ข่าว

หมอแนะ 2 ทางรอดจากโควิด-19  หลังไทย "เปิดประเทศ" 1 พ.ย. นี้

หมอแนะ 2 ทางรอดจากโควิด-19 หลังไทย "เปิดประเทศ" 1 พ.ย. นี้

01 พ.ย. 2564

น.พ.เฉลิมชัย แนะ 2 ทางรอดจากโควิด-19 หลังไทย "เปิดประเทศ" 1 พ.ย. นี้ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ คือวินัยและการฉีดวัคซีนให้ครบ 70 %

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีระบุ ว่า  1 พฤศจิกายน 2564 เริ่มเปิดประเทศ แล้วภายใต้โควิดช่วงขาลง ซึ่งชะลอตัวนิ่งอยู่ สถิติเกี่ยวกับโควิดในวันนี้ จะเป็นตัวตั้งต้น เพื่อประเมินผลกระทบจากมาตรการเปิดประเทศต่อไป 

วันนี้ (1พย64) เริ่มมาตรการเปิดประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการผ่อนคลายที่สำคัญมาก หลังจากผ่านจุดสูงสุดเมื่อกลางสิงหาคม  เข้าสู่ช่วงขาลงมาได้ 2 เดือนครึ่ง
สถิติตัวเลขต่างๆทั้งผู้ติดเชื้อ ผู้หายป่วย ผู้รักษาตัวอยู่ ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตในวันนี้
จะเป็นสถิติหลัก ที่ใช้พิจารณาผลกระทบของมาตรการเปิดประเทศ
โดยในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า คือประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2564 เมื่อนำสถิติตัวเลขดังกล่าวทั้งหมด มาเปรียบเทียบกับตัวเลขในวันนี้
จะบอกได้ถึงผลกระทบของมาตรการเปิดประเทศ ซึ่งอาจจะออกมาได้เป็นสามลักษณะ
1. สถิติตัวเลข ยังเป็นขาลงต่อเนื่อง จะทำให้มาตรการเปิดประเทศ สามารถเดินหน้าต่อไป และผ่อนคลายมากขึ้นได้อีก
2. สถิติตัวเลข ยังอยู่นิ่งกับที่ ไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง มาตรการเปิดประเทศก็จะเดินหน้าต่อไป แต่ไม่สามารถผ่อนคลายเพิ่มขึ้นได้อีก
3. สถิติตัวเลขเป็นไปในทิศทางเพิ่มขึ้น จะทำให้มาตรการเปิดประเทศ จะต้องเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น หรืออาจต้องพิจารณายกเลิก
คงจะต้องมาร่วมกันติดตาม พร้อมให้กำลังใจ และร่วมมือกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าไปให้ดีที่สุด
 

หมอแนะ 2 ทางรอดจากโควิด-19  หลังไทย \"เปิดประเทศ\" 1 พ.ย. นี้

1. ประเทศไทยมีโควิดระบาดระลอกที่ 3 มานาน 7 เดือนเต็มแล้ว
2. ในช่วงระบาดขาขึ้น ใช้เวลา 4.5 เดือน นับตั้งแต่ 1 เมษายน ถึงกลางเดือนสิงหาคม
3. โดยใช้มาตรการเข้มข้นหลายมาตรการร่วมกัน จึงสามารถคุมการระบาดเอาไว้ได้
4. จากจุดสูงสุดเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ประเมินสองสัปดาห์แล้ว เห็นว่าผ่านพ้นจุดสูงสุดจริง
5. จึงเริ่มมีมาตรการผ่อนคลาย นับตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2564 เป็นต้นมา
6. จากการเริ่มมาตรการผ่อนคลายตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาสองเดือนเต็ม
7. พบว่าอัตราการติดเชื้อลดลง 2.5 เท่า จากวันละ 23,418 ราย เหลือ 9953 ราย (ค่าเฉลี่ยในเดือนตุลาคม) และอัตราการเสียชีวิตลดลง 3.9 เท่า จาก 312 ราย เหลือ 80 ราย(ค่าเฉลี่ยในเดือนตุลาคม)
8. แม้อัตราการลดลงของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต จะช้ากว่าอัตราขาขึ้น แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อรักษาระบบเศรษฐกิจ และระบบการใช้ชีวิตในสังคมให้เดินหน้าต่อไปได้
9. รัฐบาลจึงต้องประกาศมาตรการผ่อนคลายอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 
โดยแบ่งเป็นหลายเขตพื้นที่ ตามสีแดงเข้ม แดง เหลือง และเขียว
10. แต่ในมาตรการผ่อนคลายครั้งนี้ ได้มีการนำร่องที่สำคัญคือ จังหวัดสีฟ้า เป็น 4 จังหวัดนำร่องการท่องเที่ยว
11. ได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ โดยจะได้รับสิทธิ์ในการเป็น Sandbox หรือนำร่อง

12. ประชาชนในจังหวัดดังกล่าวสามารถใช้ชีวิตเกือบปกติทุกอย่างประกอบด้วย
12.1 ยกเลิกเคอร์ฟิว
12.2 มีกิจกรรมรวมกลุ่มได้ไม่จำกัดจำนวน
12.3 นั่งทานอาหารในร้านพร้อมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
12.4 โรงภาพยนตร์ สนามกีฬา ร้านนวด ร้านเสริมสวย สปา ตลาด ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าเปิดบริการได้ตามปกติ
12.5 สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็กเล็กและสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ เปิดดำเนินการได้ตามปกติ
12.6 นักท่องเที่ยวจาก 61 ประเทศและ 2 เขตเศรษฐกิจพิเศษ เข้ามาได้โดยไม่ต้องกักตัว ถ้าฉีดวัคซีนครบสองเข็ม

 

ทั้งนี้ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าว จะมีปัจจัยที่ช่วยประคับประคองไว้ สองอย่างได้แก่
1. วินัยของประชาชนในจังหวัดนำร่อง ที่จะต้องเข้มข้นเหมือนเดิม
2. อัตราความครอบคลุมสำหรับการฉีดวัคซีน ถ้าฉีดวัคซีนเข็มสองครบอย่างน้อย 70% ของ

ประชากร ก็จะเบาใจในเรื่อง ถ้าติดเชื้อก็จะไม่เจ็บป่วยหนักและไม่เสียชีวิต
เมื่อดูตัวเลขของ 4 จังหวัดนำร่องดังกล่าว จะพบว่าอัตราการติดเชื้อเป็นดังนี้
1. กรุงเทพฯ 399,412 ราย
35.ภูเก็ต 14,846 ราย
53. กระบี่ 7616 ราย
60. พังงา 4674 ราย

 

โดยที่อัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุม เป็นดังนี้
1. กรุงเทพฯ
เข็มหนึ่ง 107.9% 
เข็มสอง 75.9%

2. ภูเก็ต
เข็มหนึ่ง 83.3% 
เข็มสอง 77.1%
3. พังงา 
เข็มหนึ่ง 64.9% 
เข็มสอง 54.1%

4. กระบี่
เข็มหนึ่ง 61.5% 
เข็มสอง 35.1%
 

จะเห็นได้ว่า กรุงเทพฯและภูเก็ตมีอัตราการฉีดวัคซีนเข็มสองที่น่าจะเพียงพอคือ มากกว่าร้อยละ 70 ในขณะที่พังงาและกระบี่ยังไม่ถึงร้อยละ 70 จะต้องเร่งมือกันต่อไป
และในระหว่างที่ยังไม่ถึงร้อยละ 70  จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างสูง
ขณะนี้ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยฉีดเข็มหนึ่งได้แล้ว 57.63% เข็มสอง 41.47%

 

คาดว่าจะฉีดเข็มสองได้ครบ 70% ในเดือนธันวาคม 2564
การนำร่องสี่จังหวัดท่องเที่ยวหรือสีฟ้า จะเป็นบททดสอบสำคัญว่า ไทยจะสามารถเปิดประเทศครบทุกจังหวัดในต้นปีหน้าได้หรือไม่
ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน ทั้งเรื่องวินัยในการดูแลป้องกันโรค เจ้าหน้าที่ของรัฐทำงานเข้มแข็ง และการ

 

ฉีดวัคซีนครอบคลุมเข็มสอง 70%
โอกาสที่เราจะเดินหน้าเปิดประเทศในต้นปีหน้าก็จะมีสูงขึ้น
แต่ถ้านำร่องไปได้ 2-4 สัปดาห์ แล้วพบอัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ก็คงต้องมาทบทวนมาตรการผ่อนคลาย อาจต้องใช้มาตรการเข้มข้นกันใหม่อีกครั้งก็เป็นได้