ข่าว

"ชป." เร่งระบายน้ำลำตะคองและลำเชียงไกรลงสู่แม่น้ำมูล บรรเทาเดือดร้อน ปชช.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กรมชลประทาน" เร่งระบายน้ำในลำตะคองและลำเชียงไกร ลงสู่แม่น้ำมูลโดยเร็ว ลดผลกระทบพื้นที่น้ำเอ่อล้นตลิ่ง บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน จนกว่าจะสถานการณ์จะ เข้าสู่ภาวะปกติ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีน้ำท่าปริมาณมากไหลลงสู่ลำตะคองส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ 7 อำเภอ ได้แก่  สีคิ้ว สูงเนิน เมืองนครราชสีมา คงด่านขุนทด โนนไทย และโนนสูง

 

ซึ่งก่อนหน้านี้"กรมชลประทาน"ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ด้วยการพร่องน้ำในลำน้ำลำตะคองและลำบริบูรณ์ พร้อมกับหยุดการระบายน้ำจากเขื่อนลำตะคอง ตั้งแต่วัน 17 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมา เพื่อลดผลกระทบในพื้นที่ท้ายเขื่อนลำตะคอง อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับฝนที่อาจจะ
ตกลงมาอีก รวมทั้งรักษาระดับน้ำในเขื่อนลำตะคองให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 เขื่อนลำตะคอง จะระบายน้ำอีกครั้งในเกณฑ์ประมาณ 10 -20ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วินาที) โดยไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายเขื่อน

 

ทั้งนี้ น้ำที่ระบายจะเดินทางมาถึงอาคารแบ่งน้ำละลมหม้อใช้เวลาประมาณ 4 วันซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลายมากขึ้นแล้ว ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำด้านท้ายที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักและมีน้ำท่า(Side Flow)ปริมาณมาก นั้น ปัจจุบันปริมาณน้ำสูงสุดได้เคลื่อนผ่านประตูระบายน้ำข่อยงามและประตูระบายน้ำจอหอแล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำบริเวณอำเภอเมืองนครราชสีมา มีแนวโน้มลดลงหากไม่มีฝนตกเพิ่มเติม สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
ภายใน 2 - 3 วันนี้

 

 

 

"ชป." เร่งระบายน้ำลำตะคองและลำเชียงไกรลงสู่แม่น้ำมูล บรรเทาเดือดร้อน ปชช.

สำหรับการช่วยเหลือเร่งระบายน้ำ "กรมชลประทาน"ได้นำเครื่องผลักดันน้ำและเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งเพิ่มเติมบริเวณประตูระบายน้ำต่างๆ เพื่อเร่งระบายน้ำให้ไหลลงสู่แม่น้ำมูลโดยเร็วดังนี้ 
 

จุดที่ 1 ประตูระบายน้ำข่อยงาม ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 5 เครื่อง สามารถเพิ่มอัตราการไหลรวม 5.75 ลบ.ม./วินาที  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 2 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม 800ลบ.ม./ชั่วโมง  


"ชป." เร่งระบายน้ำลำตะคองและลำเชียงไกรลงสู่แม่น้ำมูล บรรเทาเดือดร้อน ปชช.

จุดที่ 2 ประตูระบายน้ำจอหอ ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 3 เครื่อง สามารถเพิ่มอัตราการไหลรวม  3.45 ลบ.ม./วินาที  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 10  นิ้ว 1 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม  500 ลบ.ม./ชั่วโมงและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 12 นิ้ว 1 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม  800 ลบ.ม./ชั่วโมง  

 

จุดที่ 3 ประตูระบายน้ำกันผม  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประเภท Hydroflow  ขนาด 28  นิ้ว  1 เครื่อง และขนาด 24 นิ้ว อีก 1 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม 2.50 ลบ.ม./วินาที และติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 8  นิ้ว 2 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม 800 ลบ.ม./ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำอีก 4 เครื่อง เพิ่มอัตราการไหลรวม 4.60 ลบ.ม./วินาที เพื่อเร่งระบายน้ำในลำตะคอง ช่วงที่ไหลผ่านตัวเมืองนครราชสีมาลงสู่แม่น้ำมูลให้เร็วที่สุดต่อไป

 

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) อำเภอโนนไทย ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯประมาณ 22.15 ล้าน ลบ.ม. ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำด้านท้ายอ่างฯ หากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติภายใน 4 - 5 วัน "กรมชลประทาน" ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 2 จุดในลำเชียงไกร รวม 14 เครื่อง เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังลงสู่แม่น้ำมูลต่อไป


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ