ข่าว

รายได้สูง! ไทยชวด 95 ประเทศได้สูตรผลิตยารักษาโควิด-19 "Paxlovid" ใช้เอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประเทศไทยหลุด 95 ประเทศ ได้สูตรผลิตยารักษาโควิด-19 "Paxlovid" ของไฟเซอร์ เหตุ เป็นประเทศรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง

หน่วยงานด้านสิทธิบัตรยา Medicines Patent Pool หรือ MPP ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ เปิดเผยว่า องค์กรสิทธิบัตรยาร่วม ได้บรรลุข้อตกลงสิทธิบัตรยากับบริษัท ไฟเซอร์ (Pfizer) อินคอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งในข้อตกลงดังกล่าว ไฟเซอร์จะให้สิทธิ์ MPP ในการใช้สิทธิช่วง (Sub-license) ทำสัญญากับผู้ผลิตยาสามัญ (Generic Drug) ในประเทศที่ได้รับอนุญาต ให้สามารถผลิตยาเม็ดต้านเชื้อโควิดของไฟเซอร์ หรือที่มีชื่อทางการค้าว่า แพกซ์โลวิด (Paxlovid) ได้ โดย 95 ประเทศที่อยู่ในรายชื่อ คิดเป็นสัดส่วน 53% ของประชากรโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำ และรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ

 

 

รายได้สูง! ไทยชวด 95 ประเทศได้สูตรผลิตยารักษาโควิด-19 "Paxlovid" ใช้เอง

องค์กร MPP เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ที่เข้าเกณฑ์ในการอนุญาตให้ผู้ผลิตยาสามัญสามารถจำหน่ายยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ประกอบด้วย สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ในขณะที่ประเทศที่ไม่เข้ากฎเกณฑ์พิจารณา ได้แก่ ไทย บรูไน มาเลเซีย และสิงคโปร์

 

ซึ่งการพิจารณาอนุมัติให้กับบริษัทไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น นับเป็นบริษัทแห่งที่ 2 ต่อจากบริษัท เมอร์ค แอนด์ โค ที่ได้ให้สูตรการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 ให้กับ 105 ประเทศทั่วโลก
ซึ่งบริษัทเมอร์คและไฟเซอร์ จะไม่เรียกเก็บค่าตอบแทนจากบริษัทที่ผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ และยาแพกซ์โลวิด ตราบใดที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงระบุว่าโรคโควิด-19 ถือเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

รายได้สูง! ไทยชวด 95 ประเทศได้สูตรผลิตยารักษาโควิด-19 "Paxlovid" ใช้เอง

 

สำหรับประเทศที่ผ่านการพิจารณาแล้วทั้ง 95 ประเทศนั้น บริษัทผลิตเวชภัณฑ์ที่ต้องการผลิตยา Paxlovid สามารถยื่นเรื่องต่อองค์กร MPP เพื่อขอรับการพิจารณา และอนุมัติโดย MPP หลังจากนั้น องค์กร MPP จะมอบช่วงสิทธิบัตรให้แก่บริษัทที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานสาธารณสุขภายในประเทศเพื่อผลิตยา Paxlovid

 

ก่อนหน้านี้ ไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ผลการทดลองยา Paxlovid ลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตได้ถึง 89% ซึ่งประสิทธิภาพของยาดังกล่าว สูงกว่ายาโมลนูพิราเวียร์ ของบริษัทเมอร์ค แอนด์ โค ซึ่งมีประสิทธิภาพลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโรคระบาดโควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตเพียง 50%

 

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ หรือ FDA กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่ออนุมัติ การใช้ยาทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ ของเมอร์ค แอนด์ โค และยา Paxlovid ของไฟเซอร์ อินคอร์ปอเรชั่น เพื่อการใช้ยาเป็นกรณีฉุกเฉิน คาดว่า FDA จะพิจารณาอนุมัติยาโมลนูพิราเวียร์ในช่วงต้นเดือนธันวาคม และจะอนุมัติยาแพกซ์โลวิดในช่วงเวลาถัดจากนั้น

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ