ข่าว

"ผู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ." ปีการศึกษา 2564 เป็นครูไม่ถึง1%

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดราม่าครูเป็นทุกอย่าง แม้แต่ "ผูู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ." ข้อเท็จจริงจาก "ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์" ผู้จัดการกยศ. เผยเป็นครูไม่ถึง1% ส่วนมากพ่อแม่ผู้ปกครอง ย้ำปีแรกกู้เรียนป.โทได้ เน้นตอบโจทย์พัฒนาประเทศ อนาคตวาดฝันรองรับคนรุ่นใหม่เรียนหลักสูตรระยะสั้นต่อยอดสตาร์ทอัพ

"ครูเป็นทุกอย่าง" ในโรงเรียน ไม่เว้นแม้แต่เป็น "ผู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ.” ให้นักเรียนหรือลูกศิษย์  ลูกศิษย์บางรายเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเกิดเบี้ยวหนี้ ภาระตกหนักที่ครูต้องตามใช้หนี้แทน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่าง ๆ จนเกิดกระแสสังคมเข้าใจผิดคิดว่ามีครูเป็นจำนวนมากต้องค้ำประกันเงินกู้กยศ.ให้กับนักเรียน

 

เกี่ยวกับ "ผู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ.” มีข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จาก นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ผู้จัดการ กยศ.) กล่าวผ่านสื่อว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นมา "ผู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ.” ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

 

โดยร้อยละ 80-85 "ผู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ.” เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง อีกร้อยะ 15 เป็นญาติของนักเรียนหรือผู้กู้ มีไม่ถึงร้อยละ1 ที่ผู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ.เป็นครู

 

"สื่อมวลช่วยกันกระพือข่าวจนทำให้สังคมเข้าใจว่า "ผู้ค้ำประกันเงินกู้กยศ." ให้กับนักเรียนจำนวนมากนั้นเป็นคุณครู แต่ความจริงแล้ว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นมา ครูค้ำประกันเงินกู้กยศ.มีจำนวนน้อยลงแล้ว แต่การยื่นกู้ยืมกยศ.ในอดีตก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง”ผู้จัดการกยศ. ระบุ

ผู้จัดการกยศ. กล่าวกอีกว่า  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด-19 พ่อแม่ ผู้ปกครองและนักเรียนอาจจะกังวลใจในการยื่นกู้ยืมกยศ. เพื่อการศึกษาของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นม.ปลาย(ม.4-ม.6)จนถึงระดับอุดมศึกษา จะทำอย่างไร

 

ซึ่งในเรื่องนี้ไม่ต้องวิตก ผู้กู้ไม่ต้องมาที่สถานศึกษา อยู่ที่บ้านก็สามารถกู้เงินผ่านแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ได้รวมถึงการชำระหนี้เงินกู้กยศ.ก็สามารถชำระผ่านแอปฯได้เช่นเดียวกัน

 

ขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect”  เช็กยอดง่าย จัดการได้ด้วยตนเอง  ผ่านช่องทางใหม่ ของผู้กู้ กยศ. เช็กยอดง่าย ทุกที่ ทุกเวลา จัดการได้ด้วยตนเอง ทั้งประวัติส่วนตัว และบัญชี กยศ. Download ได้แล้ววันนี้ ทั้ง iOS และ Android >>https://bit.ly/2YNgNux

ผู้จัดการ กยศ.  กล่าวอีกว่า ปี2564 เป็นปีแรกที่กยศ. ให้กู้เรียนระดับปริญญาโท(ป.โท) ซึ่งรัฐเตรียมงบประมาณ 38,000 ล้านบาท

 

เพื่อรองรับนักเรียน นักศึกษาจำนวนกว่า 624,000 ราย สามารถกู้ยืมได้สูงสุดถึง 200,000 บาทต่อปี ให้กู้ผ่านผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน ด้วยแอป “กยศ. Connect” ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา

 

"ผู้กู้ยืมเงินกยศ. เพื่อเรียตนต่อในระดับปริญญาโท ปีนี้เป็นปีแรกนั้น เน้นในด้านที่ตอบสนองความต้องการของประเทศมากที่สุด โดยเฉพาะทางด้านสาธารณสุข  เช่นเรียนต่อแพทย์ พยาบาล  และด้านวิศวะ 

 

แต่ในอนาตค กยศ. เตรียมปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อรองรับสังคมไทยหลังโควิด-19 ที่เปลี่ยนแปลงไป เน้นกลุ่มอิสระที่ต้องการเรียนหลักสูตรระยะสั้นเพื่อวิชาชีพ เรียนจบแล้วมีงานทำหรือเป็นผู้ประกอบการได้ทันที ตอบสนองการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ Start-Up ของคนรุ่นใหม่กำลังขยายตัวต่อเนื่อง" ผู้จัดการ กยศ. กล่าว

 

ทั้งนี้ สำหรับเงื่อนไขการกู้ยืมกยศ.แบ่งเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ลักษณะที่ 2 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

ลักษณะที่ 3 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ

ลักษณะที่ 4 นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดี เพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยให้กู้ในระดับปริญญาโท

logoline