ข่าว

"โอไมครอน" หมอเฉลิมชัยยันอีกเสียงระบาดเร็วกว้างขวางแต่ไม่รุนแรง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หมอเฉลิมชัย" โพสต์ "โอไมครอน" Omicron ระบาดเร็วและกว้างขวางเรื่องจริง แต่ยังไม่มีข้อมูลดื้อวัคซีนหรือไม่ ลักษณะการเกาะตัวบนหนามสำคัญที่สุด

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขวุฒิสภา  โพสต์ข้อความผ่าน Blockdit  ร้อยแอดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย  เกี่ยวกับการระบาดของ "โอไมครอน" Omicron โดยระบุว่า 
โอไมครอน สรุปล่าสุด ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 แพร่ระบาดรวดเร็วกว้างขวาง แต่อาการไม่รุนแรงมาก และการดื้อต่อวัคซีนยังไม่ทราบชัดเจน

 

จากสถานการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เมื่อองค์การอนามัยโลกได้ประกาศการค้นพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ และได้จัดให้อยู่ในกลุ่มระดับที่หนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญสูงสุดในระดับที่เรียกว่า กลุ่มน่ากังวล (VOC) เหตุเกิดจากนักวิทยาศาสตร์ที่ถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส
โอไมครอน ได้พบการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสารพันธุกรรมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาคือ มากกว่า 50 ตำแหน่ง และประการสำคัญคือ มีมากถึง 32 ตำแหน่งที่ใช้ควบคุมการสร้างหนาม
( Spike)

 

โดยตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไปของการสร้างหนาม มีมากกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึง 3.5 เท่า ส่วนหนามของไวรัสก่อโรคโควิด เป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะใช้ในการเกาะเซลล์ของมนุษย์ และเข้าสู่เซลล์เพื่อทำให้เกิดโรค

ส่วนหนามของไวรัสก่อโรคโควิด เป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะใช้ในการเกาะเซลล์ของมนุษย์ และเข้าสู่เซลล์เพื่อทำให้เกิดโรค

 

นอกจากนั้น วัคซีนส่วนใหญ่ที่ได้มีการพัฒนา มักจะเน้นการต่อต้านเฉพาะส่วนหนามของไวรัสเท่านั้น เพราะเชื่อว่า เมื่อป้องกันไม่ให้หนามเกาะเซลล์ได้ ก็จะสามารถป้องกันโรคได้ (มีเพียงเทคโนโลยีเดียวที่วัคซีนเน้นการป้องกันทุกส่วนของไวรัสคือ วัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย)

 

ดังนั้นเมื่อไวรัสโอไมครอนมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหนามมากมายดังกล่าวแล้ว จึงทำให้มีการคาดคะเนทางวิชาการว่า ย่อมจะส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย และส่งผลต่อการดื้อวัคซีนได้ด้วย การประเมินไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมา จะใช้หลักเกณฑ์ 4 ประการ เพื่อประเมินว่าการกลายพันธุ์นั้น จะมีความสำคัญกับมนุษย์มากน้อยเพียงใด ได้แก่


1) ความสามารถในการแพร่ระบาดของโรค
2) ความสามารถในการก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง
3) การดื้อต่อวัคซีน
4) การทำให้ประสิทธิผลการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคทำได้ยากขึ้น

 

ประการแรก ความสามารถในการแพร่ระบาด ขณะนี้ต้องถือว่าไวรัสโอไมครอนมีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วและกว้างขวางมาก
เพราะในเวลาเพียง 5 วันหลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 พบว่ามีการแพร่ไปแล้ว 5 ทวีปได้แก่
ทวีปแอฟริกา 10 ประเทศ
ทวีปยุโรป 6 ประเทศ
ทวีปเอเชีย 2 ประเทศ
ทวีปอเมริกาเหนือ 1 ประเทศ
และทวีปออสเตรเลีย 1 ประเทศ

นอกจากนั้นยังพบกรณีผู้โดยสารสายการบินสองไฟลท์ ที่บินจากแอฟริกาใต้เข้าสู่เนเธอร์แลนด์
จำนวนผู้โดยสารประมาณ 600 คน พบมีการติดโควิดถึง 61 คน และในจำนวนนี้ 21% หรือ 13 คนตรวจรหัสพันธุกรรมพบว่าเป็นโอไมครอน

 

ความสามารถในการก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง จากรายงานของประธานแพทยสมาคมของแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยจำนวนมากพบว่า
ผู้ติดเชื้อจากไวรัสโอไมครอน มีอาการรุนแรงในระดับใกล้เคียงกับไวรัสเดิมคือ มีอาการไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก รวมทั้งมีอาการอ่อนเพลียด้วย
แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และมีลักษณะเด่นคือ ไม่มีปัญหาเรื่องการได้กลิ่นกับการรับรส

 

การดื้อต่อวัคซีน ยังไม่มีรายงานชัดเจนว่า ไวรัสโอไมครอนดื้อต่อวัคซีนมากน้อยเพียงใด
เพียงแต่พอจะประเมินได้ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนหนาม ย่อมทำให้วัคซีนซึ่งผลิตขึ้นมาต่อสู้กับส่วนหนามย่อมมีประสิทธิผลลดลง
ส่วนข้อมูลทางอ้อมได้แก่ พบว่าในผู้ที่ติดไวรัสโอไมครอนในแอฟริกาใต้ เป็นผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเพียง 50% ในขณะที่ฉีดวัคซีนแล้วอีก 50%
แตกต่างจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งในผู้ที่ติดเชื้อพบว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมากถึง 80 % มีผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อเพียง 20%
นั่นคือไวรัสโอไมครอน มีลักษณะแนวโน้มที่จะดื้อวัคซีนมากกว่าไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
ส่วนการทดสอบด้วยวิธีมาตรฐาน PCR เป็นการตรวจหาตำแหน่งยีนสามตำแหน่ง โดยที่ถ้าเป็นไวรัสโอไมครอน จะมีตำแหน่งยีนหายไปหนึ่งตำแหน่ง

 

ผลกระทบต่อการตรวจวินิจฉัยโรค เนื่องจากชุดทดสอบแบบเอทีเคเป็นการทดสอบเบื้องต้น จึงมีความแม่นยำไม่มากอยู่แล้ว
ส่วนการทดสอบด้วยวิธีมาตรฐาน PCR เป็นการตรวจหาตำแหน่งยีนสามตำแหน่ง โดยที่ถ้าเป็นไวรัสโอไมครอน จะมีตำแหน่งยีนหายไปหนึ่งตำแหน่ง
การตรวจ PCR ตามปกติ จึงอาจได้รับผลกระทบในการวินิจฉัยคือ มีผลลบลวงได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความรู้ดังกล่าว การตรวจ PCR แล้วพบว่ามียีนหายไปหนึ่งตำแหน่ง ก็จะสงสัยว่าเป็นโอไมครอน สามารถส่งตรวจหาจีโนมต่อไปได้ทันที
ผู้นำของประเทศแอฟริกาใต้ ได้แสดงความเห็นที่น่าสนใจว่า ความไม่เสมอภาคหรือการกระจายวัคซีนที่ไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์เรา
ทำให้การควบคุมการระบาดของโรคหรือการป้องกันไม่ให้ไวรัสกลายพันธุ์เกิดขึ้นใหม่นั้นเป็นไปได้ยาก

เนื่องจากไวรัสจะกลายพันธุ์เสมอ ในเขตพื้นที่หรือประเทศที่มีการติดเชื้อสูง
ดังนั้นเมื่อประเทศพัฒนาแล้วฉีดวัคซีนได้ครบสองหรือสามเข็ม ก็ไม่สามารถจะปลอดภัยจากโรคระบาดได้

 

เพราะเมื่อมีไวรัสกลายพันธุ์เกิดขึ้นในประเทศที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ ไวรัสเหล่านั้นก็จะแพร่ระบาดมาสู่ประเทศที่ฉีดวัคซีนครบแล้วไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ซึ่งก่อให้เกิดโรคโควิด-19 จึงเป็นบทเรียนสำคัญเรื่องการเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างความเสมอภาค อย่างน้อยก็ในมิติของวัคซีน ในมิติของเรื่องโรคระบาด
ว่าจะต้องกระจายการฉีดวัคซีนที่ใกล้เคียงกันในทุกประเทศพร้อมกันในเวลาใกล้เคียงกัน จึงจะสามารถยุติโรคระบาดนี้ได้

 

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การกลายพันธุ์ของไวรัส โดยเฉพาะตำแหน่งที่เป็นหนาม อาจส่งผลต่อมนุษย์ได้ในสองลักษณะคือ

หนามใหม่นั้น ทำให้เกาะติดเซลล์ได้ยากขึ้น เข้าเซลล์ทำให้เกิดโรคได้ยากลำบากขึ้น ผลก็คือการแพร่ระบาดจะน้อยลง และความรุนแรงของโรคก็จะต่ำลง
หนามใหม่นั้น ทำให้เกาะติดเซลล์ได้ง่ายขึ้น เข้าเซลล์ทำให้เกิดโรค ได้มากขึ้น ก็จะทำให้มีการแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว้างขวางขึ้น และมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น
 คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ไวรัส

โอไมครอนจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหนามไปในทิศทางใด
หนามใหม่นั้น ทำให้เกาะติดเซลล์ได้ง่ายขึ้น เข้าเซลล์ทำให้เกิดโรค ได้มากขึ้น ก็จะทำให้มีการแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว้างขวางขึ้น และมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น
 

คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ไวรัส
โอไมครอนจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหนามไปในทิศทางใด
คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ไวรัส
โอไมครอนจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหนามไปในทิศทางใด

 

 

ที่มา: Blockdit ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย 

logoline