ข่าว

พร้อมเป็นผู้นำ "ทศวรรษแห่งมหาสมุทร" วราวุธ โวทั่วโลกสนใจ ขับเคลื่อนตามเป้า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วราวุธ เปิดการประชุมเปิดตัวทศวรรษ แห่งมหาสมุทร เผยผลสำเร็จไทยแสดงศักยภาพบทบาทผู้นำ ย้ำความสำเร็จการจัดงานทั่วโลกให้ความสนใจ มั่นใจประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย

การประชุมเปิดตัวทศวรรษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ทางมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The UN Ocean Decade Kickoff Conference for Western Pacific and Its Adjacent Areas) ที่ประเทศไทย โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รับเป็นเจ้าภาพร่วมกับ IOC-WESTPAC พร้อมด้วยพันธมิตร สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ และสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย จัดประชุมเปิดตัวเป็นภูมิภาคแรกของโลก ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 25 – 26 พฤศจิกายน 2564

พร้อมเป็นผู้นำ "ทศวรรษแห่งมหาสมุทร" วราวุธ โวทั่วโลกสนใจ ขับเคลื่อนตามเป้า
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวย้ำถึงความสำเร็จในการจัดงาน ทั่วโลกให้ความสนใจ มั่นใจประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย พร้อมเป็นผู้นำการดำเนินงานในระดับภูมิภาค และเตรียมขยายผลสร้างความร่วมด้านทรัพยากร
ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ต่อไป

พร้อมเป็นผู้นำ "ทศวรรษแห่งมหาสมุทร" วราวุธ โวทั่วโลกสนใจ ขับเคลื่อนตามเป้า

ซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก สำหรับการแสดงท่าทีของผู้นำประเทศสมาชิกสะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมที่จะร่วมใจกันเดินหน้าแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการดำเนินงานของแต่ละประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์แห่งทศวรรษมหาสมุทร “วิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อมหาสมุทรที่เราต้องการ”

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ แก้ไขปัญหาความท้าท้ายทั้ง 10 ประการ และบรรลุผลลัพธ์ทั้ง 7 ด้าน ภายใน 10 ปีนี้ 

ทั้งนี้ตนคิดว่าการเรียกร้องให้ทุกประเทศสมาชิกแปซิฟิกตะวันตกร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพ
และสามารถช่วยให้มหาสมุทรของเราทุกคนเกิดการดูแลและบริหารจัดการอย่างยั่งยืน แม้มหาสมุทรจะมองเหมือนพื้นที่
ที่กว้างใหญ่ แต่คงไม่ใหญ่เกินกว่าที่เราทุกคนจะช่วยกันดูแลได้

พร้อมเป็นผู้นำ "ทศวรรษแห่งมหาสมุทร" วราวุธ โวทั่วโลกสนใจ ขับเคลื่อนตามเป้า

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เป็นที่ตั้งสำนักงานประสานงานทศวรรษแห่งมหาสมุทร (Decade Coordination Office : DCO) ในแถบภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก นั่นหมายถึง ประเทศไทยจะเป็นเสมือนศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปข้อกำหนดต่าง ๆ ซึ่งตนถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงศักยภาพและบทบาทสำคัญในการทำงานในช่วงทศวรรษแห่งมหาสมุทร รวมถึง การขยายโอกาสในการทำงานด้านอื่น ๆ ในฐานะประเทศผู้นำ ต่อไป

ทั้งนี้ ตนจะหาแนวทางในการยกระดับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติเช่นกัน โดยจะได้หารือกับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะขับเคลื่อนและผลักดันให้งานสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทยสู่ความร่วมมือระดับนานาชาติต่อไป 

ด้าน นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเสริมว่า การประชุมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงาน องค์กร และผู้สนใจจากทั่วโลกกว่า 1,163 คน จาก 75 ประเทศ โดยในพิธีเปิดมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกว่า 722 ราย และลงทะเบียนเข้าร่วมอภิปรายกลุ่ม 441 ราย โดยกลุ่มประเทศสมาชิกแปซิฟิกตะวันตก 22 ประเทศ ส่งผู้แทนเข้าร่วมทั้งสิ้น 19 ประเทศ ยกเว้น ประเทศเกาหลีเหนือ ตองกา และหมู่เกาะโซโลมอน

พร้อมเป็นผู้นำ "ทศวรรษแห่งมหาสมุทร" วราวุธ โวทั่วโลกสนใจ ขับเคลื่อนตามเป้า

อย่างไรก็ตาม การประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 26 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งการประชุมในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 จะเป็นการประชุมอภิปรายกลุ่ม (Incubator) ในอีก 17 หัวข้อ ซึ่งผลลัพธ์จากการอภิปรายกลุ่มจะสรุปเพื่อนำไปจัดทำแผนการดำเนินงานทศวรรษแห่งมหาสมุทร โดยผ่านกลไกการทำงานของสำนักงานประสานงานทศวรรษแห่งต่อไป

ทั้งนี้ ในฐานะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานดำเนินการหลัก จะได้เร่งรัดประสานและขับเคลื่อนการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนด ทั้งนี้ จะเร่งสรุปผลลัพธ์การประชุมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับ IOC-WESTPAC และประเทศสมาชิกในภูมิภาคแปซิฟิกต่อไป 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ