ข่าว

ยื้อไปทำไม ไล่บี้ทวงคืนที่ดินเขากระโดงให้การรถไฟ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ส่งสัญญาณ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รมว.คมนาคม ยื้อไปทำไม ทวงคืนที่ดิน"เขากระโดง" จ.บุรีรัมย์ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย

 

จากกรณีที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล หนึ่งในนั้นคือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่ถูกกล่าวหาไม่สามารถแก้ปัญหาราษฏรบุกรกที่ดินรถไฟบริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ได้สำเร็จ ซึ่งมีความยืดเยื้อมานานหลายสิบปี ทั้งที่ศาลฏีกาได้พิพากษาให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวอยู่ในกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

 

ล่าสุด นายสาวิทย์ แก้วหวาน  ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย  ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจส่วนตน  Sawit Kaewvarn   ตั้งคำถามเชิงเรียกร้องถึงปมปัญหาดังกล่าวว่า "ยื้อไปทำไม" 

 

นายสาวิทย์ โพสต์ข้อความไว้ว่า  "จะยื้อไปทำไม จะยื้อไปเพื่ออะไร เมื่อยื้อไปแล้วไม่เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย  ทำให้มันจบๆซะ

ยื้อไปทำไม ไล่บี้ทวงคืนที่ดินเขากระโดงให้การรถไฟ

ประเด็นที่ดินของการรถไฟบริเวณที่เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ จะยื้อไปทำไม ไม่เกิดประโยชน์กับใครเลย ทั้งบุคคลที่เข้าไปอยู่อาสัย ทั้ง การรถไฟฯและระบบนิติธรรมของประเทศ
ในที่ดินดังกล่าวบางแปลงมีการออกโฉนดโดยกรมที่ดิน/บางแปลงเป็น นส.3/ สค.1 บางแปลงก็เข้าไปอยู่เฉยๆ ที่นิยมเรียกกันว่า บุกรุก

 

ซึ่งการที่บางคนบอกว่าที่ดินที่ตนครอบครองมีโฉนดที่ออกโดยชอบ แท้จริงแล้วมันไม่ชอบเพียงแต่เรื่องนี้ ปปช.ชี้ว่าเวลามันล่วงเลยเวลาบุคคลที่เกี่ยวข้องในการออกโฉนดที่มิชอบนั้น มีความผิด แต่เนื่องด้วยบางคนเสียชีวิต และ คดีขาดอายุความไม่สามารถเอาผิดผู้เกี่ยวข้องที่ออกโฉนดโดยมิชอบได้  ปปช.ยุติเรื่องแต่ ปปช.ก็ยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินของการรถไฟฯและให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนด ตาม ปะมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

ซึ่งต่อมาก็มีการฟ้องร้องกันระหว่างประชาชนในพื้นที่เข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวกับการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ไปขัดขวางการออกโฉนด ทั้งนี้หากผลคดีออกมาในทางบวกสำหรับผู้ฟ้องแล้ว ผู้ฟ้องเหล่านั้นก็จะให้ให้กรมที่ดินออกเอกสารสิทธิ์หรือโฉนดให้ต่อไปโดยชาวบ้านผู้ฟ้องเห็นว่าก่อนหน้านี้ กรมที่ดินก็เคยออกโฉนดบางแปลงให้บุคคลบางคนโดยเฉพาะนักการเมือง


การฟ้องร้องมีการดำเนินการกันถึง 3 ศาล คือชั้นต้น อุทธรณ์ และฎีกาทุกศาลมีคำพิพากษาในแนวทางเดียวกัน รวมทั้ง สำนักงาน ปปช.ที่สหภาพเคยไปร้องเรียน คือ ไม่สามารถออกโฉนดได้เนื่องจากที่ดินบริเวณดังกล่าวทั้งหมดประมาณ 5,083 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟฯ

 

ดังนั้นกระบวนการในการออกโฉนดที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งหนังสือครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น แม้ว่าผู้ที่ครอบครองที่มีโฉนดจะอ้างว่าได้มาถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วโฉนดนั้นออกโดยมิชอบ ตามคำวินิจฉัยของ ปปช.ว่าโฉนดเลขที่ 3,466 และ 8,564 นั้นมิชอบด้วยกฎหมาย แต่เนื่องจากมีบางคนเสียชีวิตก่อน และระยะเวลาก่อนฟ้องเกิน 30 ปี ขาดอายุความ ตอกย้ำกรณีนี้เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา ก็ถือว่าเป็นโมฆะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล ก็เท่านั้น....จะยื้อไปทำไม? ...จะยื้อไปเพื่ออะไร...

 

แต่ละหน่วยงาน แต่ละบุคคลก็ทำตามหน้าที่ของตนไป ไม่ต้องมานั่งซักถาม ทำหนังสือถาม ว่าทำไมไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้....การที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติหน้าตามที่ควรจะกระทำก็ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งก็เห็นว่าหลายฝ่ายกำลังเตรียมการที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี....ถ้าศาลสั่งแล้วยังไม่ทำแล้วหลักนิติธรรมแห่งรัฐมันจะยืนอยู่อย่างไร อะไรจะเป็นหลัก ใครจะทำอะไรโดยไม่สนใจกฎหมาย ไม่สนใจคำพิพากษาเลยหรือ แล้วทำไมคนเล็กคนน้อย คนจน แค่ไปเก็บเห็ด หาหน่อไม่ในเขตป่าสงวนยังถูกจับติดคุกเลย...และประเทศนี้จะหลงเหลืออะไรให้เป็นหลัก
กฎหมายก็จะเสื่อม

 

ศาลและคำพิพากษาก็จะเสื่อม
บุคคลที่ไปเกี่ยวข้องก็จะเสื่อม

 

การรถไฟก็จะเสียหายเสียประโยชน์หากชาวบ้าน คนยากจนที่อยู่อาศัยที่ที่รถไฟในที่อื่นๆยกเอาประเด็นนี้มาในการอ้างสิทธิ์ อ้างความชอบธรรม อ้างว่ารัฐเลือกปฏิบัติแล้การรถไฟจะยุ่งยากในการบริหารจัดการ...ก็จะเสื่อม

 

รัฐบาลในฐานะผู้กุมอำนาจก็จะเสื่อม ดังที่กล่าวกันว่า "กฎหมายบังคับใช้แต่คนยากจน แต่คนมีเงิน มีอิทธิพล มีอำนาจกลับใช้ไม่ได้ " หรือ "คุกมีไว้ขังแต่คนจน" คนมีเงินติดสินบนอยู่ได้ หรือไม่ก็หนีคดีไปต่างประเทศ

 

ประเทศชาติก็จะเสื่อม อำนาจแห่งรัฐ บทบัญญัติในการปกป้องรัฐ ที่เรียกว่าหลักนิติธรรม หลักนิติรัฐก็จะเสื่อม
เมื่อเป็นดังนี้ก็จะทำให้มีการละเลยต่อกฎหมาย
ละเลยต่อความถูกต้อง


ละเลยต่อหลักศีลธรรม จริยธรรม
สังคมก็จะวุ่นวาย ไร้ระเบียบ

 

ยอมรับเสียเถิดทำให้มันจบๆเคารพในกติกา ส่วนจบสิ้นกระบวนการตามกติกาแล้ว ก็มาว่าด้วยกติกาใหม่ในการอยู่ร่วมกันแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวบ้าน หรือบุคคลที่เข้าไปอยู่อาศัย ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ถูกต้อง ทำให้มันถูกต้องด้วยการยอมรับกติกา จะเป็นการเช่าระยะสั้น กลาง ยาว 30 ปี 60 ปี 90 ปี และตกลงเรื่องราคาค่าใช้ประโยชน์ทั้ง ก่อนหน้า ปัจจุบัน และอนาคต จ่ายกันแบบไหน อย่างไร ในบริบทที่ทุกคน ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ ไม่เอาเปรียบกับ แค่นี้ก็จบแล้ว...Happy Ending

 

จะยื้อไปทำไม จะยื้อไปเพื่ออะไร เมื่อยื้อไปแล้วไม่เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
ทำให้มันจบๆซะ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ

logo-pwa

เพิ่ม คมชัดลึก ออนไลน์

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด