ข่าว

คทช.หงษ์เจริญ ยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต” โลตัสรับซื้อผักถึงที่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นโยบาย "ตลาดนำการผลิต" ส.ป.ก. นำมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินภายใต้โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน(คทช.)ตามนโยบายรัฐบาลเช่นเดียวกับ คทช.หงษ์เจริญ ที่ยึดหลักนี้

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก.กล่าวว่าตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รมว.กษ.)ได้วางแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์และ 15 นโยบายหลักเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารสู่เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานสู่มิติใหม่นั้น

 

ส.ป.ก. ได้นำยุทธศาสตร์และนโยบายดังกล่าวที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาเกษตรกรรมและคุณภาพชีวิตเกษตรกรผ่านการพัฒนาศักยภาพการผลิต การบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารจัดการการตลาดให้แก่เกษตรกรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตลอดจนส่งเสริมการผลิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร การรวมกลุ่มผลิต มีการบริหารจัดการร่วมกันแบบกลุ่ม/สหกรณ์ ส่งเสริมการสร้างหน่วยธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภายนอกให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างครบวงจร

 

โดยเฉพาะนโยบาย "ตลาดนำการผลิต" ซึ่ง ส.ป.ก. นำมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินภายใต้โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน(คทช.)ตามนโยบายรัฐบาลโดยการประสานผู้ประกอบการให้รับซื้อผลผลิตของเกษตรกร ตลอดจนส่งเสริมให้เพิ่มช่องทางตลาดที่หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์

คทช.หงษ์เจริญ ยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต” โลตัสรับซื้อผักถึงที่

เลขาธิการ ส.ป.ก.ยกตัวอย่างการพัฒนาแปลงหมายเลข No 83(คทช.หงษ์เจริญ) ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร พื้นที่ประมาณ 6,415 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.

 

 

 

คทช.หงษ์เจริญ ยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต” โลตัสรับซื้อผักถึงที่

 

ทั้งนี้ เลขาธิการ ส.ป.ก. ได้ยกตัวอย่างการพัฒนาแปลงหมายเลข No 83 (คทช.หงษ์เจริญ) ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร พื้นที่ประมาณ 6,415 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) และได้ดำเนินการตามกระบวนการจัดตั้งสหกรณ์จดทะเบียนในชื่อ สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินหงษ์เจริญจำกัด เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562  มีสมาชิกจำนวน 106 ราย

คทช.หงษ์เจริญ ยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต” โลตัสรับซื้อผักถึงที่

และสหกรณ์ฯได้ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินตามแบบส.ป.ก. 4-139  เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม2562 โดยมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้ามาให้การสนับสนุนงบประมาณสร้างบ้านมั่นคงรายละ 40,000 บาท จำนวน 105 หลัง ปัจจุบันเกษตรกรได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับจัดสรรครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดแล้ว

คทช.หงษ์เจริญ ยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต” โลตัสรับซื้อผักถึงที่

ภายหลังจากที่ ส.ป.ก.ได้ปรับพื้นที่พัฒนาโครงสร้างพื้นที่ฐานที่จำเป็น และจัดที่ดินให้เกษตรกรได้เข้ามาทำประโยชน์ในพื้นที่โครงการ คทช.หงษ์เจริญ แล้ว ยังได้กำชับให้ ส.ป.ก.ชุมพร ส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามนโยบายของ รมว.กษ.

 

โดยเฉพาะนโยบาย "ตลาดนำการผลิต" ส.ป.ก.ชุมพร จึงได้ติดต่อประสานงานกับโลตัสภาคใต้ (Lotus’s (South)) ในการรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินหงษ์เจริญ จำกัด ไปจำหน่าย โดยโลตัสได้ตอบตกลงพร้อมทั้งส่งวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้ ในเรื่องการปลูกฟักทองและฟักเขียว ให้มีคุณภาพและได้ปริมาณที่ตรงตามความต้องการของตลาด ตามมาตรฐานข้อกำหนดสินค้าของโลตัส 

 

 

ตลอดจนขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตสู่โรงแพ็ค (Process to Pack house, HUB) และร่วมประชุมวางแผนกำหนดวันปลูกและวันเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อส่งขายกับโลตัส ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” แนวคิดด้านการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบใหม่ ให้ปริมาณการผลิตและความต้องการสินค้าเกษตรเกิดความสมดุลกันให้เกษตรกรเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ค้า โดยเกษตรกร คทช.หงษ์เจริญ ได้สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกผักส่งโลตัส จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นฟักทอง 20 ราย ฟักเขียว 20 ราย

 

นอกจากนี้ยังมีพริกจินดา พริกหยวก พริกหนุ่ม พริกชี้ฟ้า และผักชี โดยโลตัสมีความต้องการรับซื้อผลผลิต ฟักทอง สัปดาห์ ละ 1,000 กก. ฟักเขียว สัปดาห์ละ 500 กก. พริกชนิดต่าง ๆ สัปดาห์ละ 100 กก. และผักชี สัปดาห์ละ 200 กก. มียอดการสั่งซื้อ 2 รอบต่อเดือน ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายผักให้โลตัสครัวเรือนละ 5,000 บาทต่อเดือนซึ่งนอกจากโลตัสแล้ว ยังมีตลาดอื่นที่รองรับผลผลิตของเกษตรกร คทช.หงษ์เจริญ เช่น บริษัทกลุ่มทายาทเกษตรไทย จำกัด  ตลาดชุมชน และมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อส่งตลาดจังหวัดระนอง อีกด้วย

 

เลขาธิการ ส.ป.ก.กล่าวอีกว่า เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่พืชผัก คทช.หงษ์เจริญ  ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มย่อยในสหกรณ์ คทช.หงษ์เจริญ ยังได้ร่วมกันแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น ฟักทองฉาบ กล้วยเล็บมือนางฉาบ และ กล้วยน้ำว้าฉาบ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ตามการแนะนำของ ส.ป.ก.ชุมพร

 

ได้แก่Application Line,Facebook ภายใต้แบรนด์สินค้า พอ กะ เพียง คทช.หงษ์เจริญ โดยทาง ส.ป.ก.ชุมพร เล็งเห็นว่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา การจำหน่ายสินค้าช่องทางออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงได้แนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรทำตลาดออนไลน์ เพราะช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายในหลายพื้นที่ไม่สามารถทำการค้าขายแบบตลาดปกติได้ ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 

 

นายเดชา รักเพ็ชร ประธานสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินหงษ์เจริญ จำกัด กล่าวว่า ได้รับการจัดสรรที่ดินและเข้ามาอยู่ในพื้นที่เมื่อปี 2562 เริ่มแรกที่เข้ามาอยู่ พื้นที่ยังไม่มีความพร้อมในการทำเกษตรเท่าที่ควร เนื่องจากในพื้นที่มีความรกร้าง ประกอบกับปัญหาน้ำแล้ง  แต่ ส.ป.ก. ก็ได้เข้ามาช่วยดำเนินการปรับสภาพพื้นที่ให้มีความพร้อมและยังได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการมาสนับสนุนและส่งเสริมให้ทำการเกษตรได้จนถึงทุกวันนี้

 

พร้อมกล่าวเสริมว่า รู้สึกดีใจที่ ส.ป.ก.ชุมพร ติดต่อประสานงานกับโลตัสภาคใต้ ให้มารับซื้อผักจากเกษตรกรในพื้นที่เพราะส่วนใหญ่ในแปลงนอกจากปลูกกาแฟ จำนวน 2 ไร่ ตามข้อบังคับของสหกรณ์ฯ ก็ได้ปลูกพืชผักแบบผสมผสานและหมุนเวียนตามการวางแผนรับซื้อผักของโลตัสและตลาดต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเกษตรกรจะได้มีรายได้ที่มั่นคงและแน่นอน และขอขอบคุณ ส.ป.ก.ที่ได้จัดสรรที่ดินและสนับสนุนทุกอย่างทั้งเงินทุน ทั้งความรู้ทั้งตลาดรับซื้อของ ทำให้มีอาชีพ มีรายได้ มีความสุขที่ตื่นมาแล้วมีงานทำ ไม่ต้องออกไปรับจ้างที่อื่น ได้ทำเกษตรบนที่ดินของตนเอง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แค่นี้ชีวิตก็มีความสุขมากแล้ว 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ