ข่าว

ม็อบ "ยกทรง" บุกทำเนียบ ร้อง "นายกฯ" เยียวยาชดเชย 242 ล้านบาท

ม็อบ "ยกทรง" บุกทำเนียบ ร้อง "นายกฯ" เยียวยาชดเชย 242 ล้านบาท

19 ต.ค. 2564

สหภาพแรงงาน ไทรอัมพ์ บุกทำเนียบฯ ขณะ นายกฯ กำลังประชุม ครม. เพื่อเรียกร้องเยียวยา ชดเชย 242 ล้านบาท หลังถูกนายจ้างปล่อยลอยแพพนันงานผลิต "ยกทรง"

(19ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่บริเวณถนนพิษณุโลก เชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล นางกรรจาย แก้วชู ตัวแทนสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล แห่งประเทศไทย "ยกทรง" พร้อมด้วยพนักงานบริษัทไทรอัมพ์ ที่ถูกเลิกจ้าง กว่า 100 คน ได้เดินทางมาร้องเรียน เรื่องเงินค่าชดเชย หลังจากถูกเลิกจ้าง และไม่ได้รับค่าชดเชย 

 

ม็อบ \"ยกทรง\" บุกทำเนียบ ร้อง \"นายกฯ\" เยียวยาชดเชย 242 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ ตามที่บริษัทบริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ไทย โกลบอล จ.สมุทรปราการ ผู้ผลิตชุดชั้นในยี่ห้อดัง Victoria's Secret / LBI ฯลฯ ส่งออกเอเชีย ยุโรป อเมริกา มี นางสาวมัน ชี แองเจล่า เลา (Angie Lau) และ นางสาวมัน ยิน เอมิลี่ เลา (Emily Lau) ชาวฮ่องกง เป็นเจ้าของ ได้ปิดกิจการและย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น

 

โดยมีการเลิกจ้างคนงานผลิต "ยกทรง1,388 คน และไม่ได้ชดเชยค่าแรง ตามกฎหมายแรงงานเป็นจำนวนเงิน 242 ล้านบาท ทำให้คนงานหญิงและครอบครัวเดือดร้อน โดยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ได้จ่ายเงินสงเคราะห์จำนวน 21 ล้านบาท คิดเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ของสิทธิประโยชน์ทั้งหมดที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมาย "ยกทรง"

 

ทั้งนี้ เมื่อกระทรวงแรงงาน ซึ่งมีนายสุชาติ ชมกลิ่น เป็นรัฐมนตรี ไม่สามารถบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยได้ กฎหมายแรงงาน จึงได้กำหนดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อจ่ายเงินเยียวยาเต็มตามสิทธิกฎหมายแรงงาน และให้กระทรวงแรงงานติดตามดำเนินคดีนายจ้างให้นำเงินมาชดใช้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่อไป

 

แต่ทว่า กระทรวงแรงงาน กลับเพิกเฉย ปล่อยปละ ละเลยต่อการคุ้มครองแรงงาน และการบังคับใช้กฎหมายแรงงานเป็นเวลากว่า 8 เดือนด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ คนงานหญิงกว่า 100 คน จึงได้มาร้องเรียนต่อรัฐบาลให้ดำเนินการจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นไปตามสิทธิประโยชน์กฎหมายแรงงานและกำหนดมาตรการเพื่อบังคับใช้กฎหมายแรงงานให้เป็นจริง โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้ "ยกทรง"

 

1. ขอให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดำเนินการและช่วยนำเงินจำนวน 242,689,862 บาท มาจ่ายค่าจ้าง พนักงาน "ยกทรงแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โบนัสและเบี้ยขยันให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

 

ม็อบ \"ยกทรง\" บุกทำเนียบ ร้อง \"นายกฯ\" เยียวยาชดเชย 242 ล้านบาท

 

2.ขอให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการและช่วยติดตามนายจ้างมารับผิดชอบนำเงินจำนวนดังกล่าวมารับผิดชอบ เพราะเป็นเงินภาษีของประชาชนทุกคน

3.ขอให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการตามกฎหมายอาญาอย่างเด็ดขาดเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างให้นายจ้างรายอื่นดำเนินการเช่นนี้กับประชาชนคนไทยอีก

 

4.ขอให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการหามาตรการป้องกันไม่ให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนแล้วหอบเงินหนีปล่อยลอยแพลูกจ้างเช่นนายจ้างรายนี้

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 สหภาพแรงงานและสมาชิกได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี และ วันที่ 8 ตุลาคม 2564 สหภาพแรงงานได้ประชุมร่วมกับ นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และได้รับข้อเรียกร้อง เพื่อจะทำหนังสือนำเรียนถึงนายกรัฐมนตรี "ยกทรง"

 

ขณะนี้เวลาผ่านมาหลายวันแล้ว สหภาพแรงงาน "ยกทรง" จึงได้มาทวงถามความคืบหน้าข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี ว่าได้ดำเนินการหรือไม่อย่างไร และขั้นตอนในขณะนี้ถึงไหนแล้ว และขอให้นายกรัฐมนตรีช่วยดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชย / ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า / ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี / โบนัส และ เบี้ยขยันเพื่อจะได้บรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างต่อไป

 

สำหรับบรรยากาศบริเวณหน้าทำเนียบ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ จัดกำลังรักษาความปลอดภัย จำนวน 1 กองร้อย เพื่อดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม ม็อบ "ยกทรงก่อนที่ผู้ปราศรัยจะขอให้เจ้าที่ตำรวจพูดให้น้อยๆ หน่อย หากเก่งจริง ให้ไปจับนายจ้างมาดำเนินคดีให้ได้