ข่าว

วัยหนุ่มสาว "ฆ่าตัวตาย" สูงขึ้น แนะวิธีสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงต่อการก่อเหตุ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมสุขภาพจิตเผยวัยหนุ่มสาวเฉลี่ยอัตราการ "ฆ่าตัวตาย" 3 แสนคนต่อประชากร แนะวิธีสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงก่อการก่อเหตุ

จากข้อมูลการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตเมื่อปี 2563 พบใน อัตรา 7.37 ต่อแสนประชากรต่อปี เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพื่อขึ้นสูงขึ้น และพบว่าวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ฆ่าตัวตาย มากกว่า 5 ต่อแสนประชากรต่อปีหากนับรวมคนหนุ่มสาวในอายุ 10-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายมากกว่า 3 ต่อแสนประชากร แต่ก็น่าเป็นห่วงเนื่องจากเป็นการสูญเสียก่อนวัยอันควร 

สำหรับสถิติทั่วโลกการฆาตกรรมในครอบครัวเป็น 1 ใน 2 ของการฆาตกรรมหมู่จึงนับว่ามีความรุนแรง สาเหตุหลักของการฆ่าตัวตายและฆ่าคนในครอบครัว คิดว่าจะเป็นการหนีความทุกข์ไปด้วยกัน

ปัญหาสัมพันธภาพเมื่อจบชีวิตคู่ครองแล้วก็ฆ่าตัวตายเพราะรู้สึกผิดหรือคิดจะหนีความผิด

เนื่องจากการฆาตกรรมในครอบครัว พบว่า ผู้กระทำผิดจะฆ่าตัวตายร่วมด้วย จึงนับรวมในปัญหาการฆ่าตัวตายเพื่อป้องกันด้วย  น่าตกใจอย่างมากที่สำนักข่าวบ้านเราเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น ชีวประวัติ วิธีการ รวมถึงสรุปมูลเหตุของการฆ่าตัวตาย ทั้งหมดอย่างละเอียด จากการศึกษาจากทั่วโลก พบข้อมูลที่น่าสนใจและตรงกันว่าการฆ่าตัวตาย เป็นพฤติกรรรมที่มีความสลับซับซ้อนซึ่งบุคคลมีความเครียดสะสม ไม่เพียงสาเหตุเดียวตามการสรุปของบ้านเรา ย้อนกลับไปดู การนำเสนอข่าว การฆ่าตัวตายในต่างประเทศและทั้งโลก พบว่า ไม่มีการพาดหัวข่าวการฆ่าตัวตายที่สรุปสาเหตุหรือไม่แม้กระทั้งนำเสนอ ชื่อ นามสกุล หรือแหล่งข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงครอบครัวหรือคนใกล้ชิด เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนำไปสู่การซ้ำเติมความสูญเสียต่อครอบครัวและบุคคลรอบข้าง ของผู้เสียชีวิตให้รู้สึกผิด เหล่านี้เป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
 

สำคัญที่สุด คือ การนำเสนอข้อมูลเพียงผิวเผินหรือผิดสาเหตุและอธิบายวิธีการโดยละเอียดกลุ่มเปราะบางที่กำลังมีปัญหาแบบเดียวกับผู้เสียชีวิต การนำเสนอข้อมูลดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้กระทำการแบบเดียวกันได้ในกลุ่มเปราะบางเนื่องจากคิดว่าเป็นจุดจบหรือทางออกของปัญหา ภาษาอังกฤษเรียนว่า Copy Cat การฆ่าตัวตายเลียนแบบ 

 

แน่นอนว่ากรมสุขภาพจิตไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องดังกล่าวมีระบบสายด่วนสุขภาพจิตที่เบอร์ 1323 ตลอด 24 ชม. และสถานบริการในสังกัดทั่วประเทศ รวมถึงการประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นผ่าน mental health check in ที่ https://checkin.dmh.go.th/ 
สำหรับบุคคลใกล้ชิดหากเริ่มสังเกตเห็นสัญญาณเตือนที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เช่น มักระบายความรู้สึกกับคนใกล้ชิดหรือ ใน Social Media โพสต์ข้อความแบบสั่งเสียเป็นนัย ๆ เช่น ขอโทษ ลาก่อน ไม่อยากอยู่แล้ว ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน รู้สึกผิด/ล้มเหลวหมดหวังในชีวิต เป็นภาระผู้อื่น เป็นต้น 

หากเริ่มติดเหล้าสารเสพติด ประสบปัญหาในชีวิตรุนแรงและยาวนาน แยกตัวไม่พูดกับใคร อารมณ์แปรปรวน/ควบคุมอารมณ์ไม่ได้  

การช่วยเหลือสำคัญใช้หลักการปฐมพยาบาลทางใจ ดังที่กรมสุขภาพจิตเน้นมาโดยตลอด คือ หลัก 3 ส   สอดส่อง มองหา ว่าใครเป็นผู้มีปัญหาโดยสามารถสังเกตุได้จากพฤติกรรม คำพูด การแสดงออกต่างๆ ดังตัวอย่าง ข้างต้น  ใส่ใจ รับฟัง เข้าไปพูดคุย ซักถาม เพราะจะช่วยให้คนที่กำลังมี

 

ปัญหาให้มีสติและมีความรู้สึกตัวมากขึ้น กว่าการที่วนเวียนอยู่แต่เรื่องของตนเอง การปลอบใจว่า "อย่าคิดมาก" จะไม่เพียงพอสำหรับคนที่มีปัญหามาก ทั้งยังทำให้ไม่กล้าบอกเล่า ส่งต่อ เชื่อมโยง หาทางให้เขาได้รับการช่วยเหลือ จากหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ โดยพยายามชักจูง พาคนที่มีปัญหา ไปหน่วยงานเหล่านี้จะมีบุคลากร และระบบที่จะช่วยเหลือได้ถูกทาง
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ