ข่าว

"ศมข.เชียงใหม่" ชูนาแปลงใหญ่ป่าสัก ต้นแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ศมข.เชียงใหม่" ชูนาแปลงใหญ่ป่าสัก ต้นแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีสร้างรายได้งาม จากประสบการณ์ผลิตเมล็ดพันธุ์มากว่า 2 ทศวรรษ ส่งผลให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น เมื่อเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ หรือนาแปลงใหญ่เมื่อปี2561

 

 

กลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสันคะยอม เมื่อปี 2544 โดยการให้ความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์จากเจ้าหน้าที่ "ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่" ปัจจุบัน มีสมาชิก 37 ราย พื้นที่ 370 ไร่  จากประสบการณ์ผลิตเมล็ดพันธุ์มากว่า 2 ทศวรรษ ส่งผลให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น เมื่อเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ หรือนาแปลงใหญ่เมื่อปี2561

 

 

ความเข้มแข็งจากการรวมกลุ่ม ทำให้ได้รับการพัฒนาต่อยอดด้านการผลิตและการตลาด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยมุ่งเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด นำไปสู่การพัฒนาเป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานการผลิตข้าวที่ได้รับการรับรอง ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

 

"ศมข.เชียงใหม่" ชูนาแปลงใหญ่ป่าสัก ต้นแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

 

นายขจร  โนวัฒน์ ผู้อำนวยการ "ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่" กล่าวว่า กลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลป่าสักนี้ น่ายกย่องถึงแม้กลุ่ม ฯจะเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้สูงอายุค่อนข้างเยอะ แต่ก็เป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้กับ"ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่"มาอย่างยาวนานมาก และถึงแม้ในปัจจุบันปริมาณน้ำฝนจะลดลงในบางฤดูปลูก แต่กลุ่มก็ยังมีความพยายามในการแก้ไขปัญหา

 

"ศมข.เชียงใหม่" ชูนาแปลงใหญ่ป่าสัก ต้นแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

 

เช่น การปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกโดยใช้นวัตกรรมการหยอดข้าวแห้ง การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ ทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านมาตรฐานมาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มจึงสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับ "ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่" และจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงพ่อค้าที่มาติดต่อรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจนหมดทุกฤดูการผลิต ส่งผลให้สมาชิกสามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตของตนเองได้มากกว่าร้อยละ 20 ทุกคน

 

"ศมข.เชียงใหม่" ชูนาแปลงใหญ่ป่าสัก ต้นแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

 

 

ซึ่ง"ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่"เน้นย้ำกับเกษตรกรเสมอว่า การผลิตข้าวเป็นเมล็ดพันธุ์นั้นไม่เหมือนกับการผลิตข้าวขายให้พ่อค้า เมล็ดพันธุ์ที่จะส่งต่อให้ถึงมือชาวนาผู้ปลูกข้าวต่อไปต้องเป็น เมล็ดพันธุ์ดี มีคุณภาพ เท่านั้น  โดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ดีมีคุณภาพ จะต้องควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว และการจำหน่าย

 

"ศมข.เชียงใหม่" ชูนาแปลงใหญ่ป่าสัก ต้นแบบเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

 

 

 

เช่น หากเจอข้าวแดง ข้าวพันธุ์ปน ข้าวลีบ ข้าวไม่งอก ในเมล็ดพันธุ์ ก็ถือว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นไม่มีคุณภาพ ฉะนั้นศูนย์ฯก็จะเข้าไปส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรศึกษาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของข้าว ข่าวสาร องค์ความรู้ต่าง ๆ หรือแม้แต่สภาวะอากาศที่จะก่อให้เกิดโรคข้าว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก และกรมการข้าวก็ได้มีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์บางส่วนเป็นต้นทุนเริ่มต้นในการบริหารจัดการของกลุ่มด้วย เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรผลิตออกมาก็จะสามารถเก็บเกี่ยวและเก็บรักษาเพื่อจำหน่ายได้อย่างมีมาตรฐาน

 

 

 ด้านนายสิงห์ชัย พิงคะสัน ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลป่าสัก กล่าวว่า กลุ่มฯได้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ "ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่" ในการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต และการปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การบริหารจัดการกลุ่ม การบริหารการตลาด ส่งผลให้กลุ่มจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวหมดทุกปี ปีไหนที่ฟ้าฝนไม่ดีกลุ่ม ฯ ก็จะปรับวิธีการเพาะปลูกใช้เครื่องจักรเครื่องมือเข้ามาช่วย โดยการก็ใช้เครื่องหยอดข้าวแห้งแทนการปักดำลดต้นทุนการผลิตจากการจ้างปักดำ ไร่ละ 1,200 บาท เป็นจ้างหยอดเพียง ไร่ละ  400 บาท

 

 

เมื่อก่อนสมาชิกทำนาแบบใช้นาหว่าน ก็ใช้ข้าวเมล็ดพันธุ์ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ แต่พอเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ เจ้าหน้าที่จากศูนย์ฯแนะนำองค์ความรู้ต่าง ๆ กลุ่มปรับเปลี่ยนการใช้เมล็ดพันธุ์ 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ ลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์คิดเป็นเงิน 250-350 บาทต่อไร่อีกทั้งกลุ่มยังได้รวมกลุ่มกันทำน้ำหมักชีวภาพใช้ เพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดโรค/แมลงศัตรูข้าว 

 

 

 นอกเหนือจากการลดต้นทุน การใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นแล้วนั้น กลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลป่าสัก มีการพัฒนาคุณภาพข้าว โดยการเข้าร่วมโครงการการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP Seed) ของกรมการข้าว ทำให้สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับ "ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่" ได้ถึง 150-200 ตันต่อฤดูการผลิตสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ทำเป็นเมล็ดพันธุ์ ไม่ต่ำกว่าปีละ 3 ล้านบาท และสามารถผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวในรูปแบบของศูนย์ข้าวชุมชน ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงได้15-20 ตันต่อฤดูการผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตของสมาชิกให้สูงกว่าการจำหน่ายเป็นข้าวเปลือกเพื่อการบริโภคให้กับโรงสีทั่วไปอย่างมาก 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ