ข่าว

อัปเดต "สถานการณ์น้ำ" เขื่อนใหญ่ระบายน้ำเพิ่มลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อัปเดต "สถานการณ์น้ำ" เขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศระบายน้ำเพิ่มลดผลกระทบในพื้นที่น้ำท่วม ลำตะคลอง-ท่าจีนเดินเครื่องระบายน้ำเต็มกำลัง จับตาพื้นที่ท้ายเขื่อน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)รายการสถานการณ์น้ำและปัญหาน้ำท่วม โดยระบุว่า  สภาพปัญหาการระบายน้ำบริเวณแม่น้ำท่าจีน และเร่งรัดให้ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว ภายหลัง กอนช.มอบหมายให้กรมชลประทานตั้งศูนย์บริหารจัดการอุทกภัย (ส่วนหน้า) ลุ่มน้ำท่าจีน และมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำภาพรวมทั้งลุ่มน้ำท่าจีน และรายงานต่อ กอนช.ทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 

1.จัดจราจรน้ำโดยใช้ประตูระบายน้ำ (ปตร.) ต่าง ๆ

 

2.ปรับลดการรับน้ำลงสู่แม่น้ำท่าจีน   ตามปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ลดลง เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น และปรับลดการระบายน้ำ ปตร.ท่าโบสถ์     ปตร.กระเสียว-สุพรรณ และปตร.โพธิ์พระยา รวมทั้งให้หน่วงน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำและทยอยระบายน้ำเมื่อระดับน้ำแม่น้ำท่าจีนเริ่มลดลง และ 

 

3.ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำให้ลงสู่ทะเลโดยเร็ว 
 

สำหรับการระบายน้ำในเขื่อนต่างๆ ขณะนี้ กอนช. จะใช้ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน  ลดการรับน้ำผ่าน ปตร. พลเทพ (ปากแม่น้ำท่าจีน) จากอัตรา 100 ลบ.ม./วินาที เป็น 60 ลบ.ม./วินาที และจะทยอยลดลงตามลำดับ ประกอบกับการรับน้ำผ่านคลองชลประทานเพิ่มมากขึ้น ด้านฝั่งตะวันตก ได้แก่ คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง (คลอง มอ.) จาก 15 ลบ.ม./วินาที เป็น 25 ลบ.ม./วินาที และคลองมะขามเฒ่า-กระเสียว(คลอง มก.) จาก 8 ลบ.ม./วินาที เป็น 12 ลบ.ม./วินาที ด้านฝั่งตะวันออก คลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่าน ปตร.มโนรมย์ จาก 120 ลบ.ม./วินาที เป็น    140 ลบ.ม./วินาที คลองชัยนาท-อยุธยา รับน้ำผ่าน ปตร. มหาราช จากอัตรา 31 ลบ.ม./วินาที เป็น 35 ลบ.ม./วินาที รวมถึงติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนตามจุดต่าง ๆ ในการเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลเพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

นอกจากนี้ยังมีการระบายน้ำในเขื่อนลำตะคอง เพิ่มเติมเนื่องจากปัจจุบันอ่างเก็บน้ำลำตะคอง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 325.51 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังสามารถรับน้ำได้อีก 50 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ยังมีน้ำไหลเข้าอ่างลำตะคองอย่างต่อเนื่องประมาณ 3-4 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน และจากการพยากรอากาศ 7 วันข้างหน้าของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าช่วงวันที่ 27-28 ตุลาคม 2564 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจะมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 50-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก จึงจำเป็นต้องทยอยการะระบายน้ำด้วยอัตรา 10-20 ลูกบาศก์เมตร/วินาที หรือ 1-1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร / วัน เพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนลำตะคอง โดยจะเริ่มระบายน้ำตั้งแต่วันจันทร์ที่ 25 ต.ค.64 เป็นต้นไป

ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

 

  • สถานีหนองไผ่ ต.นาเฉลียง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบุรณ์ น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่ 94.54  ม.รทก.
  • สถานีคลองบางบาล ต.ไทรน้อย  อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่ 9.06 ม.รทก.
  • สถานีสามซุก  ต.สามซุก อ.สามซุก จ.สุพรรณบุรี น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่  8.37  ม.รทก. 
  • สถานีวิเชียรบุรี  ต.ท่าโรง อ.วิเชียรบุรี  จ.เพชรบูรณ์ น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่   66.66 ม.รทก. 
  • สถานีศรีมหาโพธิ์ ต.บ้านทาม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่  8.04  ม.รทก. 
  • สถานีท่านีคลองบางหลวง ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่ 6.89 ม.รทก.

 

ลุ่มแม่น้ำชี-มูล

  • สถานีน้ำพรม อ.เกษตรสมบูรณ์ ต.บ้านหัน อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ปริมาณน้ำมาก
  • สถานีลำเชิญ อ.ชุมแพ (ท้ายฝายโครงการชลประทานน้ำเชิญ) ต.สามสวน อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ  น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่ 221.40  ม.รทก.
logoline