ข่าว

อุ้มเด็กจบม.3 หลุดจากระบบ ตรีนุช ชู ‘อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตรีนุช ยอมรับ ลงพื้นที่พบม.3 ต้องออกมาหางานทำช่วยพ่อแม่ พร้อมชูโปรเจ็ค‘อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ ช่วยเด็ก “หลุดจากระบบ” กลับเข้าสู่ห้องเรียน เริ่มนำร่องในปีการศึกษา 2565 ในกลุ่ม 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เชื่อทำต่อเนื่อง10ปี เพิ่มผู้เรียนได้ปีละ 31,200 คน

นักเรียนหรือเด็ก “หลุดจากระบบ” ปัญหาสุดคลาสสิคในระบบการศึกษาไทย แม้ไม่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด  นักเรียนไทยก็ไปต่อไม่ไหว จากสภาพครอครับที่ยากจน เมื่อเกิดโรคระบาดซ้ำเติม ยิ่งเพิ่มจำนวนนักเรียนไม่ได้เรียนหนังสือมากขึ้น ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้

 

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “ตรีนุช เทียนทอง” ใจความระบุว่า  

 

โปรเจ็ค ‘อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาที่มีปัญหาด้านการเงินหรือการขาดโอกาสทางการศึกษาจากปัญหาต่าง ๆ

 

ให้ได้มี #โอกาส กลับเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาอีกครั้งและพัฒนาทักษะความรู้สำหรับการประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย

ปัญหาเด็กตกหล่นและหลุดออกจากระบบการศึกษาหลังจบ ม.3 เป็นเรื่องที่ดิฉันพบจากการลงพื้นที่ในหลายจังหวัดที่ผ่านมา

 

เด็กจากหลายครอบครัวได้รับการศึกษาเพียงชั้น ม.3 แล้วต้องออกมาหางานทำ เพราะครอบครัวไม่มีทุนสำหรับเรียนต่อได้ หรือบางทีอาศัยอยู่พื้นที่ห่างไกล หากจะมาเรียนในเมืองก็จะมีค่าใช้จ่ายที่พักและแบกรับค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากค่าเทอมไม่ไหว

 

ในโอกาสการประชุม ครม. สัญจร ที่จังหวัดกระบี่ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ดิฉันจึงได้เสนอโปรเจ็ค ‘อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา

 

ที่มีปัญหาด้านการเงินหรือการขาดโอกาสทางการศึกษาจากปัญหาต่าง ๆ ให้ได้มี #โอกาส กลับเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาอีกครั้งและพัฒนาทักษะความรู้สำหรับการประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย

ในระยะแรกเรานำอาชีวะมาเป็นทางเลือกนำร่องก่อน เนื่องจากรูปแบบการเรียนตอบโจทย์ให้เด็กมีทักษะและความรู้เพียงพอต่อการไปทำงานจริง

 

ซึ่งจะสนับสนุนค่าเทอม ที่พัก และอาหาร โดยไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้ด้วย

 

โครงการนี้จะเริ่มนำร่องในปีการศึกษา 2565 ในกลุ่ม 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล

 

ก่อนจะขยายให้ครอบคลุมวิทยาลัยในสังกัดอาชีวะทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายดำเนินโครงการนี้ 10 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566-2575 และคาดว่าจะเพิ่มผู้เรียนได้ 31,200 คนต่อปีค่ะ

#ตรีนุชเทียนทอง

CR:ตรีนุช เทียนทอง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ