ข่าว

โชว์ค้าชายแดนพุ่ง "จุรินทร์" นำพาณิชย์แถลงการส่งออกบวกเพิ่ม 39%

"จุรินทร์" นำพาณิชย์ โชว์ค้าชายแดน-ผ่านแดน พุ่งต่อเนื่อง การส่งออกทำรายได้ 91,133 ล้านบาท บวกเพิ่ม 39% ส่งออก 8 เดือนแรก ทะยาน 682,184 ล้านบาท

วันที่ 29 กันยายน 2564 ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อภาคเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ชนิดที่ต้องเยียวยากันอีกยาวนาน กว่าจะฟื้นตัว แต่สถานการณ์การค้าชายแดน-ผ่านแดน กลับโตสวนกระแส ล่าสุดมีความชัดเจนในเรื่องนี้จากภาครัฐที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ 

 

 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ประจําเดือนสิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยมี นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข

 

 

โดยเปิดเผยว่า การค้าชายแดนประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ เมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย การค้าผ่านแดน คือข้ามไปยังจีน เวียดนามและสิงคโปร์ เป็นหลัก รวม 7 ประเทศสำคัญ 

 

 

สำหรับตัวเลขรวมการค้าชายแดนและผ่านแดน เดือนสิงหาคม มีมูลค่า 147,638 ล้านบาท +32.56% เป็นการส่งออก 91,133 ล้านบาท +39%และไทยได้ดุลการค้า 34,628 ล้านบาท

 

 

โดย 8 เดือนแรก ตั้งแต่ มกราคมถึงสิงหาคมสามารถส่งออกผ่านการค้าชายแดนและผ่านแดนได้ 682,184 ล้านบาท +38.03%

 

 

ประเทศมาเลเซียเป็น +25.38% กัมพูชา +8.85% สปป.ลาว +23.93% เมียนมา +16.23% ส่วนการค้าผ่านแดน 3 ประเทศ จีนส่งออก +100.12% สิงคโปร์ +63.67% เวียดนาม -9.19%

ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า การค้าผ่านแดนไปยังประเทศจีนเป็นบวกมากถึง 100.12% และการส่งออกไปจีนนั้นเป็นผลไม้ถึง 60% มูลค่า 14,700 ล้านบาท โดยการส่งออกผลไม้ไปจีนทางบกเดือนสิงหาคม ขยายตัวถึง 217.4% ทุเรียนมีมูลค่า 11,000 ล้านบาท มังคุด 3157 ล้านบาท ลำไย 421 ล้านบาท เป็นต้น การค้าทางบกไปจีนขยายตัวถึงหนึ่งเท่า

 

 

ประเด็นที่สอง การเปิดด่านรอบประเทศที่มีด่านอยู่ 97 ด่าน เปิดได้แล้ว 46 ด่าน โดยเฉพาะลาว มาเลเซียและกัมพูชา ตนมีนโยบายเร่งรัดการผลักดันให้เร็วและมากที่สุด เพื่อให้การค้าชายแดนและผ่านแดนขยายตัวมากกว่านี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

นายจุรินทร์  กล่าวอีกว่า สำหรับด่านระหว่างไทยกับลาวมี 7 ด่าน ตนได้มอบให้กรมการค้าต่างประเทศประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมี 6 จังหวัด ใน 7 ด่านนี้คือ เชียงราย เลย หนองคาย นครพนมมุกดาหาร และอุบลราชธานี

 

 

และประชุมเสร็จสิ้นแล้วมีการจัดทำแผนการเปิดด่านส่งให้ สปป.ลาว พิจารณา รอคำตอบจาก สปป.ลาวหวังว่าจะมีความคืบหน้าโดยเร็ว

 

 

ขณะที่ด่านไทยกับมาเลเซีย เร่งรัดการเปิดด่านเพิ่มอีก 2 ด่าน ที่จังหวัดนราธิวาสคือตากใบกับบูเก๊ะตา ขณะนี้ได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์เร่งรัดติดตามกับทางการมาเลเซีย

 

 

โดยประเทศไทยพร้อมที่จะเปิดในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 นี้แต่รอคำตอบจากมาเลเซียอีกครั้งหนึ่ง 

 

 

ส่วนด่านกัมพูชาในด่านสำคัญอยากเห็นการเร่งรัดการเปิดบ้านหนองเอี่ยน ที่จังหวัดสระแก้วซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี (สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโซ ฮุนเซน) ของกัมพูชาได้เข้าพบตนที่กระทรวงพาณิชย์และมีการหารือกันในประเด็นสำคัญ 2-3 ประเด็น

 

 

โดยประเด็นที่ฝั่งกัมพูชาอยากเห็น คือ อยากให้ฝั่งไทยช่วยเร่งรัดในการแก้ปัญหาการจราจรหน้าด่านที่ฝั่งไทยเพื่ออำนวยความสะดวกให้สินค้าจากไทยข้ามไปกัมพูชาได้โดยเร็วและสะดวกขึ้น เพื่อความสะดวก อยากให้ไทยเร่งรัดการเปิดด่านหนองเอี่ยน เพื่อถ่ายเทการจราจรอีกช่องทางหนึ่งให้สะดวกขึ้น รวมทั้ง ขอให้ฝั่งไทยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการนำเข้าส่งออกสินค้าเกษตรระหว่างกันได้สะดวกขึ้นโดยเฉพาะข้อตกลงในมาตรการด้านสุขอนามัยระหว่างกัน

 

 

ส่วนตนได้แจ้งให้ทางกัมพูชา การเปิดด่านหนองเอี่ยนมีความเห็นตรงกันและเมื่อครั้งที่ตนไปเยือนกัมพูชาก่อนเกิดโควิด ได้เจรจากับรัฐมนตรีการค้า ว่าจะใช้วิธีการเปิดด่านหนองเอี่ยน โดยไม่ต้องรอให้ด่านฝั่งไทยสร้างเสร็จแบบถาวรแต่จะใช้ตู้คอนเทนเนอร์ไปพลางก่อนเพื่อการค้าระหว่างกันจะได้เดินหน้าได้ ซึ่งจะมีการหารือเพื่อเร่งรัดการแก้ปัญหา เช่น การติดขัดในบางส่วนให้เสร็จโดยเร็ว

 

 

ขณะเดียวกันได้ขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าไทยที่ไปโพสต์ขายอยู่ใน klangthai.com ของกัมพูชาประมาณ 220 กว่ารายการ ให้ชาวกัมพูชาได้รับทราบเพิ่มเติม

 

 

นอกจากนี้ ตนประสงค์จะเห็นการประชุม JTC เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชามากขึ้นโดยในปี 2561 กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ ปี 2562 เราเป็นเจ้าภาพแต่ติดโควิด เลยเรียนให้ท่านทราบว่าถ้าเป็นไปได้อยากเห็นการประชุม JTC ระหว่างไทยกับกัมพูชา เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกันในต้นปีหน้า หวังว่าจะช่วยเพิ่มการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น เพราะกัมพูชาถือเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 6 ของไทยในอาเซียนและอันดับที่ 26 ของโลกสำหรับประเทศไทย 

 

 

โดยช่วง 8 เดือนไทยสามารถส่งออกไปกัมพูชาได้ 141,000 ล้านบาท +10.8% และไทยได้ดุล 120,000 ล้านบาท สินค้าส่งออกของไทยที่ไปกัมพูชาสำคัญ เช่น น้ำมันสำเร็จรูป +67.5% น้ำตาลทราย +63.6% ยานยนต์ +36.2% เคมีภัณฑ์ +34.1% ส่วนสินค้าที่นำเข้าเป็นหลัก เช่น ผักผลไม้ มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กล้วย พริก สินแร่และอัญมณี เป็นต้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวยอดนิยม