ข่าว

ทีมวิจัยญี่ปุ่นติดเครื่องวัด "สารกัมมันตรังสี" บนงูเพื่อตรวจสอบสารคงค้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประเทศญี่ปุ่นมีทีมนักวิจัยทำการทดลองวัดระดับของ "สารกัมมันตรังสี" ที่เหลืออยู่ใน เมืองฟุกุชิมะ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนี้จะเก็บไปศึกษาต่อว่าสารที่คงเหลือจะส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์อย่างไร

การทดลองนี้ทำโดยติดอุปกรณ์ติดตาม (จีพีเอส) และเครื่องวัดปริมาณกัมมันตรังสีด้วยเทปและกาว "ไว้บนลำตัวของงู” เพื่อให้งูเลื้อยออกไปวัดระดับกัมมันตรังสีในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิที่ประสบปัญหาการระเบิดสามครั้งในเดือนมี.ค. 2554 จากการพัดถล่มของคลื่นสึนามิ ซึ่งการระเบิดที่โรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นนั้นปล่อยสารกัมมันตรังสีสู่ชั้นบรรยากาศและลงดินมากเป็นอันดับสองรองจากภัยพิบัติเชอร์โนบิลในปี 2529

ที่เมืองฟุกุชิมะผู้คนราว 150,000 คนต้องรีบอพบพทันทีหลังเกิดเหตุ และแม้ว่าวันนี้หลายคนจะเดินทางกลับมายังเมืองนี้แล้วแต่พื้นที่อีกกว่า 400 ตารางกิโลเมตรยังไม่สามารถให้มนุษย์กลับไปอยู่ได้


 

จากการทดลอง พวกงูเลื้อยไปยังพื้นที่ที่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 24 กิโลเมตรซึ่งพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่บริเวณบ้านของพวกมัน ทำให้มันได้รับร่องรอยทางชีวภาพติดตัวกลับมาด้วย นักวิจัยพบว่างูในเขตฟุกุชิมะมีระดับ สารซีเซียม 134 และ 137 (สารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง) สูงกว่างูทั่วไปประมาณ 22 เท่า ซึ่งทีมนักวิจัยอธิบายว่า “สารซีเซียซีเซียม 134 และ 137 ที่สะสมอยู่ในดินได้ฝังตัวเข้ามาอยู่ในเนื้อเยื่อของงู แต่เรายังไม่เข้าใจว่าระดับไหนจะเป็นอันตราย”


จึงทำให้ทีมนักวิจัยสรุปขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้ว่า "ยังต้องทำการศึกษาให้ลึกลงไปกว่านี้อย่างแน่นอน"

ทีมวิจัยญี่ปุ่นติดเครื่องวัด "สารกัมมันตรังสี" บนงูเพื่อตรวจสอบสารคงค้าง



ทีมวิจัยญี่ปุ่นติดเครื่องวัด "สารกัมมันตรังสี" บนงูเพื่อตรวจสอบสารคงค้าง

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ