ข่าว

เก็บน้ำรับมือ "ฤดูฝน64" กรมชลฯ รับข้อสั่งการ ประวิตร-เฉลิมชัย เข้มพร่องน้ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลประทานรับข้อสั่งการ รองประวิตร-เฉลิมชัย เข้มแผนพร่องน้ำเก็บน้ำรับมือ "ฤดูฝน64" วางไว้อย่างเคร่งครัด

 

 

หลังกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าจะเริ่มมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนก.ย. 2564 กรมชลประทานได้มีการวางแนวบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชน ขณะเดียวกันก็ต้องเก็บกักสำรองน้ำฝนในอ่างควบคู่ไปด้วยเพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำของประเทศในการพัฒนาทุกด้าน

 

 

เก็บน้ำรับมือ "ฤดูฝน64" กรมชลฯ รับข้อสั่งการ ประวิตร-เฉลิมชัย เข้มพร่องน้ำ

 

 

เก็บน้ำรับมือ "ฤดูฝน64" กรมชลฯ รับข้อสั่งการ ประวิตร-เฉลิมชัย เข้มพร่องน้ำ

 

 

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ลักษณะฝนว่าจะเริ่มมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศในเดือน ก.ย.2564 เป็นต้นไปและปลายเดือนอาจมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ซึ่งพล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี และดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นห่วงประชาชน

 

 

จึงได้กำชับให้กรมชลประทานติดตามสถานการณ์และวางแผนในการบริหารจัดการน้ำในทุกมิติให้เข้มข้นเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนในทุกกรณี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ต้องบริหารน้ำเพื่อสำรองปริมาณน้ำในอ่างให้ได้มากที่สุดสำหรับใช้ฤดูถัดไป เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องทั้งด้านเกษตร สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว
 

 

ทั้งนี้กรมชลประทานมีแผนบริหารจัดการน้ำ"ฤดูฝนปี 64" วางไว้อย่างเคร่งครัดและเน้นย้ำโครงการชลประทานทุกแห่งเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนโดยเฉพาะการป้องกันอุทกภัยโดยให้มีการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ล่วงหน้า เช่น พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

 

 

เก็บน้ำรับมือ "ฤดูฝน64" กรมชลฯ รับข้อสั่งการ ประวิตร-เฉลิมชัย เข้มพร่องน้ำ

 

โดยใช้ข้อมูลจากกรมอุตุฯและสำนักงานทรัพยากรน้ำมาประกอบการพิจารณา การตรวจสอบและเตรียมความพร้อมของระบบการจราจรน้ำของแต่และพื้นที่ให้มีความพร้อม ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ

 

 

โดยเฉพาะในระบบบริหารเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและตะวันออกเพื่อให้สามารถช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลผ่านแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำท่าจีนเพื่อลดผลกระทบพื้นที่เศรษฐกิจ           

 

 

ขณะที่สำนักเครื่องจักรกลได้มีการส่งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำกระจายไปตามสำนักเครื่องจักรฯแล้วทั่วประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมสูงสุด

 

 

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลฯกล่าวว่า ในระบบบริหารฝั่งตะวันออกและตะวันตก กรมชลฯจะใช้ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำทั้งคลองแนวขวางและแนวดิ่งในการบริหารจัดการเพื่อตัดยอดน้ำที่ผ่านจุดเฝ้าระวังในแม่น้ำเจ้าพระยาตามเกณฑ์ที่กรมได้วางไว้ทั้งที่สถานีนครสวรรค์  สถานีบางไทร  เป็นต้น

 

 

กรณีน้ำมากจะใช้ระบบชลประทานและอาคารควบคุมบังคับน้ำมาช่วยอีกทางหนึ่ง สำหรับหน่วงน้ำ และตัดยอดน้ำก่อนเข้าพื้นที่เศรษฐกิจ และระบายน้ำไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ฝั่งตะวันตกและแม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกงที่ฝั่งตะวันออก  

 

 

ซึ่งกรณีฝั่งตะวันออกตอนเหนือของ กทม.  ทางกรมชลฯจะใช้คลองแนวขวาง ได้แก่ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองหกวาสายล่าง คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต และคลองประเวศน์บุรีรมย์ ตัดยอดน้ำหลากบางส่วนระบายออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำบางปะกง

 

 

โดยใช้ประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำ ในการระบายน้ำออกจากคลองดังกล่าวส่วนปริมาณน้ำที่เหลือจะระบายลงสู่คลองแนวดิ่ง ได้แก่ คลอง 1 ถึง คลอง 17 คลองพระองค์ไชยานุชิต และคลองด่าน เพื่อระบายลงสู่คลองชายทะเล ซึ่งมีการติดตั้งสถานีสูบน้ำไว้ทั้งหมด 12  จุด 

 

 

ปัจจุบันระบบทั้งหมดสามารถทำงานได้ดี และในช่วงปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมาระดับน้ำในคลองพระองค์ไชยานุชิตเพิ่มขึ้น กรมชลฯ ได้เปิดเดินเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองพระองค์ไชยานุชิต ไปเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งของภาคตะวันออกตามนโนบายของพล.อ.ประวิตร  รองนายก ฯในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)          ซึ่งช่วยตัดยอดน้ำก่อนเข้าไปสมุทรปราการลดผลกระทบต่อประชาชน  

 

 

ทั้งนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยมากหรือมีน้ำเพียงร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯเท่านั้น จำเป็นต้องเร่งสูบน้ำไปเติมให้ได้มากที่สุด ซึ่งระยะเวลาการสูบน้ำดังกล่าวเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมชลฯและกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ

 

ขณะที่ระบบบริหารน้ำฝั่งตะวันตกที่จะตัดยอดน้ำแม่น้ำเข้าพระยาไปออกแม่น้ำท่วมจีนนั้น ได้มีการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ผักตบตามข้อสั่งการไว้แล้วเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม ณ  7  ก.ย. 64 ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานี C 2 จังหวัดนครสวรรค์ อัตราการไหลอยู่ที่ 983 ลูกบาศก์เมตร(ลบม./วินาที) ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วงเกณฑ์เฝ้าระวังคือ 3,000 ลบ.ม.ต่อวินาที 

 

กรมชลฯจะมีการบริหารน้ำอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันอุทกภัยขณะเดียวกันก็ต้องสำรองน้ำเพื่อในเขื่อนให้ได้มากที่สุดเพื่อสำหรับใช้ในฤดูถัดไป

logoline