ข่าว

"กยท."จับมือจีนผสานเทคโนโลยีกับยางพันธุ์ดี มุ่งหวังเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน

16 ก.ย. 2564

"กยท."ร่วมมือกับสถาบันวิจัยยางฯของจีนลงนาม MOU พัฒนาเทคโนโลยีคิดค้นใหม่เพิ่มปริมาณน้ำยาง เทคนิคแก้ปัญหาตรวจหาเนื้อยางแห้ง เทคนิคกรีดยางถ่ายทอดให้ เกษตรกรชาวสวนยาง มั่นใจช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ และส่งเสริมอุตสาหกรรมยางของทั้ง 2 ประเทศ

 

 

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เปิดเผย เมื่อเร็วๆนี้"กยท."ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU)กับสถาบันวิจัยยางของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรเขตร้อนของจีน (CATAS)ภายใต้การสนับสนุนรัฐบาลจีนเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีคิดค้นใหม่ด้านสวนยางพารา

 

 

\"กยท.\"จับมือจีนผสานเทคโนโลยีกับยางพันธุ์ดี มุ่งหวังเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน

 

 

ประกอบด้วย การติดตาด้วยต้นเล็กการกรีดที่กระตุ้นด้วยสาร Ethlin (สารกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพสูง)การควบคุมหน้ากรีดยางแห้ง (TPD) ด้วยสาร Sipikang (การรักษา TPD) การกรีดยางด้วยมีดกรีดแบบใช้มอเตอร์และการตรวจหาปริมาณเนื้อยางแห้ง(DRC)ด้วยอุปกรณ์ทดสอบ DRC ที่มีความเที่ยงตรงสูง

 

 

ทั้งนี้หลังการลงนาม CATAS จะได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในแปลงสาธิตและหลัก สูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางการเพาะปลูกและเทคโนโลยียางให้กับเจ้าหน้าที่ของ กยท. เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ และนักวิชาการของไทย

 

 

ในส่วนของ กยท.จะสนับสนุนพื้นที่จัดหาต้นยางและแปลงสาธิตที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทราและศูนย์วิจัยยางหนองคาย เป็นพื้นที่รวมประมาณ 12.5 ไร่  โดยมีระยะเวลาทำงานร่วมกัน 2 ปี 

 

 

 

 

ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมในการปลูกยางพารารวมทั้งสถาบันวิจัยยางของ "กยท." ก็มีจุดแข็งในด้านพันธฺุ์ยางที่ดีอีกด้วย

 

 

\"กยท.\"จับมือจีนผสานเทคโนโลยีกับยางพันธุ์ดี มุ่งหวังเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน

 

 

ในขณะที่ประเทศจีนมีเทคโนโลยีที่ดี ทันสมัย ดังนั้นหากร่วมกันพัฒนาจะได้ผลงานออกมาที่เป็นรูปธรรมแน่นอนไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำยางได้ในระยะการกรีดเท่าเดิม การยืดอายุการโค่น
ต้นยาง  เทคนิคการกรีดยางด้วยมีดกรีดแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่จะเข้าช่วยแก้ปัญหาเรื่องแรงงาน

 

 

\"กยท.\"จับมือจีนผสานเทคโนโลยีกับยางพันธุ์ดี มุ่งหวังเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน

 

 

อีกทั้งช่วยลดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการตรวจค่า DRC ให้เกษตรกร  ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าบันทึก MOUครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยที่จะได้พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับยางพาราของไทย

 

 

ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกยางที่สำคัญของไทย ก็
จะมียางที่มีคุณภาพและมีปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ

 

 

นอกจากนี้ยังถือเป็นการสนับสนุนกิจกรรมวิจัยข้ามพรมแดน รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยของทั้งสองประเทศอีกด้วย นายณกรณ์ กล่าว