ข่าว

เคาะ "ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง" ใช้วัคซีนน้อยประสิทธิภาพสูง-ผลข้างเคียงต่ำ

เคาะฉีด "วัคซีนโควิด" เข้าใต้ชั้นผิวหนัง เผยผลข้างเคียงน้อยกว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อและใช้วัคซีนน้อยกว่า แต่อนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินและกรณีวัคซีนมีน้อยเท่านั้น

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวระหว่างการแถลงข่าว สูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19  แนะนำโดยคกก.สร้างเสริมภูมิคุ้นกันโรค และการจัดการคัสเตอร์โรงเรียนในจ.มุกดาหาร ว่า สำหรับประสิทธิภาพวัคซีนจากผลการศึกษาวัคซีนในการป้องกันโรค มีการศึกษาประสิทธิผลจากการปฏิบัติจริงของผู้ที่รับบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นผลเมื่อเดือนก.ย. 64 จากการศึกษา ข้อมูลพบว่า วัคซีนที่ฉีดในกรุงเทพมหานคร  สูตรแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม พบระดับภูมิคุ้มกันและการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 50%

 

ส่วนผลการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็ม 1 แอสตร้าเซนเนก้าเข็ม2 พบว่าระดับภูคุ้มกันอยู่ที่ประมาณ 70% ซึ่งพบว่าการฉัดสัคซีนสูตรไขว้สามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่า อีกทั้งยังสามารถฉีดได้เร็วมากขึ้นภายในระยะเวลาห่างเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น ส่วนการฉีดแอสตร้าทั้ง 2 เข็ม จะต้องทิ้งระยะห่างนานถึง 12 สัปดาห์  อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวค+แอสตร้าฯ นั้นค่อนข้างมีระสิทธิภาพการป้องกันอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิ และถือว่เป็นไปตามมาตรฐานขององคืการอนามัยโรคที่ระบุว่า หากวัคซีนสามารถป้องกันโรคได้ตั้งแต่ 50 % ก็คือว่าอยู่ในมาตรฐานที่จะใช้ป้องกันโควิด-19 ได้ 

นพ.โอกาส กล่าวต่อว่า สำหรับมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้มีมติเห็นชอบ การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนัง แนะนำให้ใช้เฉพาะกรณีที่มีปริมาณวัคซีนจำกัด  ซึ่งข้อดีของการฉีดวัคซีนเข้าใต้ชิ้นผิวหนัง คือ ลดปริมาณวัคซีนที่ใช้ลงได้  รวมทั้งยังมีประสิทธิใกล้เคียงกับการฉีดวัคซีนเข้าในกล้ามเนื้อแขนซ้าย หรือขวาที่ทำกันอยุ่ในปัจจุบันนี้  นอกจากนี้ยังพบว่าการฉีดวัคซีนเข้าใต้ชั้นผิวหนังยังผลข้างเคียงน้อยกว่าการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อแขน อาทิ อาการมีไข้จะลดน้อยลง อาการข้างเคียงอื่น ๆ น้อยลง เพราะปริมาณวัคซีนที่ใช้ลดลงด้วย นอกจากนี้การฉีดวัคซีนเข้าในกล้ามเนื้อแบขจะให้วัคซีน 1 โดสต่อ 1 คน แต่หากฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนังวัคซีน 1 โดส จะฉีดได้ประมาณ 3-5 คน  อย่างไรก็ตามแนวทางการฉีดวัคซีนเข้าใต้ชั้นผิวหนังนั้นจะอนุญาตให้เฉพาะในกรณีเร่งด่วนและในกรณีที่มีปริมาณวัคซีนจำกัดเท่านั้น 

นอกจากนี้คณะกรรมการยังมีการพิจารณาแนวทางการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ร่วมกับวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากขณะนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงที่ไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด โดยในที่ประชุมมีการหารือและได้ข้อสรุปว่า สามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่พร้อมกับวัคซีนโควิด-19 ได้ เนื่องจากวัคซีนโควิด-19ค่อนข้างมีความปลอดภัย 

ข่าวยอดนิยม