
สาวแสบ โพสต์ลูกป่วย "หลอกตุ๋น" เงินชาวบ้าน เหยื่อหลงเชื่อ โอน18ครั้ง สูญ4แสน
สาวแสบสร้างโปรไฟล์น่าเชื่อถือ โพสต์ลูกสาวป่วย "หลอกตุ๋น" ยืมเงินเพื่อนในเฟซบุ๊ก เหยื่อหลงเชื่อโอนให้ 18 ครั้ง ก่อนถูกเชิดเงิน 4 แสน
เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 24 ต.ค.64 ที่ สน.บางนา น.ส.ส้ม (นามสมมุติ) อายุ 42 ปี ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้าบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ได้เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.ไพบูลย์ มาลา รอง สว.(สอบสวน) สน.บางนา เพื่อให้ปากคำเพิ่มเติมกรณีที่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับ น.ส.พลอยตะวัน อดิศักดิ์โสภณบดี อายุ 42 ปี เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ในข้อหาฉ้อโกง โดยการหลอกลวงให้หลงเชื่อยอมโอนเงินรวม 18 ครั้ง รวมเป็นเงิน 435,000 บาท "หลอกตุ๋น"
น.ส.ส้ม เปิดเผยว่า เมื่อปี 2557 เฟซบุ๊กบัญชีชื่อ Ploytawan Adisaksophonbordee ใช้รูปโปรไฟล์เป็นใบหน้าผู้หญิงผิวขาวหันหลัง แอดมาขอเป็นเพื่อน เมื่อเข้าไปดูโปรไฟล์ของเฟซบุ๊กดังกล่าวพบว่า ได้มีการโพสต์ภาพหญิงสาวหน้าตาดี ขณะไปทำบุญบ้าง ไปเป็นวิทยากรบ้าง ไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศบ้าง และมีการโพสต์ข้อมูลว่าทำงานอยู่ที่บริษัท เอส ซี จี(บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด) จบการศึกษาระดับสูงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "หลอกตุ๋น"
พร้อมกับระบุว่าเป็นวิทยากรอยู่ที่นิด้าด้วย นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรในการอบรมหลักสูตรต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน และยังบอกว่าเป็นเจ้าของสวนทุเรียนด้วย ตนเห็นว่าบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นคนมีความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ มีหน้าที่การงานดีและเป็นคนสนใจในหลักธรรม ชอบทำบุญเหมือนกับเรา จึงได้รับแอดเป็นเพื่อน ก่อนจะทำความรู้จักคุ้มเคยกันเรื่อยมาทางเฟซบุ๊ก "หลอกตุ๋น"
ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่รู้จักกันผ่านทางเฟซบุ๊ก หญิงคนดังกล่าวได้มีการโพสต์ภาพของเด็กผู้หญิง อ้างว่าเป็นรูปลูกสาวหลายภาพ ตั้งแต่แรกเกิด ขณะไปท่องเที่ยวบ้าง ไปส่งลูกที่โรงเรียนบ้าง จนถึงตอนเข้าโรงพยาบาลรักษาตัว ต่อมาปี 2562 ได้ขาดการติดต่อจากบัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าว "หลอกตุ๋น"
กระทั่ง น.ส.พลอยตะวัน (สงวนนามสกุล) "หลอกตุ๋น" ได้ติดต่อโทรมาคุยผ่านMessenger อ้างว่าเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กชื่อบัญชี Ploytawan Adisaksophonbordee ได้ยินแต่เสียงโดยไม่เห็นหน้าผู้ที่โทร พร้อมกับเล่าเรื่องราวชีวิตในช่วงที่ขาดการติดต่อไป โดยระบุว่ามีปัญหาชีวิตที่ประสบอยู่เวลานี้ ลูกสาวมีอาการป่วยเป็นโรคไข้เลือดชนิดร้ายแรง ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปแล้วกว่า 18 ล้านบาท วันนี้จะต้องจ่ายค่าเทอมให้ลูกสาวที่เรียนอยู่แผนกอนุบาลสาธิตจุฬา เป็นเงิน 35,000 ถ้าไม่จ่าย จะไม่ให้ลูกสาวเข้าสอบพร้อมเพื่อน เขาเกิดความเครียด วิตกกังวลกลัวว่า ลูกสาวจะไม่ได้ขึ้นชั้น ป.1 แต่เวลานี้ตัวเขาไม่มีเงินติดตัวเลย ก่อนจะออกปากขอยืนเงิน เพื่อเป็นค่าเทอมของลูกสาว และค่าน้ำค่าไฟ ด้วยความที่รู้จักคุ้นเคย เพราะพูดคุยกันผ่านเฟซบุ๊กมานานกว่า 5 ปี "หลอกตุ๋น"
ประกอบกับความสงสารเด็ก ที่เห็นภาพลูกเขาป่วยและอนาคตทางการศึกษาของเด็ก ตนจึงบอกไปว่า ขณะนี้ตนไม่มีเงินสดเลย แต่ถ้าต้องการจริงๆ ก็จะใช้เงินในบัตรเครดิตโอนเงินให้ก่อน น.ส.พลอยตะวัน ได้กล่าวขอบคุณ และแจ้งเลขบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี น.ส.พลอยตะวัน (สงวนนามสกุล) ของเธอมาให้ จึงได้โอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตแบ็งค์กิ้ง จำนวน 40,000 บาท ไปให้เป็นค่าเทอมของลูกสาว และค่าน้ำค่าไฟ โดยสัญญาว่าที่ดินสวนทุเรียนจำนองธนาคารได้แล้ว จะนำเงินมาคืนให้ทันที "หลอกตุ๋น"
จากนั้น น.ส.พลอยตะวัน ก็ส่งข้อความ "หลอกตุ๋น" ขอยืมเงินเรื่อยมา โดยมีการโอนเงินให้ทั้งหมด 18 ครั้ง เป็นเงินกว่า 4 แสนบาท ต่อมาจึงได้ตัดสินใจ ส่งข้อความไปหา พร้อมกับโทรศัพท์ไปสอบถามว่า จะคืนเงินให้เมื่อไหร่ โดยทาง น.ส.พลอยตะวัน แจ้งว่า จำนองที่ดินกับธนาคารได้แล้ว และจะคืนให้ได้ในวันที่ 17 เม.ย. แต่เมื่อถึงกำหนดก็ไม่มีการโอนเงินคืน ดังนั้น จึงได้พยามยามทวงถามอีกหลายครั้งแต่ น.ส.พลอยตะวัน บ่ายเบี่ยงมาตลอด จนกระทั่งไม่สามารถติดต่อได้อีก
น.ส.ส้ม กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา ได้พยายามเข้าไปค้นหาข้อมูลบรรดาเพื่อนในเฟซบุ๊กบัญชี Ploytawan Adisaksophonbordee เพื่อสอบถามว่า สามารถติดต่อกับ น.ส.พลอยตะวัน ได้หรือไม่ ก่อนจะพบว่า มีผู้เสียหายถูก "หลอกตุ๋น" ยืมเงินค่ารักษาลูกและแม่แบบเดียวกับตน อีกนับสิบราย โดยมีการหลอกยืมเงินไปตั้งแต่หลักหมื่น ถึงหลักแสนบาท นอกจากนี้ยังพบว่า น.ส.พลอยตะวัน มีความสัมพันธ์ในครอบครัวแปลกๆ "หลอกตุ๋น"
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบข้อมูลในเฟซบุ๊ก พบว่า มีการใช้ภาพถ่ายหญิงสาวสวมชุดครุย ระบุชื่อว่า “ศาสดาจารย์ด็อกเตอร์พลอยตะวัน (สงวนนามสกุล)” ระบุตำแหน่งว่าเป็นวิทยากรโครงการอบรมแนวโน้มมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชีที่สำคัญในปี 2558 สังกัดภาควิชาการบัญชีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เมื่อสังเกตในภาพที่โพสต์ พบว่า รูปถ่ายของหญิงสวมชุดครุยเป็นภาพใบหน้าของ น.ส.พลอยตะวัน ที่มีการตัดต่อแล้วนำรูปถ่ายไปแปะบนใบประกาศ
ซึ่งในเรื่องนี้ทางภาควิชาการบัญชี จุฬาฯได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2564 ว่า ตามที่ได้มีบุคคลที่อ้างอิงภาพประชาสัมพันธ์โครงการอบรมของชุมนุมบัญชี สังกัดภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระบุว่า ตนชื่อ ศ.ดร.พลอยตะวัน (สงวนนามสกุล) และเคยเป็นวิทยากรให้กับโครงการอบรมของชุมนุมบัญชี สังกัดภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ภาควิชาฯ ขอเรียนให้ทราบว่า ภาควิชาฯ ไม่รู้จักและไม่เคยเชิญบุคคลที่มีชื่อสกุลดังกล่าวมาเป็นวิทยากรของภาควิชาฯ แต่อย่างใด "หลอกตุ๋น"
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนจึงแน่ใจว่า น.ส.พลอยตะวันได้หลอกลวงตนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ตนหลงเชื่อจึงยอมส่งมอบทรัพย์สินให้ เป็นเหตุให้ตนได้รับความเสียหายจึงมาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับ น.ส.พลอยตะวัน ผู้ต้องหารายนี้ในข้อหาฉ้อโกงโดยมีเจตนาให้ได้รับโทษตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียก น.ส.พลอยตะวัน มาพบ ก่อนจะเปิดโอกาสให้เจรจาผ่านมือถือกับ น.ส.ส้ม ผู้เสียหายต่อหน้าพนักงานสอบสวน ว่ายินดีจะชำระเงินจำนวน 1 แสนบาท ในวันที่ 10 ต.ค. 2564 ก่อน ส่วนที่เหลือจะมาตกลงกันอีกที แต่เมื่อถึงกำหนดวันนัด น.ส.พลอยตะวัน ก็ไม่มาตามนัดหมาย และยังไม่มีการชำระเงินตามที่รับปากไว้ น.ส.ส้ม จึงได้แจ้งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาถึงที่สุด "หลอกตุ๋น"
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวน สน.บางนา ได้แจ้งข้อหาฉ้อโกงต่อ น.ส.พลอยตะวัน พร้อมทั้งรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อส่งสำนวนให้อัยการ ล่าสุดพนักงานอัยการได้ให้พนักงานสอบสวน สอบเพิ่มเติมบางประเด็น จึงนัดผู้เสียหายมาสอบปากเพิ่มเติมต่อไป "หลอกตุ๋น"