เด่นโซเชียล

น่าห่วง "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" สูงถึง16% โคม่าสุดเสี่ยง"ซึมเศร้า"ถาวร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผยตัวเลข"แม่หลังคลอด" ที่มี "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" สูงถึง 16% และผู้ที่มีอาการหนักมาก 1% แนะคนใกล้ตัวช่วยสังเกตอาการ คอยให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด

จากกรณีไฮโซสาวรายหนึ่งอุ้มลูก กระโดดฆ่าตัวเนื่องจากมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด จึงนำไปสู่เหตุการณ์เศร้าที่เกิดขึ้น คมชัดลึกออนไลน์ ได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญถึงภาวะการเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอด โดย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร. อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า สำหรับอาการซึมเศร้าหลังคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้น จากเบาไปหาหนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกาย จิตใจ และสภาวะแวดล้อมของผู้เป็นแม่ โดยแบ่งออกเป็นภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum blue หรือ Baby Blue ซึ่งอากานี้มักเกิดขึ้นได้ทั่วไป ในแม่หลังคลอด

มีโอกาสเกิดสูงถึง 85% โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่ 3-10 หลังจากคลอด มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ลดลงตามธรรมชาติ รวมไปถึงความเครียด การอดนอน นอนน้อย จากการที่ต้องดูแลลูก จะมีอาการอ่อนเพลีย วิตกกังวล อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย เศร้าง่าย เซื่องซึมง่ายบ้าง ถือว่าอาการไม่รุนแรง สามารถหายได้จากการปรับพฤติกรรมเช่น การพักผ่อน การมีคนช่วยเลี้ยงลูก การปรับการนอน
น่าห่วง "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด" สูงถึง16% โคม่าสุดเสี่ยง"ซึมเศร้า"ถาวร

ส่วนภาวะถัดไป คือ โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression ซึ่งจะมีความรุนแรงของอาการมากขึ้น ซึ่งอาจพบได้ ถึง 16% ของหญิงคลอดถูก ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากในแต่ละปี มีหญิงคลอดลูกมากถึง 5-6 แสนคน ต่อปี หากแม่หลังคลอดมีอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็จำเป็นต้องรักษาและพบแพทย์ โดยจะมีอาการต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา และเป็นทุกวันไม่มีทางหายเอง มีอาการขึ้นมาเองจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย

และภาวะที่ 3  โรคจิตหลังคลอด หรือ Postpartum psychosis อาการที่รุนแรงสุด เป็นภาวะอันตราย พบได้ไม่บ่อย อยู่ที่ 1 % แต่อาการมักรุนแรง และฉุกเฉินที่ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวด้วยว่า สำหรับอาการแม่หลังคลอดนี้ อาจนำไปสู่การป่วยซึมเศร้าได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหมั่นสำรวจตัวเอง ว่าเริ่มมีอาการในลักษณะซึมเศร้าไม่มีความสุข หรือหนักไปถึงเริ่มปฏิเสธลูกหรือไม่ โดยเฉพาะคนใกล้ตัว คนรอบข้างที่มีส่วนสำคัญโดยเฉพาะคุณพ่อ ที่ต้องคอยสังเกตอาการและ ช่วยแบ่งเบาการเลี้ยงลูก เพราะลดความเสี่ยงในการนำไปสู่ Postpartum depression  หรือ Postpartum psychosis ได้

ทั้งนี้อาการซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ควรอยู่กับคุณหลังคลอดนานเกิน 6 เดือน ไปจนถึง 1 ปี หากเกินนั้น อาจจะเข้าข่ายอาการด้านอื่นได้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ