ข่าว

เจาะการเมืองใน "ศาสนจักร" กับเส้นทางแต่งตั้งเจ้าอาวาส ปมร้อน "วัดสร้อยทอง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จับตาการปกครองคณะสงฆ์ กับการแต่งตั้งเจ้าอาวาส "วัดสร้อยทอง" หลัง พส.ประกาศพร้อมลาสิกขา หากไม่ตั้ง "เจ้าคุณอุทัย" รับตำแหน่ง ท่ามกลางกระแสติติงท่าทีร่ำไห้ผ่านโซเชี่ยลมีเดีย

ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กว่า "ขอแนะนำทีมเลขานุการเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ท่านเจ้าคุณธงชัย) ซึ่งเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลางหน่อยครับ ถ้าจะแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดสร้อยทอง ขอให้รีบตั้งครับ อย่าได้ชักช้าโอ้เอ้วิหารราย เรื่องการพระศาสนาแต่ไหนแต่ไรมา ถ้าคณะสงฆ์ดำเนินการชักช้า จะเป็นที่ติฉินนินทาหรือวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ผู้ไม่รู้ไม่หยุด ถ้าจะทำเพื่อรักษาพระธรรมวินัย ไม่ต้องไปสนใจว่าพระทุศีลรูปไหน จะสึกหรือจะอยู่ โปรดรีบตั้งเสียให้เสร็จโดยเร็วและถ้าจะให้ดี มอบหมายให้เจ้าอาวาสใหม่ รีบตั้งคณะพระวินัยธรสอบพระวินัยพระทั้ง 2 รูปนั้นด้วยก็จะดี"

 

ด้าน "พุทธะอิสระ" อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก "หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)" ระบุถึง พระมหาสมปองและพระมหาไพรวัลย์  "เรื่อง เสียดายผ้าเหลือง คนพวกนี้แค่เข้ามาอาศัยผ้าเหลืองหากินแท้ ๆ เสียดายผ้าเหลือง คนพวกนี้แค่เข้ามาอาศัยผ้าเหลืองหากินแท้ๆ 1 พฤศจิกายน 2564 เห็นบทสนทนาของมหาทั้งสองรูปแล้ว ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นว่า สิ่งที่มหาทั้งสองทำอยู่และแสดงออก มองไม่เห็นเลยว่า พระพุทธศาสนาจะได้ประโยชน์อะไร พระธรรมวินัย ได้ประโยชน์อะไร สังฆมณฑลได้ประโยชน์อะไร และวัดสร้อยทองจักได้ประโยชน์อะไรกับพฤติกรรมของมหาทั้งสองรูปนี้"

เจาะการเมืองใน "ศาสนจักร" กับเส้นทางแต่งตั้งเจ้าอาวาส ปมร้อน "วัดสร้อยทอง"

 

ล่าสุด วันนี้ (2 พฤศจิกายน 2564) พุทธะอิสระยังโพสต์ถึงอีกรอบ "มหาสู้ ๆ มหาสู้ตาย มหาไว้ลาย มหาสู้แล้วอย่าตายนะมหา 2 พฤศจิกายน 2564 สงสาร เอย แสนสงสาร เห็นภาพน้ำตารอการระบาย น้ำมูกไหล ปากแบะ ของมหาทั้งสองรูปแล้ว มันทำให้เข้าใจได้ว่า นี่คือตัวอย่างของผู้ที่เข้ามาอาศัยผ้าเหลือง เพียงเพื่อยกสถานะทางสังคมเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาเพราะศรัทธาในพระธรรมวินัย และศึกษาอาศัยพระธรรมมาชำระ มาฟอกจิต"

 

ความร้อนที่ฉาบทาไปที่วงการพระ หรือวงการผ้าเหลืองให้คุกรุ่นร้อนแรงขึ้นมาอีกคำนบ ทำให้การประชุมหาเถรสมาคมครั้งต่อไป หรือครั้งที่ 24 เดิมตรงกับวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ แต่ล่าสุดถูกเลื่อนการประชุมเป็นวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายนแทน เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลทอดกฐิน การประชุมนัดนี้ จึงถูกจับตามองถึงวาระ และเนื้อหาการประชุม ว่าจะมีประเด็นการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดสร้อยทองหรือไม่

 

ข้อมูลตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งถูกประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กำหนดโครงสร้างในการปกครองวงการสงฆ์ ที่ยังใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ให้ "มหาเถรสมาคม" หรือ มส. เป็นองค์กรที่กำกับดูแลกิจการของพระสงฆ์ไทย ซึ่งประกอบไปด้วยพระสงฆ์สมณศักดิ์สูง 21 รูป มีพระสังฆราชเป็นประธาน 1 รูป สมเด็จพระราชาคณะโดยตำแหน่ง 8 รูป และพระราชาคณะที่ได้รับการแต่งตั้ง 12 รูป

 

โครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน แบ่งการปกครองออกเป็นการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด และมีเจ้าคณะใหญ่ซึ่งมี 5 เจ้าคณะ เป็นผู้ควบคุมดูแลเขตปกครองสงฆ์แต่ละคณะ

 

ส่วนในภูมิภาคนั้น แบ่งเขตปกครองออกเป็น 18 ภาค มีเจ้าคณะภาคแต่ละภาคเป็นผู้รับผิดชอบและมีส่วนที่รับผิดชอบอยู่ภายใต้อีก 3 ชั้นคือ จังหวัด อำเภอ และตำบล

 

ดังนั้น การแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดสร้อยทอง ตามทำเนียบการปกครอง ส่วนหนึ่งจึงขึ้นอยู่ที่เจ้าคณะกรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งปัจจุบัน คือ "พระธรรมวชิรมุนี วิ.(บุญชิต ญาณสังวโร)"

เจาะการเมืองใน "ศาสนจักร" กับเส้นทางแต่งตั้งเจ้าอาวาส ปมร้อน "วัดสร้อยทอง"


เมื่อย้อนไปดูข้อมูลในการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีวาระสำคัญคือ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เสนอแต่งตั้ง "พระธรรมวชิรมุนี วิ. (บุญชิต ญาณสังวโร)" ขณะนั้น เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ขึ้นเป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร หรือเจ้าคณะ กทม.รูปใหม่ แทนพระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท ป.ธ.3) เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง เจ้าคณะกรุงเทพมหานครรูปเดิม


เจาะการเมืองใน "ศาสนจักร" กับเส้นทางแต่งตั้งเจ้าอาวาส ปมร้อน "วัดสร้อยทอง"

 

และพระธรรมวชิรมุนี วิ. (บุญชิต ญาณสังวโร) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เพิ่งได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2564 เมื่อสอบถามวัตรปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญสายพระสงฆ์ ระบุว่า เจ้าคณะกรุงเทพมหานครรูปนี้ ท่านมีชื่อเสียงทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ปัจจุบันท่านอายุ 60 ปี พรรษา 38 และเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช–วิทยาลัย หรือ มจร.อีกด้วย

 

วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ได้รายงานผลงานวิจัยบางส่วนของการศึกษาโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทยที่ศึกษาข้อมูลบางส่วน ตั้งแต่การมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับแรกเกิดขึ้น คือ พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 หรือใน พ.ศ. 2445 มาสู่พระราชบัญญัติการปกครอง พ.ศ. 2505 แก้ไข เพิ่มเติมฉบับ ที่ 2 พ.ศ. 2535 ในปัจจุบัน โดยผู้วิจัย ระบุว่า การมีพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถูกตั้งข้อสังเกตจากนักวิชาการด้านศาสนาว่า ทำให้เกิดปัญหาใน 3 ด้าน คือ

  1. ปัญหาโครงสร้างการปกครอง
  2. ปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการปกครอง
  3. ปัญหาหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและความเหมาะสมของพระสงฆ์ที่จะได้รับสมณศักดิ์

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ