ข่าว

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี ยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว" พัฒนาชีวิตเกษตรกร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยสร้างรายได้ทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี ยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว" พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยสร้างรายได้ทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายในการช่วยเหลือชาวนาโดยการเพิ่มราคาข้าวให้สูงขึ้น

 

นายสมบูรณ์ สุวรรณโณ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี กล่าวว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลา ซึ่งมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 200,000 กว่าไร่ การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแต่ละปีแต่ละฤดูจะต้องมีการวางแผนและกำหนดแผนการ "ผลิตเมล็ดพันธุ์"โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความต้องการของตลาด เพื่อให้การ"ผลิตเมล็ดพันธุ์"ตรงตามความต้องการของเกษตรกรและพ่อค้า

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี ยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว" พัฒนาชีวิตเกษตรกร

ซึ่งในการ"ผลิตเมล็ดพันธุ์"ทางศูนย์ฯเน้นพันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้นให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคและแมลงทั้งนี้ในการวางแผนการ"ผลิตเมล็ดพันธุ์"ทางศูนย์ฯ จะประชุมวางแผนล่วงหน้า 2 ปีเพื่อให้ศูนย์วิจัยข้าวซึ่งมีหน้าที่ในการ "ผลิตเมล็ดพันธุ์"หลักได้จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ให้กับทาง"ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว"ใช้เพื่อการผลิตชั้นพันธุ์ขยายต่อไป

 

 

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี ยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว" พัฒนาชีวิตเกษตรกร

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลงานด้านข้าวในพื้นที่รับผิดชอบมีแนวคิดที่จะพัฒนาการผลิตข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพจึงได้ดำเนินการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่โดยวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกันเพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เกษตรกรยังคงเป็นเจ้าของพื้นที่และทำการผลิตเองเพื่อสนองนโยบายของกรมการข้าว

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี ยกระดับ "เมล็ดพันธุ์ข้าว" พัฒนาชีวิตเกษตรกร

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานีได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อทำการผลิตในระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย ยกระดับมาตรฐานการผลิต ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริหารจัดการกลุ่มรวมถึงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีโอกาสเข้ามาสู่การส่งเสริมในระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่มากขึ้น

 

กลุ่มแปลงใหญ่ข้าววิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาถือได้ว่าเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ที่มีความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จ สมาชิกภายในกลุ่มดั้งเดิมมีอาชีพทำนาแต่เจอปัญหาทำแล้วขาดทุน ราคาข้าวตกต่ำ ผลผลิตน้อย ไม่มีคุณภาพ การทำนาต่างคนต่างทำ ไม่มีการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาด และราคาข้าวตกต่ำเกษตรกรทำนาขาดทุน มีหนี้สินตลอดมา 

 

 

ปี 2559 นายโชคดี ไล่สาม เป็นแกนนำในการคิดรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ เพื่อช่วยให้อาชีพการทำนาสามารถเลี้ยงดูเกษตรกรในชุมชนได้ สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยกลุ่มได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559 สมาชิก 66 ราย พื้นที่ประมาณ 400 กว่าไร่ ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้น เป็น 80 ราย พื้นที่ จำนวน 1,060 ไร่ 


ปี2560 กลุ่มของบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้งบประมาณ2,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างโรงสีข้าวของกลุ่ม ตามโครงการแผนปฏิบัติราชการปี 2560 จังหวัดสงขลา 

 

ปัจจุบันปี 2564 มีสมาชิกแปลงใหญ่จำนวน 79 ราย พื้นที่ จำนวน 1,682 ไร่ มีคณะกรรมการบริหารงาน จำนวน 17 ราย และคณะทำงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้านการผลิตข้าวคุณภาพ ด้านการบริหารจัดการศัตรูพืช ด้านการจัดการปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพ และด้านการจัดการเครื่องจักรกล การดำเนินงานด้านต่างๆ

 

เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว ซื้อปุ๋ยเคมีจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส) ในราคาต่ำกว่าท้องตลาดทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยจากสารเคมี อีกทั้งมีการแปรรูปข้าวสารเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ภายใต้แบรนด์ ข้าวตราช้างแคระ และได้จดทะเบียนนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 ชื่อ บริษัท วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่บ้านขาว จำกัด และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 2,969,999 บาท จากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด

 

นายโชคดี ไล่สาม ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าววิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กล่าวว่า แต่เดิมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่ได้มีการรวมกลุ่ม ไม่มีเครื่องจักรเพื่อการเกษตร ไม่สามารถกำหนดราคาจำหน่ายข้าวได้ ต่อมาได้รับการส่งเสริมและให้ความรู้ในเรื่องการผลิต"เมล็ดพันธุ์ข้าว"คุณภาพดีจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่า 20%


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ