยู่ระหว่าง 5.9 - 6.6 คน ต่อประชากร 1 แสนคน

 

ดัชนีสุขภาพจิตดังกล่าว สะท้อนถึงสภาพปัญหาด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีแนวโน้มว่า ปี 2564 อาจจะมีปัญหาที่หนักหน่วงมากยิ่งขึ้น จึงมีการตั้งคำถามไปยังรมว.สาธารณสุขดังนี้ 

 

  • 1. รัฐบาลทราบถึงปัญหานี้หรือไม่ อย่างไร
  •  2. รัฐบาลมีนโยบายและแผนรับมือกับปัญหานี้ ทั้งในด้านการป้องกัน และการแก้ปัญหาอย่างไร 
  • 3. รัฐบาลมีแนวทางที่จะลดอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยลงได้หรือไม่ อย่างไร ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา 

 

ทั้งนี้  นายสาธิต ปิตุเตชะ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นผู้ตอบกระทู้แทน โดยนายสาธิต ชี้แจงว่า   รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และได้ร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนดำเนินการป้องกันแก้ไขร่วมกันมาโดยตลอด ในปี 2563 อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทย อยู่ที่ 7.37 ต่อประชากรแสนคน

 

 

เครียดหนี้สิน สภาห่วงคน"ฆ่าตัวตาย"พุ่ง จี้สธ.แจงแนวทางแก้ไขก่อนบานปลาย

 

ในขณะที่อัตรา การฆ่าตัวตายของต่างประเทศทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 10.5 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งการดำเนินงาน ภายในปี 2564 นี้ ได้ตั้งเป้าหมายว่า อัตราการฆ่าตัวตายต้องไม่เกิน 8 ต่อประชากรแสนคน

 

ทั้งนี้ จากการศึกษาปัญหาการฆ่าตัวตายของผู้พยายามทำร้ายตนเองปี 2562 - 2563 ในจำนวนของ ผู้ที่พยายามทำร้ายตนเองทั้งหมด พบว่า ร้อยละ 27.2 มีสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่ มีหนี้สิน ร้อยละ 9.2 ค้าขายขาดทุน ร้อยละ 6.2 ตกงาน ร้อยละ 6.1 และอื่น ๆ ร้อยละ 5.8

 

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์สาเหตุของการฆ่าตัวตาย สำ เร็จ พบว่า ปัญหาที่ผู้เสียชีวิตเผชิญนั้นไม่ได้เกิดจากปัญหา เศรษฐกิจเพียงปัจจัยเดียว

 

แต่มักจะพบว่ามีปัจจัยอื่นร่วมด้วยเสมอ เช่น ปัญหาโรคประจำตัว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาการดื่มสุรา เป็นต้น

 

จากสถิติในปี 2560 - 2563 อัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทยอยู่ที่ 6.03   6.32  6.64  และ 7.35   ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ

 

หากแยกสาเหตุของปัจจัยทางเศรษฐกิจที่พบ ร่วมกับปัจจัยอื่น และนำไปสู่การฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น มีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 21.2 19.8 26.4 และ 30.0 ตามลำดับ

 

ทั้งนี้ ในปี 2563 มีปัจจัยหลักที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศและ ทั่วโลกหดตัวลง เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในส่วนของ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยหรือสาเหตุร่วมในการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายนี้ รัฐบาลได้ดูแล ช่วยเหลือเยียวยาในส่วนของการค้าขายขาดทุน ตกงาน โดยการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจและกระตุ้นการท่องเที่ยว และมาตรการกำลังใจ รวมทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น

 

นายสาธิต ยังได้ชี้แจงต่อข้อถามที่ว่า  รัฐบาลมีนโยบายและแผนรับมือกับปัญหานี้ ทั้งในด้านการป้องกัน และ การแก้ปัญหาอย่างไรว่า  รัฐบาลมีแผนการรับมือกับปัญหานี้ โดยการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นการท่องเที่ยว และมาตรการกำลังใจ  รวมทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น

 

นอกจากนั้น ในด้านการป้องกัน กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิตขึ้น มีภารกิจหลักต่อการบริหารจัดการ กำกับดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และได้กำหนดมาตรการรับมือปัญหาการฆ่าตัวตาย ได้แก่

 

1. ส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตามกลุ่มวัยครอบครัว และชุมชน ด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจของประชาชน (RQ )

 

2. บูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก เครือข่าย สาธารณสุขทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ

 

3. เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ (1) ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง กายและจิต (2) ผู้ที่มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย

 

และ (3) ผู้ป่วยสุราและยาเสพติด จะได้รับ การค้นหา คัดกรองเพื่อดูแลช่วยเหลือครอบคลุมทุกมิติ และเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องจากทีมหมอครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.)

 

4. มีระบบการดูแลช่วยเหลือ ติดตาม เฝ้าระวัง และส่งต่อในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังผู้พยายาม ทำร้ายตนเองให้ได้รับการฟื้นฟูจิตใจ จนปลอดภัยไม่กลับมาฆ่าตัวตายซ้ำ

 

5. สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตแก่ประชาชน ในประเด็นสุขภาพจิตที่ส าคัญ และเผยแพร่ ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเอื้ออำนวยต่อการใช้งานตามกลุ่มวัย

 

รมช.สาธารณสุข  กล่าว่า กรณีที่ถามว่า รัฐบาลมีแนวทางที่จะลดอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยลงได้หรือไม่ อย่างไร ว่า  ในปี 2563  - 2564 มีมาตรการเชิงรุก ในการลดอัตรา การฆ่าตัวตาย ดังนี้

 

1. จัดตั้งคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายระดับชาติที่ประกอบด้วย หลากหลายกระทรวง ทบวง กรม และภาคีอื่น ๆ ทั้งภาคเอกชนและประชาสังคมเพื่อกำหนด ยุทธศาสตร์และมาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยเน้นกลุ่มเปราะบาง ทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มผู้ตกงาน ให้เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ

 

2. พัฒนาระบบชุมชนออนไลน์ที่เป็นการเปิดพื้นที่ให้สามารถเข้ามาพูดคุย นำไปสู่ การช่วยเหลือจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย Mobile Application SATI (สติ) หรือ Line Khuikun (คุยกัน) ร่วมกับมีการให้บริการด้วยระบบออนไลน์ และระบบ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอดจนมีเพิ่มช่องทางให้คำปรึกษาในบุคลากรสาธารณสุขที่อาจจะมี ภาวะเครียดและเหนื่อยล้าจากการทำงานอย่างหนักและยาวนาน และมีเครื่องมือประเมินสุขภาพจิต ตนเองด้วย Application “MENTAL HEALTH CHECK IN ”  เพื่อที่ประชาชนหรือบุคคลใกล้ชิด จะประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ความเครียด อาการซึมเศร้า และอาการเหนื่อยล้าพร้อมมีแนวทางแก้ไข

 

3. การส่งเสริมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจผ่านการให้วัคซีนใจทั้งรายบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยให้บุคคลมีความเข้มแข็งทางใจ อึด ฮึด สู้ ร่วมกันดูแลกันและกันในครอบครัวและชุมชน

 

4. เพิ่มความเข้มข้นในการคัดกรอง ค้นหา เฝ้าระวังประชากรกลุ่มเสี่ยง และเพิ่มการเข้าถึงบริการ ในผู้พยายามทำร้ายตนเองซึ่งได้มีการชี้เป้าหมายประชากรกลุ่มเสี่ยงเฉพาะพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังเฉพาะ ในแต่ละเขตสุขภาพ เช่น ผู้มีประวัติการทำร้ายตนเอง มีสมาชิกในครอบครัวฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยโรคจิต ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้เสพติดสุราและยาเสพติด เป็นต้น ผ่านระบบการทำงานโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทีมหมอครอบครัว ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT ) ทั่วประเทศทั้ง 12 เขตสุขภาพ และกรุงเทพมหานคร

 

5. เพิ่มผู้ที่จะช่วยเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย (Gate keeper ) ในภาคส่วนอื่นที่ไม่ใช่ ภาคส่วนด้านสาธารณสุข เช่น ฝ่ายบุคคลในสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สำนักงานแรงงานจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือดูแลด้วยมาตรการด้านเศรษฐกิจและสังคม

 

6. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้กำกับติดตามประเมินสถานการณ์และวางแผนแก้ไขปัญหา ได้ตามสภาพบริบทของสังคมไทย ในรูปแบบ GIS ที่สะท้อนถึง ระดับความรุนแรงของปัญหา แต่ละพื้นที่ ผ่านทาง website suicidethai.dmh.go.th โดยที่แต่ละจังหวัดจะมีบุคลากรผู้ผ่านการพัฒนา ให้สามารถทำหน้าที่สอบสวนสาเหตุการฆ่าตัวตายและเยียวยาจิตใจได้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ