
แนวโน้มหญิงท้อง "ติดโควิด" เพิ่มเข้มหลังคลอดลูกต้องฉีดวัคซีนก่อนกลับบ้าน
แนวโน้มหญิงท้อง "ติดโควิด" เพิ่มหวั่นอาการรุนแรงเสียชีวิต เพิ่มมาตรการจัดจุดฉีดที่คลินิกฝากครรภ์ หลังคลอดถูกต้องฉีดวัคซีนก่อนปล่อยกลับบ้าน
กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 และการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ โดยระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์ และทารกแรกเกิด ระหว่างเดือนเมษายน- พฤศจิกายน 64 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ 5,516 ราย คนไทย 3,824 ราย คนต่างด้าว 1,692 ราย ทารกติดเชื้อ 238 ราย
มีอัตราหญิงตั้งครรภ์และเสียชีวิต 102 ราย ทารกเสียชีวิต 51 ราย
สำหรับจังหวัดที่มีอัตราหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร
- สมุทรสาคร
- นราธิวาส
- ตาก
- ยะลา
- สมุทรปราการ
- สงขลา
- ปทุมธานี
- ชลบุรี
- พระนครศรีอยุธยา
ส่วนพื้นที่ที่มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตจากการติดเชื้อมากที่สุดได้แก่
- กรุงเทพมหานคร
- ปัตตานี
- สมุทรสาคร
- นราธิวาส
- ปทุมธานี
- ยะลา
- นครปฐม
- พระนครศรีอยุธยา
- ตราด
- ตาก
สำหรับหญิงท้องที่ได้รับวัคซีนสะสมมีดังนี้
- เข็มที่1 86,602 ราย
- เข็มที่2 66,784 ราย
- เข็มที่3 1,009 ราย
สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19ในหญิงตั้งครรภ์นั้นคือว่ามีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับเชื้อโควิด-19 และมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป รวมทั้งเมื่อได้รับเชื้อแล้วยังมีผลต่อทารกในครรภ์อีกด้วย
อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันอัตราการเสียชีวิต การเจ็บป่วนรุนแรงในหญิงท้อง สธ.ได้มีแนวทางในการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่หญิงตั้งครรภ์ดังนี้
- เร่งฉีดวัคซีนโควิด-19เชิงรุกแก่หญิงตั้งครรภ์ หากหญิงตั้งครรภ์ยังไม่มีความพร้อม หรือมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยให้ดำเนินการฉีดให้แก่คนในครอบครัวก่อน
- จัดสรรวัคซีนโควิด-19ให้ครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 70 ของจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดในพื้นที่
- จัดให้มีบริการแบบ One Stop service ณ คลินิกฝากครรภ์ในรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน เมื่อมาคลอดให้ดำเนินการฉีดวัคซีนก่อนให้กลับบ้าน