ข่าว

สธ.เปิดแผนจัดซื้อ "ยาเม็ดต้านโควิด" Molnupiravir-Paxlovid ตัวไหนมาก่อน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดไทม์ไลน์จัดหา "ยาเม็ดต้านโควิด" คาด ต้นปีหน้า "โมลนูพิราเวียร์" ขึ้นทะเบียนในไทยได้สำเร็จ ส่วน "แพ็กซ์โลวิด" เร่งขอขึ้นทะเบียนกับ อย.ในสหรัฐ ย้ำชัด ควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้อย่างดี

นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงยารักษาโควิด-19  ทั้ง 2 ชนิด คือ โมลนูลพิราเวียร์ (Molnupiravir) และ แพกซ์โลวิด(PAXLOVID) ว่า ทั้ง 2 ชนิด เป็นการรักษาโควิดชนิดเม็ด ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส เพื่อไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนในร่างกาย โดยหากประชาชนที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าไปในร่างกาย และได้รับยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็วจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และความรุนแรงในการเจ็บป่วยลงได้ สำหรับความคืบหน้าในการจัดซื้อ และจัดหายา โมลนูลพิราเวียร์(Molnupiravir) และ แพกซ์โลวิด(PAXLOVID)  ทางกรมการแพทย์ มีระยะเวลาในการดำเนินการ โดยตั้งแต่ เดือน ก.ค.-ส.ค.2564 ได้มีการหารือกับบริษัท เมิร์ก เพื่อพิจารณาข้อมูลยา และผลการวิจัย 

 

เดือน ส.ค.-ก.ย. 2564 เมื่อทางกรมการแพทย์ได้ข้อมูล และทราบว่า ผลการทดลองของโมลนูพิราเวียร์ เริ่มได้ผล ก็ได้มีการหารือเรื่องการจัดหา และจัดซื้อ แนวทาง ราคา เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการจัดหายารักษาโควิด-19 กระบวนต่าง ๆ มีระยะเวลาพอสมควร 

 

เดือน ก.ย.-ต.ค 2564  บริษัท MSD ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต ได้หารือ กรมการแพทย์เกี่ยวกับรายละเอียดในเรื่องของการทำสัญญาซื้อขาย และในวันที่ 12 ต.ค. กรมการแพทย์ได้เสนอแผนการจัดหายาโมลนูพิราเวียต่อ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพรระบาดของไวรัสโคโรนา2019 (ศบค.) ชุดเล็ก เพื่อสรุปรายละเอียดและจัดหาในเบื้องต้น วันที่ 14 ต.ค. 64 เสนอแผนต่อ ศบค.ชุดใหญ่  

 

และในวันที่ 12-22 ต.ค. 2564 ได้มีการหารือกับอัยการสูงสุด เพื่อหารือในหลักการ  โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอแผนการจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม จากความคืบหน้าล่าสุด บริษัทเอกชนได้ยื่นขอขึ้นทะเบียน กับองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา( US FDA)  และอยู่ระหว่างการพิจารณาขึ้นทะเบียนให้แก่ยาโมลนูพิราเวีย โดยคาดว่า จะใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้ หากเป็นไปตามแผนการ และขั้นตอนที่กรมการแพทย์กำหนด คาดว่าในประเทศไทยจะสามารถขึ้นทะเบียน อย. ให้แก่ยาโมลนูพิราเวียร์ ได้ ประมาณ ปลายปี 2564 หรือประมาณต้นปี 2565 ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ขั้นตอนทุกอย่างเป็นไปตามแผนการ  

 

นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ด้านความคืบหน้าในการพิจารณาจัดหายาแพกซ์โลวิด 

เดือน ก.ค.-ส.ค. 64 ได้มีการหารือกับ บริษัท ไฟเซอร์ ไบออนเทค โดยบริษัทได้นำข้อมูลยาแพ็กซ์โลวิดเข้ามาให้กรมการแพทย์  ซึ่งในขณะนั้น ผลวิจัยของยาแพกซ์โลวิดยังไม่ออกมา แต่หลังจากที่ข้อมูลวิจัยออกแล้วทางกรมการแพทย์ และ บริษัท ไฟเซอร์ ได้มีการลงนาม CDA เพื่อรักษาปกปิดข้อมูล 

 

จากนั้นในเดือน ต.ค.ได้มีการหารือกับ บริษัทไฟเซอร์ เป็นรอบที่ 2 เพื่อหารือเรื่องความก้าวหน้าในด้านงานวิจัย ซึ่งปัจจุบันผลการวิจัยออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะมีการนัดหารือร่วมกับบริษัทไฟเซอร์อีกครั้ง ถึงความเป็นไปได้ ที่จะจัดหายามาใช้สำหรับการรักษาโควิด โดยประมาณการว่า ทาง บริษัทไฟเซอร์ น่าจะอยู่ระหว่างการยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ อย.ของสหรัฐอเมริกา หากมีความก้าวหน้าในการจัดหา กรมการแพทย์จะนำเสนอข้อมูลต่อไป    

 

ทั้งนี้ หากมีการนำยาทั้ง 2 ชนิดมาใช้ในประเทศไทยนั้น และรักษาอาการในเวลาอันรวดเร็ว จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ป่วยหนักได้ดี รวมทั้ง หากสามารถทำให้เข้าถึงได้ง่าย อยู่ในบริบทที่ประชาชนสามารถซื้อได้ในกรณีเจ็บป่วย จะช่วยให้การระบาดสามารถควบคุมได้ และจะเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19  

 

ส่วนกรณีที่มีคำถามถามว่า ประเทศไทยอยู่ใน 90 ประเทศ ที่มีการสั่งซื้อยาหรือไม่นั้น นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีการสั่งซื้อยาจะต้องมีการวางแผน สั่งจอง ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ จะต้องผ่านกระบวนหลายขั้นตอน โดยตามแผนการทำงานที่ผ่านมา ทั้งการประชุม หารือกับบริษัทผู้ผลิต กรมการแพทย์ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการจัดหายารักษาโควิด-19

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ