ข่าว

ชาวอำเภอนครไทย ปีนผาสูง "ปักธง" ยอดเขา รำลึกถึงวีรกรรมพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เป็นความเชื่อแต่โบราณ การปักธงชัย จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข กินดีอยู่ดี ถ้าปีใดไม่ปักธง จะเกิดภัยพิบัติ หรือเภทภัยต่างๆ

วันที่ 19 พ.ย. ที่บริเวณเขาช้างล้วง อ.นครไทย จ.พิษณุโลก นายสมเกียรติ พูลสุขเสริม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ของจังหวัดและอำเภอ อีกทั้ง ชาวอำเภอนครไทย ร่วมประกอบพิธีกล่าวถวายสดุดีเทิดพระเกียรติ พ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง ก่อนที่จะเดินเท้าด้วยระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เพื่อนำ "ธงปักชัย" ปักขึ้นเขาช้างล้วง ตามประเพณี 

ชาวอำเภอนครไทย ปีนผาสูง "ปักธง" ยอดเขา รำลึกถึงวีรกรรมพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
 

โดยธงทั้ง 3 ผืน ผ่านการทอด้วยฝีมือของทุกภาคส่วน ในอำเภอนครไทย ที่ร่วมมือร่วมใจกันทอขึ้น ก่อนจะนำขึ้นไปปักบนยอดเขา 3 ยอด ประกอบด้วย เขาฉันเพล เขาย่านไฮ และเขาช้างล้วง ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวนครไทย สืบสานมาตั้งแต่โบราณกาล จวบจนปัจจุบัน ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี

ชาวอำเภอนครไทย ปีนผาสูง "ปักธง" ยอดเขา รำลึกถึงวีรกรรมพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

โดยทุกๆปี ชาวอำเภอนครไทย จะได้ร่วมกันทอธง ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 ผืน ตามประเพณีเก่าแก่ ทุกวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรือตรงกับ "วันลอยกระทง" เพื่อนำไปปักลงบนยอดเขาช้างล้วง เพื่อสืบทอดประเพณีท้องถิ่น ผ่านยอดเขา 3 ยอด ระลึกถึงพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยางในอดีต ซึ่งกาลต่อมา คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย

 

เป็นการรำลึกถึงชัยชนะของพ่อขุนบางกลางท่าว ที่มีชัยชนะศึก และเป็นความเชื่อของชาวบ้านว่า การปักธงชัย จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข กินดีอยู่ดี ถ้าปีใดไม่ปักธง จะเกิดภัยพิบัติ หรือเภทภัยต่างๆ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนหรือเสียชีวิต รวมทั้งชาวอำเภอนครไทยเชื่อกันว่า ผู้ใดขึ้นไปปักธงบนเขาทั้ง 3 ยอด จะอยู่เย็นเป็นสุข โดยในปีนี้งานประเพณีจัดขึ้น ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 

ชาวอำเภอนครไทย ปีนผาสูง "ปักธง" ยอดเขา รำลึกถึงวีรกรรมพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ภาพ/ข่าว กรรณิการ์ สิงหะ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.พิษณุโลก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ